ความคิดเห็นที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ที่แต่ละบุคคลแสดงออกมานั้น มักจะเป็นสิ่งที่แสดงตัวตนของบุคคลๆนั้น และในการที่บุคคลนั้นสื่อสารความเป็นตัวเองให้ผู้อื่นและตนเองได้รับรู้ ยกตัวอย่างเช่น บุคคลที่แสดงออกว่าตัวเองเป็นคนที่มีความคิดเป็นของตัวเอง ไม่ตามใคร ใครจะมาบอกให้คิดหรือเชื่อแบบไหนไม่ได้ (Proud Nonconformist) จะไม่เชื่อในวิทยาศาสตร์ ก็เพื่อที่จะสื่อสารให้คนอื่นเห็นว่า ตนเองเป็นคนที่มีความคิดของตนเอง ไม่ตามใครนั่นเอง
นอกจากนี้ บุคคลใดบุคคลหนึ่งมีแนวโน้มที่จะเมินเฉยต่อข้อมูลที่ไปขัดแย้งหรือละเมิดกับอัตลักษณ์ทางอุดมการณ์ (ideological identity) ของคน โดยประเด็นนี้ ได้รับการพูดถึงในแง่ของ political polarization over science หรือ สร้างแนวร่วมอุดมการณ์ที่อยู่เหนือวิทยาศาสตร์หรือไม่คำนึงถึงวิทยาศาสตร์ ซึ่งการสร้างแนวร่วมนี้ เกิดขึ้นจากปัจจัย 2 อย่าง ปัจจัยแรกคือ psychological science rejection หรือปัจจัยทางจิตวิทยาของการปฏิเสธวิทยาศาสตร์ ซึ่งหมายถึง บุคคลใดบุคคลหนึ่ง สามารถเมินเฉยต่อวิทยาศาสตร์หรือข้อมูลวิทยาศาสตร์อันใดอันหนึ่งได้ หากข้อมูลนั้นไม่เข้ากับอัตลักษณ์ทางการเมืองของตนเอง (political identity) ซึ่งนับว่าเป็นกลไกในการปกป้องอัตลักษณ์ส่วนบุคคลของตนเองแบบหนึ่ง ส่วนปัจจัยที่สองคือ ideological science rejection หรือปัจจัยทางอุดมการณ์ของการปฏิเสธวิทยาศาสตร์ ซึ่งหมายถึงบุคคลใดบุคคลหนึ่งยึดติดกับอุดมการณ์ทางการเมืองของตนเอง โดยโต้แย้งอย่างแข็งขันว่าข้อมูลวิทยาศาสตร์นั้นไม่ถูกต้องหรือเกิดจากความหลงผิด ทั้งนี้ การโต้แย้งนี้ มีทั้งการโต้แย้งในระดับของ specific scientific claims (ในระดับข้อมูลใดข้อมูลหนึ่ง), ในระดับ research fields (ในระดับโครงการ), ในระดับ science as a whole และในระดับ system
ที่มา
1) Hornsey, M. J. (2020). Why Facts Are Not Enough: Understanding and Managing the Motivated Rejection of Science. Current Directions in Psychological Science, 29(6), 096372142096936. https://doi.org/10.1177/0963721420969364
2) Rekker, R. (2021). The nature and origins of political polarization over science. Public Understanding of Science, 30(4), 352–368. https://doi.org/10.1177/0963662521989193