Forum

แบ่งปัน:
การแจ้งเตือน
ลบทั้งหมด

Anchoring Bias หรือการปักใจเชื่อ คืออะไร

1 โพสต์
1 ผู้ใช้
0 Reactions
1,029 เข้าชม
(@patcharapan-sir)
Trusted Member
เข้าร่วม: 5 ปี ที่ผ่านมา
กระทู้: 24
หัวข้อเริ่มต้น  

Anchoring Biasหรือการปักใจเชื่อ นั้นเป็นอคติทางความคิด (cognitive bias) แบบหนึ่งซึ่งมีความคล้ายคลึงกับ confirmational bias โดย Anchoring bias นั้น คือการที่บุคคลคนหนึ่งเชื่อถือหรือปักใจเชื่อในข้อมูลที่เขาได้สัมผัสในตอนแรก/ครั้งแรก ถึงแม้ข้อมูลที่ได้รับในตอนแรกนั้นจะไม่ครอบคลุมหรือไม่มีความน่าเชื่อถือก็ตาม จนละเลยที่จะพิจารณาข้อมูลอื่นๆที่มีตามมาด้วย  โดย Anchoring bias นั้น จะเกิดขึ้นเมื่อบุคคล มีความยึดถือ/ยึดติดกับความคิดและการตัดสินใจของตนเองกับข้อมูลประเภทใดประเภทหนึ่งเท่านั้น  ตัวอย่างของ Anchoring bias ที่นำไปสู่การตัดสินใจที่ไม่ได้พิจารณาข้อมูลรอบด้าน ก็เช่น การที่แพทย์วินิจฉัยผู้ป่วยที่มีอาการ เหนื่อยหอบ ไข้สูง ผลเอ็กซเรย์พบว่าปอดมีฝ้า ว่าเป็นผู้ป่วยติดเชื้อ SAR-CoV-2 หรือติดโควิด โดยที่ไม่ได้พิจารณาว่า ยังมีปัจจัยอื่นที่ทำให้เกิดอาการดังกล่าวด้วย เช่น การติดเชื้อไมโคพลาสม่า ซึ่งก็ทำให้เกิดอาการดังกล่าวได้เช่นกัน ส่งผลให้แพทย์ผู้นั้นอาจจะวินิจฉัยโรคคลาดเคลื่อนจนส่งผลต่อผลลัพธ์ของการรักษาได้ เป็นต้น ทั้งนี้ มีบทความชิ้นหนึ่ง เสนอแนะแนวทางในการหลีกเลี่ยงการเกิด Anchoring bias ก็คือการหมั่นสะท้อนคิดในสิ่งที่ตนเองได้ทำหรือสะท้อนคิดประสบการณ์ของตนเอง จะช่วยให้การตัดสินใจใดๆที่จะเกิดขึ้นนั้น อยู่บนพื้นฐานของการตัดสินใจอย่างระมัดระวังและคำนึงถึงปัจจัย anchoring bias ที่อาจเกิดขึ้นด้วย

 

ที่มา

1) Doherty, T. S., & Carroll, A. E. (2020). Believing in Overcoming Cognitive Biases. AMA Journal of Ethics, 22(9), E773-778. https://doi.org/10.1001/amajethics.2020.773

2) Epley, N., & Gilovich, T. (2006). The Anchoring-and-Adjustment Heuristic. Psychological Science, 17(4), 311–318. https://doi.org/10.1111/j.1467-9280.2006.01704.x

3) Meyfeldt, J., Eliliwi, M., & Patel, N. (2020). OVERCOMING ANCHORING BIAS IN THE COVID-19 ERA. Chest, 158(4), A439. https://doi.org/10.1016/j.chest.2020.08.425


   
อ้างอิง

ทิ้งคำตอบไว้

ชื่อผู้แต่ง

อีเมลผู้เขียน

ตำแหน่ง *

 
ดูตัวอย่าง แก้ไข 0 ครั้ง บันทึกแล้ว
แบ่งปัน:
1,257,677 views since 16 August 2018