“ ห้องหมอก ” (cloud chamber )     

                ชาลส์ ทอมสัน รีส์ วิลสัน

                  ห้องหมอก(cluod chamber)


           ในประวัติศาสตร์การใช้เชมเบอร์สำหรับตรวจจับอนุภาคของนักวิทศาสตร์แต่ละสมัยนั้นมี
ความน่าสนใจอย่างมาก เนื่องจากแต่ละยุคจะใช้เชมเบอร์ที่ต่างกัน และมีวิวัฒนาการตั้งแต่อดีต
จนถึงปัจจุบัน ในยุคบุกเบิก เชมเบอร์ชนิดแรกที่มีบทบาทและสำคัญมากในการตรวจจับอนุภาค
คงไม่พ้น "ห้องหมอก(cloud chamber)" ไปได้  ห้องหมอกถูกประดิษฐ์ขึ้นเป็นครั้งแรกในปี
ค.ศ.1894
  โดย ชาลส์ ทอมสัน รีส์ วิลสัน (Charles Thomson Rees Wilson) สำหรับหลักการใน
การประดิษฐ์นั้นได้มากจากการทดลองขยายปริมาตรภาชนะที่บรรจุไอน้ำที่อิ่มตัวเป็นอัตราส่วน
มากกว่าเดิม 1.25 % ซึ่ง หมายถึงการเปลี่ยนปริมาตรของภาชนะให้มากขึ้นอีก 25% วิลสัน พบว่า มีหยดน้ำที่กลั่นตัวจากไอน้ำในภาชนะ จากการทดลองและพัฒนาประสิทธิภาพของ ห้องหมอก
เขาได้ใช้ ห้องหมอกในการตรวจจับอนุภาค กล่าวคือ เมื่ออนุภาควิ่งผ่านไอน้ำที่อิ่มตัว จะทำให้
โมเลกุลของน้ำแตกตัวเป็นไออน เมื่อลดความดันลงอย่างรวดเร็วก็จะทำให้เห็นเป็นร่องรอยที่เกิด
จากการควบแน่นของไอน้ำ  นักวิทยาศาสตร์จะถ่ายภาพและบันทึกร่องรอยของหยดน้ำที่เกิดขึ้น
เพื่อนำไปคำนวณหาว่าเป็นอนุภาคใด โดยอาศัยสนามแม่เหล็กที่อยู่รอบๆ ห้องหมอก  จากภาพห้องหมอกด้านบน ส่วนที่ลูกศรชี้อยู่เป็นส่วนที่ใช้มองดูอนุภาคในห้องหมอก  ซึ่งไม่ใช่ส่วนของหลอดแก้วสุญญากาศกลมๆ อย่างที่หลายคนเข้าใจ

                ในปี ค.ศ. 1932 นักวิทยาศาสตร์ชื่อ คาร์ล แอนเดอร์สัน (Carl Anderson) ได้ใช้ ห้อง
หมอกในการศึกษาอนุภาคซึ่งไม่เคยมีผู้ใดที่เคยพบมาก่อน โดยที่อนุภาคนั้นสามารถที่จะบอก
ได้ว่ามีประจุเป็นบวกหรือลบ ซึ่งถ้ามีประจุบวกอนุภาคจะเคลื่อนที่เข้าหาขั้วแคโทด (ขั้วลบ) และถ้าอนุภาคมีประจุเป็นลบ อนุภาคจะเคลื่อนที่เข้าหาขั้วแอโนด (ขั้วบวก) เป็นร่องรอยของ
อนุภาคซึ่งมีลักษณะโค้งดังภาพ ซึ่งในปัจจุบันเรารู้จักกันดีว่าเป็น "โพสิตรอน"


                คาร์ล แอนเดอร์สัน


ร่องรอยของโพสิตรอนในห้องหมอก

                หลังจากนั้นนักวิทยาศาสตร์ชื่อ  แพททริกเมย์นาร์ด สจวร์ต แบล็กเกตต์ (Patrick Maynard Stuart Blackett:1897-1974)ได้ศึกษารังสีคอสมิกโดยใช้ห้องหมอก ซึ่งเมื่อสังเกต
จากร่องรอยของรังสีคอสมิกที่มาจากนอกโลกนั้นมีลักษณะคล้ายกับรูปส้อม ดังรูปด้านล่าง
แพททริก แบล็กเกตต์ ได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ในปี ค.ศ . 1948 จากการค้นพบอนุภาค
เค มีซอนที่มากจากรังสีคอสมิกนอกโลก

           แพททริก เมย์นาร์ด
           สจวร์ต แบล็กเกตต


ร่องรอยของรังสีคอสมิกที่ศึกษา
โดยห้องหมอก