สำหรับประเทศไทยนั้น มีเครื่องเร่งอนุภาคคอคครอฟต์-วอลตันขนาด 200 กิโลโวลต์ 200
มิลลิแอมแปร์   ตั้งอยู่ที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่        และมีเครื่องเร่งอิเล็กตรอนซินโครตรอน  ที่ได้
รับมอบมาจากรัฐบาลญี่ปุ่นในปี พ.ศ. 2539       ตั้งอยู่ภายในอาคารศูนย์ปฏิบัติการวิจัยเครื่อง
กำเนิดแสงซินโครตรอนแห่งชาติ  บริเวณเทคโนธานี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีจังหวัด
นครราชสีมา เป็นเครื่องขนาด 1GeV    เพื่อใช้เป็นแหล่งกำเนิด"แสงซินโครตรอน"หรือ รังสี
ซินโครตรอน ( Synchrotron Radiation, SR)    ซึ่งเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่อิเล็กตรอนปล่อยออก
มาเมื่อเลี้ยวเบนเป็นวงขณะเคลื่อนที่ด้วยความเร็วใกล้ความเร็วแสง   

               คนไทยเรียกเครื่องกำเนิดแสงซินโครตรอนนี้ว่า “เครื่องกำเนิดแสงสยาม” โดยสเปกตรัม
ของแสงที่เครื่องกำเนิดแสงสยามปล่อยออกมานั้นเป็นสเปกตรัมของแสงที่ต่อเนื่องตั้งแต่ช่วง
ความถี่รังสีอินฟราเรด (1012-1015 Hz) ไปจนถึงรังสีเอกซ์ (1018-1020 HZ)

    

                   ศูนย์ปฏิบัติวิจัยเครื่องกำเนิดแสงซินโครตรอนแห่งชาติ บริเวณเทคโนธานี        
                                        มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี จังหวัดนครราชสีมา


เครื่องเร่งอนุภาค และวงแหวนกักเก็บอิเล็กตรอน กระตุ้นให้อิเล็กตรอนผลิตแสงซินโครตรอน