ในปัจจุบัน แนวคิดเชิงออกแบบหรือ Design Thinking ได้ถูกนำมาประยุกต์ใช้ในด้านการศึกษา ซึ่งผู้นำในการนำเอาแนวคิดเชิงออกแบบมาใช้ในด้านการศึกษา ที่เป็นที่รู้จักกันดีก็คือ The Hasso Platter School of Design Thinking แห่ง University of Cape Town หรือที่รู้จักกันในนามของ D.School และบริษัทที่เป็นผู้นำด้านแนวคิดเชิงออกแบบได้แก่ IDEO แต่อย่างไรก็ดี การนำแนวคิดเชิงออกแบบมาประยุกต์ใช้นั้น แต่ละท้องถิ่น แต่ละหน่วยงาน ที่มีบริบทต่างกัน ก็จะวิธีการประยุกต์ใช้จะแตกต่างกัน แต่ถึงแม้วิธีการจะต่างกัน วัตถุประสงค์ที่นำเอาแนวคิดเชิงออกแบบมาใช้ก็ยังอยู่บนพื้นฐานเดียวกันคือเพื่อเสริมสร้างทักษะในแก้ปัญหาและการทำงานร่วมกัน ผลักดันให้เกิดนวัตกรรม และปลูกฝังความรับผิดชอบต่อสังคมและการบริหารจัดการตนเอง
และตามที่ได้กล่าวไปด้านบนว่า แต่ละท้องถิ่น ก็จะมีการนำเอาแนวคิดเชิงออกแบบประยุกต์ใช้แตกต่างกัน ซึ่งจะขอยกตัวอย่างของประเทศฟิลิปปินส์ ซึ่งในภาพรวม ได้มีการนำเอาแนวคิดเชิงออกแบบไปใช้ในในด้านการศึกษา แบ่งออกได้เป็น 3 บริบท ได้แก่ 1) การใช้แนวคิดเชิงออกแบบในการออกแบบหลักสูตร 2) การใช้แนวคิดเชิงออกแบบเป็นหนึ่งในแนวทางในการเรียนการสอน และ3) การฝึกอบรมเพื่อพัฒนาครูให้มีทักษะในการคิดเชิงออกแบบ สำหรับในประเทศจีน การนำแนวคิดเชิงออกแบบไปประยุกต์ใช้ สถาบันการศึกษาอย่างเช่น มหาวิทยาลัย ได้เข้ามามีบทบาทในการเสริมสร้างแนวคิดเชิงออกแบบในนักเรียนในทุกระดับชั้น นอกจากนี้ ยังได้มีการผนวกเอาแนวคิดเชิงออกแบบเข้ากับรายวิชาต่างๆด้วย ตัวอย่างเช่น วิชา Information Technology และ General Technology
ที่มาของข้อมูล
1) Callahan, K. C. (2019). Design Thinking in Curricula. The International Encyclopedia of Art and Design Education, 1–6. https://doi.org/10.1002/9781118978061.ead069
2) Lor, R. R. (2017). Design Thinking in Education: A Critical Review of Literature. In the International academic conference on social sciences and management / Asian conference on education and psychology. conference proceedings. Bangkok, Thailand.
3) Zhang, S., Sun, Y., Wen, Z., & Ge, Q. (2021). A Review: Implementation of Design Thinking Education in K-12. In F. Rebelo (Ed.), Advances in Ergonomics in Design. AHFE 2021. Lecture Notes in Networks and Systems, vol 261. https://doi.org/https://doi.org/10.1007/978-3-030-79760-7_60