Forum

แบ่งปัน:
การแจ้งเตือน
ลบทั้งหมด

Design thinking กับคุณลักษณะของเยาวชนในศตวรรรษที่ 21

1 โพสต์
1 ผู้ใช้
0 Reactions
353 เข้าชม
(@patcharapan-sir)
Trusted Member
เข้าร่วม: 5 ปี ที่ผ่านมา
กระทู้: 24
หัวข้อเริ่มต้น  

แนวคิดเชิงออกแบบนั้นยึดหลักความต้องการของมนุษย์หรือผู้ใช้งานเป็นศูนย์กลาง  (Human-Centeredness) ก็เป็นการสร้างเสริมคุณลักษณะที่ดีในเยาวชนได้ ยกตัวอย่างเช่น การเข้าใจผู้อื่น (Empathy) ซึ่งเป็นขั้นตอนที่สำคัญในกระบวนการคิดเชิงออกแบบและการที่แนวคิดเชิงออกแบบนั้นเป็นแนวคิดที่นำมาใช้แก้ปัญหาที่มีความคลุมเคลือ ไม่แน่นอนและไม่มีคำตอบที่ตายตัว (ill-structured problems) ก็เป็นการส่งเสริมให้นักเรียนได้ฝึกฝนการสะท้อนคิดต่อการกระทำของตนเอง การตระหนักรู้ในตนเอง และการคำนึงถึงสังคมรอบตัว ซึ่งสิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของเยาวชนและนักเรียนในศตวรรษที่ 21 สำหรับในภาคอุตสาหกรรม ในปัจจุบัน คุณสมบัติของแรงงานที่สำคัญก็คือความสามารถในการแก้ปัญหาที่มีความซับซ้อนได้ โดยอาศัยการใช้เทคโนโลยี และความคิดริเริ่ม ตลอดจนการตัดสินชี้ขาดในกรณีที่มีความคิดเห็นที่หลากหลาย ซึ่งต้องอาศัยโรงเรียนและสถานศึกษาในการสร้างเสริมความสามารถและคุณลักษณะเหล่านี้ผ่านการฝึกแนวคิดเชิงออกแบบให้กับนักเรียน และในอีกแง่มุมหนึ่ง กิจกรรมที่ออกแบบเพื่อใช้ในการฝึกกระบวนการคิดเชิงออกแบบ ที่สนับสนุนการสร้างความรู้จากการมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งรอบตัว (social construction of knowledge) สร้างการรู้คิดจากประสบการณ์ของคน (metacognition) การประเมินที่อยู่บนพื้นฐานของบริบท ณ ปัจจุบัน (real-world assessment) และการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี (exploitation of technology) ก็ช่วยให้นักเรียนประยุกต์ใช้กับแนวทางการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ได้ 

แหล่งที่มาของข้อมูล

1) Koh, J. H. L., Chai, C. S., Wong, B., & Hong, H.-Y. (2015). Design Thinking and 21st Century Skills. In Design Thinking for Education. https://doi.org/10.1007/978-981-287-444-3

2) Rowland, G. (2004). Shall we dance? A design epistemology for organizational learning and performance. Educational Technology Research and Development, 52(1), 33–48. https://doi.org/10.1007/BF02504771

3) Voogt, J., & Roblin, N. P. (2012). A comparative analysis of international frameworks for 21 st century competencies: Implications for national curriculum policies. Journal of Curriculum Studies, 44(3), 299–321. https://doi.org/10.1080/00220272.2012.668938


   
อ้างอิง

ทิ้งคำตอบไว้

ชื่อผู้แต่ง

อีเมลผู้เขียน

ตำแหน่ง *

 
ดูตัวอย่าง แก้ไข 0 ครั้ง บันทึกแล้ว
แบ่งปัน:
1,257,886 views since 16 August 2018