Forum

แบ่งปัน:
การแจ้งเตือน
ลบทั้งหมด

เพาะพันธุ์ปัญญา The Series ตอน ทำโครงงานสิ่งประดิษฐ์อย่างไรให้เป็น STEM : ไม้สอยยอดสะเดา

1 โพสต์
1 ผู้ใช้
0 Reactions
872 เข้าชม
IL Admin
(@il-admin)
Reputable Member Admin
เข้าร่วม: 7 ปี ที่ผ่านมา
กระทู้: 134
หัวข้อเริ่มต้น  

ขอยกตัวอย่างโครงงานเรื่อง "ไม้สอยยอดสะเดา" ของนักเรียน ม.3 โรงเรียนเอกชนแห่งหนึ่งในจังหวัดสมุทรสาคร เด็กๆ มีแนวคิดจะทำ “ไม้สอยยอดสะเดา” โดยมีการวิเคราะห์ของเดิมว่ามีการวิเคราะห์ของเดิมว่ามีจุดด้อยอย่างไร นำจุดด้อยนั้นมาปรับปรุง มีการนำหลักตรีโกณมิติมาคำนวณความยาวของด้ามจับ มีการเลือกใช้วัสดุสำหรับทำด้ามจับที่คำนึงถึงการใช้งานในบริบทจริง ซึ่งหมายถึงความทนทาน น้ำหนักของด้ามต้องไม่หนัก และต้องไม่ทำให้แขนต้องรับแรงหรือออก แรงมาก รวมไปถึงวิธีการที่จะทำให้ยอดสะเดาหลุดออกมา มีการวิเคราะห์แล้วว่าการใช้ไม้ไผ่แบบเดิมนั้น ผู้เก็บต้องออกแรงบิดและดึงให้สะเดาขาด ซึ่งส่งให้ยอดสะเดาข้างเคียงช้ำไปด้วยจึงเปลี่ยนมาใช้วิธีการตัดด้วยกรรไกร ที่ส่งผลกับเป้าหมายยอดสะเดาที่จะเก็บโดยตรง โดยผู้เก็บเพียงแค่ออกแรงดึงเชือกควบคุมการทำงานของกรรไกรซึ่งจะใช้แรงน้อยกว่าการบิด

     แค่ขั้นออกแบบ ก็ต้องใช้ความรู้แบบบูรณาการสาระแบบจัดเต็มมากๆ ทั้งคณิตศาสตร์ วัสดุศาสตร์ เทคโนโลยีที่จะผ่อนแรง รวมทั้งหลักการฟิสิกส์เรื่องแรง เพื่อให้ได้ไม้สอยยอดสะเดาที่เหมาะเจาะลงตัวและใช้งานได้จริง และเพื่อให้มั่นใจว่าไม้สอยยอดสะเดาที่ประดิษฐ์ขึ้นมาใหม่นี้ ใช้งานได้ดีกว่าของเดิม มันก็ต้องพิสูจน์ให้เห็น ซึ่งวิธีการพิสูจน์ของเด็กๆ ก็สุดจะสร้างสรรค์ (ลองนึกภาพตามว่า หากเป็นตัวท่าน จะออกแบบการเก็บข้อมูลอย่างไร ก่อนไปดูเฉลยของเด็กๆ) เด็กๆ ทดลองเก็บยอดสะเดาจริงโดยใช้ไม้สอยสะเดาที่ทำขึ้นเปรียบเทียบกับไม้สอยสะเดาแบบเดิมที่มีอยู่ โดยทำการวัดปริมาณสะเดาที่เก็บได้ คุณภาพของสะเดาที่เก็บได้ และสภาพร่างกายหลังเก็บสะเดา นั่นหมายความต้องมีการควบคุมปัจจัยหลายอย่างเลย และภาพด้านขวานี่ก็คือวิธีการเก็บข้อมูลที่เด็กๆออกแบบ (วิธีคิดมันเจ๋งใช่มั้ยล่ะ)

ในหนังสือสะเต็มศึกษาที่เขียนโดยท่านอาจารย์สุธีระ ท่านได้ให้คาถาคำถาม 5 ข้อในการทำ STEM คือ 

1. สิ่งประดิษฐ์เดิมคืออะไร
2. สิ่งประดิษฐ์เดิมมีข้อด้อยอะไรที่ต้องการแก้ไข เราเลือกแก้อะไร เพราะอะไร
3. เราเลือกหลักการใดในการแก้ไขข้อด้อย เพราะอะไร
4. เราจะประยุกต์เข้าสู่สิ่งประดิษฐ์ของเราได้อย่างไร
5. เราจะพิสูจน์ได้อย่างไรว่าสิ่งประดิษฐ์ของเราดีกว่าเขา

 

 

ลองหยิบโครงงานสิ่งประดิษฐ์ที่เคยทำขึ้นมาพิจารณา แล้วลองปรับให้เป็น STEM ดูสิ ไม่ต้องไฮโซแต่ให้ได้คอนเซ็บท์ก็เจ๋งแล้ว

 

 

เรื่องโดย ผศ.ดร.ปิยะฉัตร จิตต์ธรรม สถาบันนวัตกรรมการเรียนรู้ ม.มหิดล


   
อ้างอิง
แบ่งปัน:
1,378,697 views since 16 August 2018