Forum

แบ่งปัน:
การแจ้งเตือน
ลบทั้งหมด

Vested interests หรือการมีส่วนได้ส่วนเสีย กับการไม่ยอมรับวิทยาศาสตร์

1 โพสต์
1 ผู้ใช้
0 Reactions
242 เข้าชม
(@patcharapan-sir)
Trusted Member
เข้าร่วม: 6 ปี ที่ผ่านมา
กระทู้: 24
หัวข้อเริ่มต้น  

การมีส่วนได้ส่วนเสียนับเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่มีผลต่อการไม่ยอมรับวิทยาศาสตร์ ซึ่งการไม่ยอมรับวิทยาศาสตร์เกิดขึ้นในกรณีที่ ความรู้หรือผลการทดลองทางวิทยาศาสตร์นั้น ก่อให้เกิดการเสียผลประโยชน์หรือสร้างความเดือดร้อนให้กับองค์กรหรือบุคคล หรือการที่ยอมรับความรู้หรือผลการทดลองวิทยาศาสตร์บางอย่างนั้น ผู้ที่ยอมรับ มีราคาที่ต้องจ่าย ยกตัวอย่างเช่น คนงานเหมืองถ่านหิน มักจะไม่ยอมรับแนวคิดเรื่อง climate change หรือไม่เชื่อว่า climate change นั้นเกิดขึ้นจริงและส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อม เพราะพวกเขากลัวที่จะไม่มีงานทำ

ในประเด็นของการไม่ยอมรับหรือมีข้อกังขาเกี่ยวกับ climate change นั้น การมีส่วนได้ส่วนเสียก็ได้รับการพูดถึงในงานวิจัย ซึ่งได้ทำการสำรวจใน 25 ประเทศ เกี่ยวกับความสัมพันธ์ของ การเชื่อในทฤษฎีสมคบคิด (conspiracy belief) แนวคิดอนุรักษ์นิยม และการไม่ยอมรับแนวคิด climate change จากผลการวิจัยพบว่า ความสัมพันธ์ระหว่าง 3 ปัจจัยนี้ สามารถเห็นได้ชัดเจนหรือมีนัยสำคัญ ในประเทศที่มี carbon emissions per capita สูง ซึ่งมีความแตกต่างกับประเทศที่ carbon emissions per capita ต่ำ ที่ความสัมพันธ์ระหว่าง  3 ปัจจัยนี้ เป็นไปในระดับที่ต่ำกว่า ซึ่งนักวิจัยได้ให้คำอธิบายไว้ว่า ประเทศที่ไม่ได้มีค่าใช้จ่ายสูงมากในการเปลี่ยนมาใช้วัตถุดิบอื่นเพื่อผลิตพลังงานแทนการใช้ถ่านหิน ก็จะมีระดับในการต่อต้านแนวคิด climate change ที่ต่ำ เนื่องจาก ไม่ได้มีส่วนได้ส่วนเสียหรือมีราคาที่ต้องจ่ายมากพอที่จะต้องออกมาต่อต้านแนวคิดเรื่อง climate change นั่นเอง

ที่มา

1) Hornsey, M. J., Harris, E. A., & Fielding, K. S. (2018). Relationships among conspiratorial beliefs, conservatism and climate scepticism across nations. Nature Climate Change, 8(7), 614–620. https://doi.org/10.1038/s41558-018-0157-2

2) Hornsey, M. J. (2020). Why Facts Are Not Enough: Understanding and Managing the Motivated Rejection of Science. Current Directions in Psychological Science, 29(6), 096372142096936. https://doi.org/10.1177/0963721420969364


   
อ้างอิง
แบ่งปัน:
1,395,006 views since 16 August 2018