การลอยห่างจากกันทางพันธุกรรมเป็นอีกหนึ่งกลไกพื้นฐานของการเกิดวิวัฒนาการที่สำคัญพอๆกับการคัดเลือกโดยธรรมชาติ
ซึ่งการลอยห่างจากกันทางพันธุกรรม หมายถึงการเปลี่ยนแปลงความถี่ของยีนในกลุ่มประชากรเดิม
อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงขนาดของประชากรจากโอกาส ความบังเอิญ
การเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมโดยกะทันหันหรือภัยธรรมชาติ เช่น
แผ่นดินไหว ภูเขาไฟระเบิดหรือการขาดแคลนอาหาร ทำให้ประชากรที่เหลืออยู่มีโอกาสแพร่พันธุ์สืบทอดลักษณะยังรุ่นต่อๆไปได้
โดยกลไกการเกิดวิวัฒนาการของประชากรรุ่นต่อๆมาไม่เกี่ยวข้องกับการปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมเพราะไม่ได้เกิดจากการคัดเลือกโดยธรรมชาติ

จากภาพจะเห็นได้ว่าภาพซ้ายสุดเป็นกลุ่มประชากรแมลงกลุ่มหนึ่ง
บังเอิญมีคนเดินมาเหยียบโดยบังเอิญทำให้แมลงส่วนหนึ่งตายไป
ส่งผลให้กลุ่มประชากรที่เหลืออยู่เปลี่ยนไป

การสูญพันธุ์ของไดโนเสาร์น่าจะมีส่วนเกี่ยวข้องกับกลไกการลอยห่างจากกันทางพันธุกรรมหรือไม่
อย่างไร?