วิทยาศาสตร์พลเมืองหรือ citizen science คือโครงการทางวิทยาศาสตร์ที่มีอาสาสมัครที่ไม่ใช่นักวิทยาศาสตร์มาร่วมโครงการ โดยบทบาทของนักวิทยาศาสตร์ภาคพลเมืองหรืออาสาสมัครเหล่านี้คือทำหน้าที่การเก็บรวบรวมข้อมูล สังเกตและบันทึกข้อมูล โดยข้อมูลที่ได้รับจากการเก็บรวบรวมของนักวิทยาศาสตร์ภาคพลเมืองจะช่วยให้นักวิทยาศาสตร์เข้าใจได้ว่าในพื้นที่ที่เป็นแหล่งของข้อมูลนั้น มีเหตุการณ์หรือปรากฏการณ์ใดเกิดขึ้นบ้าง ทั้งนี้ ข้อมูลจะถูกรวบรวมเพื่อจัดทำแผนการจัดการพื้นที่ เพื่อใช้เป็นแนวทางสำหรับท้องถิ่นและภาครัฐในการกำหนดนโยบายการพัฒนาท้องถิ่นนั้นๆต่อไป
ตัวอย่างของโครงการวิทยาศาสตรค์ภาคพลเมืองในประเทศไทย ได้แก่ “โครงการวิทยาศาสตร์เปิดและมีส่วนร่วมด้านนโยบายและนวัตกรรมเมือง: การทดลองพัฒนาแผนที่มลพิษทางเสียงในพื้นที่กรุงเทพมหานคร” ซึ่งเป็นโครงการให้ภาคประชาชนมีบทบาทในการเก็บข้อมูลเชิงวิทยาศาสตร์ที่ใช้ในการจัดการสิ่งแวดล้อมและพัฒนาเมือง โดยได้ประยุกต์ใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์อย่างง่ายในชีวิตประจำวันเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนและให้เกิดการตระหนักรู้เรื่องเสียงในเมือง ผ่านการทดลองที่หลากหลาย เช่น การศึกษาเปรียบเทียบเครื่องมือวัดระดับเสียงและสมาร์ทโฟน การสร้างแผนที่ระดับเสียงจากข้อมูลบนแอปพลิเคชันบนสมาร์ทโฟน
แหล่งที่มาของข้อมูล
- Citizen Science วิทยาศาสตร์ภาคพลเมือง. http://oldweb.most.go.th/main/index.php/media-library/sci-daily-words/ 3096-citizen-science-.html
- โครงการเสียงในเมืองและวิทยาศาสตร์ภาคพลเมือง. https://www.uddc.net/ui-project07