Forum

แบ่งปัน:
การแจ้งเตือน
ลบทั้งหมด

เทคนิคการตีพิมพ์ผลงานวิจัยในวารสารที่มี impact factor สูง

1 โพสต์
1 ผู้ใช้
0 Reactions
452 เข้าชม
IL Admin
(@il-admin)
Reputable Member Admin
เข้าร่วม: 7 ปี ที่ผ่านมา
กระทู้: 134
หัวข้อเริ่มต้น  

          สิ่งสำคัญที่ขัดขวางการตีพิมพ์ผลงานวิจัยในวารสารที่มี impact factor สูง คือ ความกลัวของนักวิจัยเอง กลัวจะถูก reviewers วารสารที่มี impact factor สูงเหล่านั้นปฏิเสธ (reject) การตีพิมพ์ ความกลัวนี้มาจากประสบการณ์ตรงหรือการได้ยินข้อมูลจากคนแวดล้อม เช่น เพื่อนนักวิจัย ว่า วารสารที่มี impact factor สูงนั้นรับ (accept) งานยาก ตีพิมพ์ยาก ถูกปฏิเสธเป็นส่วนใหญ่ นักวิจัยต้องก้าวข้ามความกลัวเหล่านั้นไปให้ได้ โดยอาศัยเทคนิคบันไดความสำเร็จย่อย เช่น ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารที่มี impact factor ระดับต่ำถึงกลาง (เช่น ต่ำกว่า 0.50 สำหรับวารสารวิชาการนานาชาติทางวิทยาศาสตร์ศึกษา) เมื่อประสบความสำเร็จระดับนี้แล้ว ก็ค่อยๆ ขยับช่วงของ impact factor ขึ้นไปเรื่อยๆ เป็นวารสารที่มี impact factor 0.5-1.0, 1.0-1.5, 1.5-2.0 จนกระทั่ง impact factor มากกว่า 2.5 (ซึ่งถือว่าสูงมากสำหรับวารสารวิชาการนานาชาติทางวิทยาศาสตร์ศึกษา)

          หากนักวิจัยใช้ความพยายามอย่างหนักของตนเองในการสร้างสรรค์ผลงานวิจัย อีกทั้งใช้เทคนิคบันไดความสำเร็จย่อยที่แนะนำจะเป็นฐานสร้างความมั่นใจให้แก่นักวิจัย จนทำให้นักวิจัยก้าวข้ามความกลัวการถูกปฏิเสธผลงานจากวารสารที่มี impact factor สูงได้

 

 

เรื่องโดย   รศ.ดร.ขจรศักดิ์ บัวระพันธ์


   
อ้างอิง
แบ่งปัน:
1,421,276 views since 16 August 2018