“ ห้องฟอง ” ( bubble chamber)

          หลังจากที่ห้องหมอกมีบทบาทในการตรวจจับอนุภาคในยุคเริ่มแรก ก็มีการปรับปรุงเทคนิค
ในการตรวจจับอนุภาคโดยการใส่ของเหลวที่มีส่วนผสมของซิลเวอร์โบรไมด์ลงไปในเชม-
เบอร์ ทำให้สามารถตรวจจับอนุภาคที่มีประจุไฟฟ้าได้อย่างชัดเจน และมีความไวในการจับอนุภาคดังกล่าวมากขึ้น เทคนิคนี้เราเรียกว่า
“นิวเคลียร์ อิมัลชัน เทคนิค (Nuclear Emulsion Technique)” คนที่คิดก็คือ เซซิล เพาเวลล์ (Cecil Powell:1903-1969) อนุภาคที่ค้นพบด้วยเทคนิคนี้คือ เค-มีซอน ต่อมานักวิทยาศาสตร์พบว่าห้องหมอกยัง

                   
 เซซิล เพาเวลล์

 



ร่องรอยของเค-มีซอน

มีข้อจำกัดเกี่ยวกับความหนาแน่นของไอน้ำที่ต่ำมากจนไม่สามารถทำให้เกิดร่องรอยของอนุภาค
ที่ชัดเจนได้ และระบบติดตั้งที่ยุ่งยากใช้เวลานาน ระหว่างปี ค.ศ. 1940 ถึง ค.ศ. 1949 โดแนลด์
เอ เกลเซอร์(Donald A. Glaser)
ได้ประดิษฐ์ห้องหรือ เชมเบอร์ชนิดใหม่ซึ่งเรียกว่า "ห้องฟอง"
หรือ bubble chamberโดยการเก็บอีเทอร์ ไว้ที่อุณหภูมิใกล้กับจุดเดือด แต่เพิ่มความดัน 4 บรรยากาศ เมื่อลดความดันลงเล็กน้อยสถานะของอีเทอร์ในขณะนั้นจะเรียกว่า Superheate
dfluid (ของเหลวที่มีอุณหภูมิเกินจุดเดือด แต่ถูกกดไว้ไม่ให้เดือด) เมื่อมีอนุภาควิ่งผ่านจะเป็นการเพิ่มพลังงานให้กับของเหลวและทำให้ของเหลวเดือดปรากฏเป็นฟองไปตามทาง ที่อนุภาควิ่งผ่าน นักวิทยาศาสตร์จะบันทึกร่องรอยของฟองที่เกิดขึ้นไว้เพื่อนำไปวิเคราะห์อนุภาคที่นัก
วิทยาศาสตร์ค้นพบในห้องฟองได้แก่ อนุภาคโอเมกา ไมนัส ( Ω-)  อนุภาคเค-มีซอน ( K +  K - ) และอนุภาคพายออน (π) เป็นต้น


             โดแนลด์ เอ เกลเซอร์
          
ห้องฟองเครื่องแรกความจุประมาณ 3 ลิตร


                อนุภาคแต่ละชนิดมีลักษณะของร่องรอย ที่แตกต่างกัน.ภาพร่องรอยของอนุภาค
ที่ถูกบันทึกไว้ด้วยกล้องถ่ายภาพจะถูกนำไปวิเคราะห์เพื่อหาว่าอนุภาคนั้นเป็นอนุภาคอะไร
มีมวลและมีประจุเป็นเท่าไหร่

 พนักงานที่กำลังวิเคราะห์ภาพถ่ายร่องรอยของ อนุภาค ต่าง ๆ ใน Bubble Chamber ที่ CERN