Forum

แบ่งปัน:
การแจ้งเตือน
ลบทั้งหมด

Fears and phobia หรือ ความกลัว อาการตื่นกลัว กับการไม่ยอมรับวิทยาศาสตร์

1 โพสต์
1 ผู้ใช้
0 Reactions
568 เข้าชม
(@patcharapan-sir)
Trusted Member
เข้าร่วม: 5 ปี ที่ผ่านมา
กระทู้: 24
หัวข้อเริ่มต้น  

เมื่อเปรียบเทียบความกลัว/ความหวาดกลัวกับเหตุผลของบุคคลใดบุคคลหนึ่ง โดยทั่วไป ความกลัวมักจะมีน้ำหนักมากกว่าเหตุผล และนอกจากนั้น บุคคลนั้นก็จะมีความพยายามในการที่จะหาเหตุผลมาสนับสนุนความกลัวเหล่านั้น ความกลัวหรือความหวาดกลัวนั้น ได้ถูกนำมาใช้อธิบายแนวการไม่ยอมรับวิทยาศาสตร์ โดยเฉพาะในด้านการแพทย์ ตัวอย่างเช่น ความกลัวเข็ม กลัวเลือดของบุคคล ทำให้เกิดความเชื่อในการต่อต้านวัคซีน เพราะเมื่อแสดงการต่อต้านแล้ว บุคคลนั้นก็จะสามารถหลีกเลี่ยงสิ่งที่จะมากระตุ้นความกลัวนั้นได้ หรือการทำหัตถการต่างๆ เช่น การฉายรังสี การทำเคมีบำบัด การฉีดวัคซีนเพื่อสร้างภูมิคุ้มกัน ซึ่งทำให้เกิดปรากฏการณ์บางอย่างในร่างกาย โดยที่ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า และก็ไม่สามารถติดตามการเปลี่ยนที่เกิดขึ้นในร่างกายได้ด้วยตาเปล่าเช่นกัน ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นประเด็นที่อาจก่อให้เกิดความหวาดกลัว ส่งผลต่อการปฏิเสธการทำหัตถการดังกล่าว ซึ่งเรื่องเหล่านี้ เป็นประเด็นท้าทายอย่างมากในผู้ที่มีอาการย้ำคิดย้ำทำ (Obsessive Compulsive Disorder) ซึ่งบุคคลกลุ่มนี้มีระดับความกลัวเชื้อโรค กลัวการติดเชื้อสูงกว่าคนปรกติทั่วไปอยู่แล้ว นอกจากนี้ ความกลัวหรืออาการหวาดกลัว ยังสามารถแสดงออกได้ทางพฤติกรรมที่แสดงความขยะแขยง ซึ่งการแสดงพฤติกรรมขยะแขยงโดยไม่รู้ตัวนี้ อาจจะเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการต่อต้านการฉีดวัคซีนด้วย

 

ที่มา

1) Hornsey, M. J. (2020). Why Facts Are Not Enough: Understanding and Managing the Motivated Rejection of Science. Current Directions in Psychological Science, 29(6), 096372142096936. https://doi.org/10.1177/0963721420969364

2) Haidt, J. (2001). The emotional dog and its rational tail: A social intuitionist approach to moral judgment. Psychological Review, 108(4), 814–834. https://doi.org/10.1037/0033-295X.108.4.814

 


   
อ้างอิง
แบ่งปัน:
1,376,065 views since 16 August 2018