Forum

แบ่งปัน:
การแจ้งเตือน
ลบทั้งหมด

Generative AI ต่างจาก AI อย่างไร

1 โพสต์
1 ผู้ใช้
0 Reactions
80 เข้าชม
nopparat.jap
(@nopparat-jap)
Trusted Member
เข้าร่วม: 5 ปี ที่ผ่านมา
กระทู้: 18
หัวข้อเริ่มต้น  

Generative AI คืออะไร

Generative AI (Generative Artificial Intelligence / Gen AI) คือ ปัญญาประดิษฐ์ (AI) ที่ใช้การเรียนรู้เชิงลึก (Deep Learning) สรรค์สร้างข้อมูลเนื้อหาใหม่ ๆ แบบอัตโนมัติโดยไม่ต้องใช้มนุษย์ สามารถสร้างคอนเทนต์ได้หลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นข้อความ รูปภาพ เสียง วิดีโอ และอื่น ๆ จากข้อมูลที่ถูกป้อนเข้ามาในระบบ ความสามารถของ Generative AI เข้ามาช่วยพัฒนาธุรกิจได้ในหลาย ๆ ด้าน 

ตัวอย่าง ระบบ Generative AI ที่โด่งดัง ได้แก่ ChatGPT พัฒนาโดย OpenAI เปิดตัวในปี 2022 Gemini (ชื่อเดิมคือ Bard) พัฒนาโดย Google เปิดตัวหลัง ChatGPT ไม่นาน และ Claude น้องใหม่ล่าสุด เปิดตัวเมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมานี้เอง ซึ่ง Claude พัฒนาโดย Anthropic สตาร์ทอัพ AI ที่ Google เข้าไปลงทุน

Generative AI ต่างจาก AI อย่างไร

แต่ก่อนที่เราจะไปทำความรู้จักกับ Generative AI  กันแบบละเอียด เรามาทำความรู้จัก AI ในภาพกว้างกันก่อนดีกว่าค่ะ จะเห็นว่าจากรูป AI (Artificial Intelligence) คือ วงกลมที่ใหญ่ที่สุดที่รวบรวมทุกอย่างไว้ด้วยกัน AI คือ เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ที่ทำให้คอมพิวเตอร์สามารถเลียนแบบความฉลาดและความสามารถในการแก้ปัญหาของมนุษย์ ตัวอย่างของ AI ที่เราใช้กันในชีวิตประจำวัน ได้แก่ Digital Assistant เช่น Siri, Amazon Alexa, Google Assistant เป็นต้น และยังมีระบบนำทาง GPS รถยนต์อัตโนมัติ และ Gen AI ที่เรากำลังจะพูดถึงกัน

มาดูกันที่วงที่เล็กรองลงมา นั่นคือ Machine Learning (ML) คือเทคโนโลยีอัลกอรึทึม (Algorithm) ที่ใช้ Neural Network (โครงข่ายประสาทเทียม) ในการเรียนรู้ข้อมูลจำนวนมาก จากนั้นประมวลผลในการตัดสินใจให้เหมือนกับสมองของมนุษย์ และเลือกข้อมูลที่เหมาะสมกับคำถามหรือข้อมูลที่ถูกป้อนเข้ามาที่เหมาะสมที่สุดมาแสดงผล

เช่นเดียวกันกับ Deep Learning ที่ถูกฝึกมาให้ตัดสินใจเหมือนกับสมองของมนุษย์เหมือนกับ Machine Learning เพียงแต่จะมีความเฉพาะเจาะจงและเสนอข้อมูลเชิงลึกมากขึ้น ซึ่งความแตกต่างระหว่างอัลกอรึทึม 2 ตัวนี้คือการใช้ Neural Network ที่แตกต่างกัน และกระบวนการที่มนุษย์เข้าไปเกี่ยวข้อง กล่าวคือ deep learning จะใช้ ส่วนการเรียนรู้โดยไม่มีผู้บังคับบัญชา (Unsupervised Learning) หรือไม่ต้องให้คนเข้าไปช่วยในการประมวลผล ทำให้ Deep Learning เหนือกว่า Machine learning ในแง่ของ Scale (การขยายฐานเติบโต)

สุดท้าย Generative AI ที่เป็นขั้นกว่าของ Deep Learning ที่สามารถใช้ข้อมูลดิบ (Raw Data) จากข้อมูลบนอินเทอร์เน็ตมาเพื่อ “สร้าง” ข้อมูลขึ้นใหม่ที่คล้ายกับข้อมูลเดิม แต่ “ไม่เหมือน” กับข้อมูลต้นฉบับ โดยปัจจุบัน Gen AI สามารถสร้างข้อมูลได้หลากหลายรูปแบบ ทั้งข้อความ รูปภาพ เสียง และสร้างวิดีโอได้ด้วย

สรุป

  • Artificial Intelligence (AI): คือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ช่วยสร้างเครื่องมืออันชาญฉลาด
  • Machine Learning (ML): คือหน่วยย่อยของ AI ที่เรียนรู้จากข้อมูลที่ถูกฝึก
  • Deep Learning (DL): คือหน่วยย่อยของ ML ที่เรียนรู้จากข้อมูลที่ใช้ระบบ Neural Network สำหรับงานที่ซับซ้อนมากขึ้น
  • Generative AI: คือ ML ประเภทหนึ่งที่สร้างสรรค์ข้อมูลขึ้นมาใหม่

ความสามารถของ Generative AI

หลังจากที่เราทำความรู้จักกับ Genarative AI กันแล้ว เรามาดูกันว่า Generative AI มีกี่ประเภท และ Generative AI มีอะไรบ้าง โดยเราจะแบบตามประเภทการใช้งานได้ดังนี้

Image Generation (รูปภาพ)

Generative AI สามารถช่วยให้เราสร้างรูปภาพขึ้นมาใหม่ได้อย่างง่ายดาย เพียงแค่ใส่ Prompt หรือคำสั่งว่าเราต้องการอะไรในรูปภาพบ้าง หรือต้องการให้ออกมาเป็นสไตล์ไหน ตัวอย่างของ Genarative AI ที่สร้างรูปภาพ ได้แก่ Image Creator, DALL-E 2, Midjourney, Adobe Firefly เป็นต้น

AI เหล่านี้จะช่วยให้สร้างรูปภาพได้รวดเร็ว สร้างสรรค์ และประหยัดต้นทุนมากยิ่งขึ้น เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการสร้างภาพหลากหลายสไตล์ ต้องการสร้างภาพที่มีความละเอียดสูง หรือต้องการสร้างภาพจากจินตนาการ

Speech Generation (เสียง)

เชื่อว่าทุก ๆ คนจะต้องคุ้นเคยกับ Genarative AI ที่ใช้สร้างเสียงคล้ายกับมนุษย์อยากแน่นอน ถ้าให้พูดถึงตัวที่ดังที่สุดก็คงไม่พ้น Siri ที่อยู่กับผลิตภัณฑ์ของ Apple มาเนิ่นนาน รวมไปถึง Google Assistant และ Alexa ซึ่ง AI เหล่านี้ใช้เทคโนโลยี การแปลงข้อความเป็นเสียง (Text-to-speech) ซึ่งถูกพัฒนาขึ้นมาสำหรับผู้พิการทางสายตา ผู้ที่มีปัญหาในการอ่าน ผู้ที่ต้องการฟังข้อความระหว่างทำกิจกรรมอื่น ๆ 

นอกจากนี้ยังมีการใช้ Gen AI ลงเสียงพากย์ (Voiceover) สร้างคำบรรยายสำหรับวิดีโอ โฆษณา สื่อการสอน หรือภาพยนตร์ ตัวอย่างโปรแกรมที่ใช้สร้างเสียงพากย์ เช่น Clipchamp, Adobe Premiere Pro และ Audacity เป็นต้น

และยังมีการใช้ในการสร้างเสียงตอบรับอัตโนมัติ (Interactive Voice Response) เทคโนโลยีนี้นิยมใช้สร้างเสียงตอบรับอัตโนมัติสำหรับระบบโทรศัพท์ เช่น ระบบตอบรับอัตโนมัติของธนาคาร สายด่วน หรือระบบบริการลูกค้าอีกด้วย

Text Generation (ข้อความ)

มาถึงส่วนที่น่าจะคุ้นเคยกันมากที่สุดนั่นก็คือการใช้ Gen AI ในการสร้างข้อความ หรือ Text ประเภทต่าง ๆ เช่น บทความ อีเมล จดหมาย บทกวี โค้ด บทละคร บทเพลง ฯลฯ โดยมีการใช้เทคโนโลยี Deep Learning ประมวลผลภาษาและรูปแบบการเขียนของมนุษย์ จากนั้นก็สร้าง Text ขึ้นมาใหม่เพื่อตอบ Prompt ที่เราป้อนเข้าไป ซึ่งก็ทำได้ตั้งแต่การเช็กแกรมมาร์ ปรับรูปประโยค เรียงประโยคใหม่ จนไปถึงการเขียนคอนเทนต์ลงบล็อกหรือเว็บไซต์ เขียนสรุปและรายงานต่าง ๆ

เรามาดูตัวอย่างการใช้เบื้องต้นกันเลยดีกว่า สมมติว่าเราจะส่งข้อความนี้ผ่านแชทของทีม แล้วเราอยากให้ AI ช่วยตรวจแกรมมาร์ ก็สามารถป้อน Prompt “Check grammar: [ตามด้วยข้อความที่เราต้องการจะตรวจ” ได้เลย โดยตัวอย่างที่ผู้เขียนยกมาถูก Generate โดยใช้ Genarative AI  ยอดฮิตแบบไม่เสียเงินทั้งหมดเลย

ที่มา https://www.disruptignite.com/blog/generative-ai


   
อ้างอิง

ทิ้งคำตอบไว้

ชื่อผู้แต่ง

อีเมลผู้เขียน

ตำแหน่ง *

 
ดูตัวอย่าง แก้ไข 0 ครั้ง บันทึกแล้ว
แบ่งปัน:
1,233,296 views since 16 August 2018