Forum

แบ่งปัน:
การแจ้งเตือน
ลบทั้งหมด

รูปแบบของการสื่อสารวิทยาศาสตร์

1 โพสต์
1 ผู้ใช้
0 Reactions
387 เข้าชม
(@patcharapan-sir)
Trusted Member
เข้าร่วม: 5 ปี ที่ผ่านมา
กระทู้: 24
หัวข้อเริ่มต้น  

หลังจากที่ทราบความสำคัญของการสื่อสารวิทยาศาสตร์กันไปแล้ว คราวนี้เราจะมาพูดถึงรูปแบบของการสื่อสารวิทยาศาสตร์กันบ้าง โดยรูปแบบของการคสื่อสารวิทยาศาสตร์นั้น สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆคือการสื่อสารวิทยาศาสตร์แบบที่เป็นทางการ และการสื่อสารวิทยาศาสตร์ตามอัธยาศัย โดยการสื่อสารวิทยาศาสตร์ที่เป็นทางการนั้น มีความคล้ายคลึงกับการเรียนรู้ในระบบโรงเรียน ที่มีโครงสร้างของกิจกรรมที่ทำอย่างชัดเจน มีการวัดและประเมินผล ตัวอย่างของการสื่อสารวิทยาศาสตร์ที่เป็นทางการก็เช่น  

  • การเรียนวิทยาศาสตร์ในห้องเรียน ทั้งที่โรงเรียน มหาวิทยาลัย ซึ่งอาจจะประกอบด้วย การบรรยาย การสอนเสริม การทำการทดลองในห้องปฏิบัติการ และกิจกรรมต่างๆ
  • โปรแกรมการฝึกปฏิบัติต่างๆที่ได้รับการรับรองจากหน่วยงานที่มีความน่าเชื่อถือ
  • การประชุมวิชาการ การนำเสนอผลงานและการสัมนาวิชาการต่างๆ
  • การจัดทำหนังสือเรียน และอุปกรณ์ที่ใช้ในการเรียนทางไกลต่างๆ

ส่วนการสื่อสารวิทยาศาสตร์ตามอัธยาศัย นั้นโดยทั่วไปจะเป็นไปแบบสมัครใจ ไม่มีการประเมินผลใดๆ และมีความเกี่ยวข้องกับสังคมในวงกว้างมากกว่า ตัวอย่างของการการสื่อสารวิทยาศาสตร์ตามอัธยาศัย ก็เช่น

  • พิพิธภัณฑ์และศูนย์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์
  • รายการต่างๆที่เผยแพร่ทางสื่อ เช่น ภาพยนตร์ โทรทัศน์ วิทยุ หรือในรูปแบบของสิ่งพิมพ์
  • วงเสวนาประเด็นทางวิทยาศาสตร์ ในชุมชนหรือทางอินเตอเนท
  • กิจกรรมที่จัดโดยมหาวิทยาลัยหรือองค์กรต่างๆ
  • แมกกาซีนหรือหนังสือการ์ตูนวิทยาศาสตร์
  • การแสดงทางวิทยาศาสตร์

ที่มาของข้อมูล 

Wellington, J. (1991). Newspaper science, school science: Friends or enemies? International Journal of Science Education, 13(4), 363–372. https://doi.org/10.1080/0950069910130401


   
อ้างอิง

ทิ้งคำตอบไว้

ชื่อผู้แต่ง

อีเมลผู้เขียน

ตำแหน่ง *

 
ดูตัวอย่าง แก้ไข 0 ครั้ง บันทึกแล้ว
แบ่งปัน:
1,257,925 views since 16 August 2018