ความประหลาด(strangeness)    

           

                ต่อมานักฟิสิกส์ได้สังเกตอนุภาคและกำหนดให้อนุภาคมีสมบัติอีกหนึ่งสมบัติ
นั่นคือ" ความประหลาด "(strangeness) สำหรับที่มาของความประหลาดนี้มาจากการ
ศึกษาอนุภาคเค - มีซอน ซึ่งเกิดขึ้นในปริมาณที่มากหลังการชนของอนุภาคที่ระดับ
พลังงานสูงหลังจากนั้น นักวิทยาศาสตร์พบว่ามีบางอย่างที่น่าประหลาดใจนั่นคือมัน
เป็นอนุภาคที่มีช่วงเวลาที่ปรากฏนานกว่าที่ทำนายไว้  กฏการสลายตัวบางกฏไม่เป็นจริง
สำหรับการสลายตัวของอนุภาค เค-มีซอน
          

        เมอร์เรย์-เกลล์มันน์(ค.ศ. 1929- )

              จอร์จ   ชไวก์ (ค.ศ. 1937- )

         เมอร์เรย์-เกลล์มันน(Murray Gell-Mann) เสนอว่า อนุภาคเค-มีซอน และอนุภาค
อื่น ๆ มีสมบัติใหม่นั่นคือ "ความประหลาด(strangeness)" เขาพยายามจัดรูปแบบ
ความประหลาดของอนุภาคแต่ละอนุภาคเพื่อที่แบ่งแยกชนิดของอนุภาคที่ถูกค้นพบ
ได้อย่างชัดเจน โดยใช้คณิตศาสตร์ แต่ยังไม่ค่อยดีนัก หลังจากนั้นมีการทำนายว่าจะมี
การค้นพบอนุภาค " โอเมกา " (W) ซึ่งภายหลังมีการค้นพบการพบซึ่งยืนยันว่า การทำนายของเกลล์-มันน์มีความถูกต้อง


 

 

          

            การค้นพบอนุภาคใหม่ ๆ ได้เกิดขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งมีทั้งอนุภาคมีซอน และ แบริออน เพื่อหลีกเลี่ยงการอธิบายอนุภาคในจำนวนมาก แนวคิดที่ตามมาก็คือ การที่จะอธิบาย
การเกิดอนุภาคที่ค้นพบในจำนวนมากนั้นจะต้องใช้หลักการที่ว่า ในอนุภาคเหล่านั้น
มีอนุภาคเล็ก ๆ ที่เป็นองค์ประกอบย่อยลงไปอีกซึ่งอนุภาคนั้นเรียกว่า "ควาร์ก (quark)"
เกลล์มันน์ และ จอร์จ   ชไวก์ (George Zweig) เสนอว่าใน แบริออน ประกอบขึ้นจาก
อนุภาคควาร์ก 3 อนุภาค ในขณะที่ มีซอน เกิดจากควาร์กและแอนติควาร์ก 2 อนุภาค
ภาพที่แสดงองค์ประกอบของอนุภาคในอะตอมนั้นสังเกตได้ว่าควาร์กขึ้น (up) จะเขียน
แทนด้วยสัญลักษณ์ u และควาร์กลง (down) เขียนแทนด้วย d ซึ่งจะพูดถึงในหัวข้อต่อไป

ประจุเศษส่วนและควาร์กที่เรามองไม่เห็น

           นอกจากหลักการการรวมตัวของควาร์กเป็นอนุภาคต่าง ๆ ที่ เกลล์มันน์และ ชไวก์ได้
เสนอไว้นั้น พวกเขายังได้เสนอว่า ประจุไฟฟ้าของควาร์กต้องเป็นเศษส่วน ถึงแม้ว่าจะไม่
มีผลการทดลองที่ยืนยันมาก่อนก็ตาม พวกเขาต้องพบกับปัญหาที่ว่ายังไม่เคยมีใครเคยเห็น
ควาร์กมาก่อน และการรวมตัวของควาร์กทำไมต้องเป็น การรวมตัวของควาร์ก 3 ตัว หรือ 2 ตัว