จอห์น ดักกลาส คอคครอฟต์
                  (ค.ศ. 1897 – 1967)

   เออร์เนสต์ โธมัส ซินตัน วอลตัน
(ค.ศ. 1903 – 1995)

         จากแนวคิดนี้ทำให้ในเวลาต่อมา จอห์น ดักกลาส คอคครอฟต์   ( John Douglas Cockcroft )
และเออร์เนสต์ โธมัส ซินตัน วอลตัน ( Ernest Thomas SintonWalton ) ได้ออกแบบสร้างเครื่อง
เร่งอนุภาคขนาด 700 กิโลโวลต ์  โดยอาศัยหลักการเร่งด้วยสนามไฟฟ้าสถิต   ซึ่งเป็นเครื่อง
เร่งอนุภาคเครื่องแรกของโลกเรียกว่า  " เครื่องเร่งอนุภาคคอคครอฟต์-วอลตัน"   (Cockcroft-Walton accelerator) โดยเร่งอนุภาคโปรตอนให้มีพลังงานสูงถึง 400 keV แล้วให้พุ่งเข้าชน
นิวเคลียสของลิเธียม( Li)    เกิดเป็นฮีเลียม 2 อะตอม ซึ่งเขียนปฏิกิริยานิวเคลียร์ ดังนี้
                                                                        p + Li -> He + He                                    

                                             

                                     โปรตอนพุ่งเข้าชนนิวเคลียสของลิเธียมเกิดเป็นฮีเลียม 2 อะตอม

                           

     

     เออร์เนสตโอแลนโด ลอว์เรนซ
(ค.ศ. 1901- 1958)

          

      เครื่องเร่งอนุภาคไซโคลตรอนเครื่องแรก ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 4-5 นิ้วสร้างขึ้น
ในปี ค.ศ. 1931

          ในเวลาใกล้เคียงกัน เออร์เนสตโอแลนโด ลอว์เรนซ (Ernest Orlando Lawrence ) แห่งมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย( California )  ที่เบิร์กคลีย์( Berkeley )ได้ทดลองสร้างเครื่องเร่ง
อนุภาคที่สามารถเร่งอนุภาคผ่านอนุกรมของท่อตัวนำซึ่งมีสนามแม่เหล็กไฟฟ้าความถี่วิทยุ   (Radio Frequency : RF)1 คร่อมอยู่    และมีแท่งแม่เหล็กขนาบบนล่าง สนามแม่เหล็กทำหน้าที่
บังคับให้อนุภาคเคลื่อนที่เป็นวง   อนุภาคถูกเร่งด้วยสนามไฟฟ้าเมื่อกระโดดข้ามช่องว่างระหว่าง
แท่งรูปตัวดีทั้งสองแท่ง เครื่องเร่งอนุภาคชนิดนี้รู้จักกันดีในนามของ   "เครื่องเร่งอนุภาค
ไซโคลตรอน"
 (cyclotron accelerator)    โดย เครื่องเร่งอนุภาคที่ลอว์เรนซ์  สร้างขึ้นในตอนนั้น
สามารถเร่งโปรตอนให้มีพลังงานสูงถึง   1.25 MeV

             

          เครื่องเร่งอนุภาคไซโคลตรอนจะเร่งอนุภาคที่มีประจุซึ่งเกิดจากการสลายตัวของธาตุ
กัมมันตรังสี จากตรงกลางของวง ให้เคลื่อนที่เป็นวงกลม อนุภาคได้รับพลังงาน เมื่อ
กระโดดกลับไปกลับมา ระหว่างช่องว่างของแท่งรูปตัวดี

1. Radio Frequency (RF) คลื่นวิทยุมความถี่น้อยกว่า 108 Hz และมีความยาวคลื่น 1-100 เมตร