ในเรื่องสำหรับทฤษฎีสมคบคิดนั้น ก็เป็นปัจจัยหนึ่งของการไม่ยอมรับวิทยาศาสตร์เช่นกัน โดยบุคคลที่มีแนวคิดหรือเชื่อในทฤษฎีสมคบคิดนั้น มักจะเชื่อในข้อมูลที่ไม่เป็นทางการ และข้อมูลที่ไม่ได้เผยแพร่จากหน่วยงานของรัฐ ทั้งนี้ ก็จะปฏิเสธข้อมูลจากหน่วยงานรัฐบาลโดยที่ไม่สนใจหลักฐานด้วยซ้ำ
สิ่งที่ทำให้กลุ่มบุคคลใดๆเชื่อในทฤษฎีสมคบคิด ไม่เชื่อในเหตุผลและการคิดแบบวิทยาศาสตร์ มีอยู่ 2 เหตุผลหลักๆ เหตุผลแรกคือ 1) การคิดแบบทฤษฎีสมคบคิดจะเกี่ยวข้องกับความผิดพลาดในการใช้เหตุใช้ผล (reasoning errors) ตัวอย่างเช่น คนที่มีตรรกะวิบัติประเภท conjunction fallacy หรือพวกที่ชอบด่วนสรุป ซึ่งบุคคลเหล่านี้ มักจะหลงเชื่อข้อมูลที่มีจำนวนมาก มีความละเอียด มากกว่าข้อมูลที่มีน้อยกว่า และไม่ได้ลงลึกในรายละเอียดมากนัก โดยที่คิดไปเองว่า ข้อมูลมากจะมีความถูกต้อง จะเป็นความจริงมากกว่า และ 2) คนที่มี conspiration mindset จะใช้สัญชาตญาณในการตัดสินใจมากกว่าใช้ตรรกะในการคิดวิเคราะห์ เพื่อประมวลข้อมูลหรือเหตุการณ์ต่างๆ ทั้งนี้ การที่บุคคลใดๆ ให้ความสำคัญหรือเชื่อในสัญชาตญาณของตนมากเกินไป มักจะสะท้อนให้เห็นจาก epistemic belief หรือความเชื่อเกี่ยวกับการได้มาซึ่งความรู้ ของบุคคลนั้น โดยบุคคลที่เชื่อในทฤษฎีสมคบคิด มีแนวโน้มที่จะเชื่อว่า สิ่งที่สัญชาตญาณบอกว่าจริง บอกว่าถูกต้องนั้น มักจะเป็นความจริง เป็นเรื่องจริงเสมอ แล้วก็ตัดสินใจโดยไม่ได้ต้องการข้อมูลใดๆมาประกอบด้วย
ด้วยสาเหตุเหล่านี้นี่เอง จึงทำให้เกิดอุปสรรคในการที่จะยอมรับวิทยาศาสตร์ เนื่องจากข้อมูล ปรากฏการณ์ทางวิทยาศาสตร์ มักจะขัดแย้งกับสัญชาตญาณ (counterintuitive) และมีความซับซ้อน เข้าใจยาก ทำให้ยากที่จะยอมรับได้
ที่มา
1) Brotherton, R., & French, C. C. (2014). Belief in Conspiracy Theories and Susceptibility to the Conjunction Fallacy. Applied Cognitive Psychology, 28(2), 238–248. https://doi.org/10.1002/acp.2995
2) Hornsey, M. J. (2020). Why Facts Are Not Enough: Understanding and Managing the Motivated Rejection of Science. Current Directions in Psychological Science, 29(6), 096372142096936. https://doi.org/10.1177/0963721420969364
3) Rutjens, B. T., & Većkalov, B. (2022). Conspiracy beliefs and science rejection. Current Opinion in Psychology, 46, 101392. https://doi.org/10.1016/j.copsyc.2022.101392
4) Shtulman, A., & Legare, C. H. (2019). Competing Explanations of Competing Explanations: Accounting for Conflict Between Scientific and Folk Explanations. Topics in Cognitive Science. https://doi.org/10.1111/tops.12483
5) Tomljenovic, H., Bubic, A., & Erceg, N. (2019). It just doesn’t feel right – the relevance of emotions and intuition for parental vaccine conspiracy beliefs and vaccination uptake. Psychology & Health, 1–17. https://doi.org/10.1080/08870446.2019.1673894