Forum

ถอดบทเรียนกิจกรรมแล...
 
แบ่งปัน:
การแจ้งเตือน
ลบทั้งหมด

ถอดบทเรียนกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ “เข้าใจเกณฑ์ TQA ผ่านบริบทมหาวิทยาลัยมหิดล” (1)

1 โพสต์
1 ผู้ใช้
0 Reactions
4,672 เข้าชม
(@anongnat-patthanasaksiri)
Trusted Member
เข้าร่วม: 6 ปี ที่ผ่านมา
กระทู้: 25
หัวข้อเริ่มต้น  

Baldrige Excellence Framework 2013 - 2022

Baldrige Excellence Framework จะประกอบไปด้วยเกณฑ์ทั้งหมด 7 หมวด โครงร่างองค์กร ค่านิยมและแนวคิดหลัก ทั้งนี้เกณฑ์จะมีการปรับเปลี่ยนหัวข้อและประเด็นการพิจารณาในทุกๆ 2 ปี

     โครงร่างองค์กร คือ การกำหนดบริบทสำหรับองค์กรเป็นพื้นฐานของการดำเนินการทั้งหมดขององค์กร

     หมวดในเกณฑ์สามารถแบ่งเป็น 3 กลุ่มหลัก คือ

  • กลุ่มการนำองค์กร ประกอบไปด้วย หมวด 1 การนำองค์กร (Leadership) หมวด 2 กลยุทธ์ (Strategy) และหมวด 3 ลูกค้า (Customers) เน้นความสำคัญว่าการนำองค์กรต้องมุ่งเน้นที่กลยุทธ์และลูกค้า “ผู้นำใช้กลยุทธ์ผลักดันให้องค์กรไปถึงฝัน และผู้นำต้องรู้จักและรู้ใจลูกค้า
  • กลุ่มผลลัพธ์ ประกอบไปด้วย หมวด 5 บุคลากร (Workforce) หมวด 6 ระบบปฏิบัติการ (Operations) และหมวด 7 ผลลัพธ์ (Result) เป็นกระบวนการมุ่งเน้นบุคลากรและระบบปฏิบัติการที่สำคัญ และผลลัพธ์ที่เกิดจากกระบวนการเหล่านั้น “อยากให้ผลลัพธ์ดีต้องเน้นที่ระบบ อยากได้อะไรต้องย้อนกลับไปที่ขั้นตอนการทำและการวัดผล ระบบจะดำเนินการไม่ได้ถ้าไม่มีกำลังคน”
  • กลุ่มพื้นฐานระบบ คือ หมวด 4 การวัด การวิเคราะห์ และการจัดการความรู้ (Measurement, Analysis, and Knowledge Management) ทำให้องค์กรมีจัดการที่มีประสิทธิผล และมีระบบที่คล่องตัวในการปรับปรุงผลการดำเนินการและความสามารถในการแข่งขัน ซึ่งต้องใช้ข้อมูลจริงและองค์ความรู้เป็นการผลักดัน “หากกระบวนการหากไม่มีการวัด การวิเคราะห์ จะไม่เกิดการปรับปรุง เมื่อไม่ได้ปรับปรุงจะไม่เกิดการเรียนรู้ ไม่มี Good Practice นวัตกรรม และการจัดการความรู้”

ค่านิยมและแนวคิดหลัก คือ พื้นฐานที่ปลูกฝังอยู่ในบรรดาองค์กรที่มีผลการดำเนินการที่เป็นเลิศ มีทั้งหมด 11 ข้อ ดังนี้

  • มุมมองเชิงระบบ (System perspective)
  • การนำองค์กรอย่างมีวิสัยทัศน์ (Visionary leadership)
  • ความเป็นเลิศที่มุ่งเน้นลูกค้า (Customer-focused excellence)
  • การให้ความสำคัญกับบุคลากร (Valuing people)
  • การเรียนรู้ระดับองค์กรและความคล่องตัว (Organization learning and agility)
  • การมุ่งเน้นความสำเร็จ (Focus on success)
  • การจัดการเพื่อนวัตกรรม (Managing for innovation)
  • การจัดการโดยใช้ข้อมูลจริง (Management by fact)
  • การทำประโยชน์ให้สังคม (Societal Contributions)
  • จริยธรรมและความโปร่งใส (Ethics and transparency)
  • การส่งมอบคุณค่าและผลลัพธ์ (Delivering value and results)

การปรับเปลี่ยนหัวข้อและประเด็นการพิจารณา ตั้งแต่ ปี ค.ศ. 2013 – 2022 มีดังนี้

  • 2013 – 2014
    • Designing and implementing work systems
    • Cultivating and managing
    • Mastering social media
  • 2015 - 2016
    • Change Management
    • Big data
    • Climate change
  • 2017 - 2018
    • Cybersecurity
    • Enterprise risk management
  • 2019 - 2020
    • Business Ecosystems
    • Supply Network
    • Culture
    • Security and cybersecurity
  • 2021 - 2022
    • Resilience
    • Equity and Inclusion
    • Digitalization and the fourth industrial revolution
    • Innovation
    • Social Contribution

   
อ้างอิง
แท็กหัวข้อ
แบ่งปัน:
1,411,450 views since 16 August 2018