Forum

การกู้คืนสภาพหนังสื...
 
แบ่งปัน:
การแจ้งเตือน
ลบทั้งหมด

การกู้คืนสภาพหนังสือเมื่อหนังสือเปียกน้ำ! (How to Salvage a Wet Books)

1 โพสต์
1 ผู้ใช้
0 Reactions
342 เข้าชม
(@natthasit-n)
Eminent Member
เข้าร่วม: 2 ปี ที่ผ่านมา
กระทู้: 12
หัวข้อเริ่มต้น  

 

การกู้คืนสภาพหนังสือเมื่อหนังสือเปียกน้ำ ! (How to Salvage a Wet Books !)

เป็นที่แน่นอนว่าหนังสือที่เราใช้ค้นคว้าหาความรู้อาจได้รับความเสียหายจากความชื้น น้ำฝน หรือน้ำที่หกใส่ ซึ่งน้ำทำให้หนังสือเกิดความเสียหาย กระดาษเปื่อยยุ่ยผิดรูป สันหนังสือบิดเบี้ยว กาวที่ใช้ยึดละลาย ดังนั้น เพื่อให้ได้หนังสือกลับมาอยู่ในสภาพที่สามารถใช้งานได้ใกล้เคียงกับสภาพปกติดังเดิม จำเป็นต้องมีขั้นตอนการกู้คืนสภาพหนังสือที่มีสภาพเปียกน้ำหรือได้รับความชื้นนี้ โดยปฏิบัติทันทีด้วยวิธีการดังนี้

 

  1. ทำความสะอาดบริเวณภายนอก
    หลังจากที่หนังสือเปียกน้ำ ให้รีบนำผ้าแห้งหรือกระดาษมาเช็ดทำความสะอาดบริเวณปกและตัวเล่มโดยรอบ หรือถ้าเปื้อนดินโคลน อาจใช้วัสดุอ่อนนุ่ม เช่น ผ้าขนหนูหรือฟองน้ำใช้วิธีการซับ (Dabbing motion) ความสกปรกออกในเบื้องต้น ทั้งนี้ต้องระวังสิ่งปกสรกไปเปื้อนบริเวณอื่นด้วย ไม่ควรใช้แปรงหรือครีมน้ำยาต่าง ๆ เพราะจะเพิ่มความเสียหายให้กับหนังสือมากขึ้นไปอีก ห้ามนำเข้าไมโครเวฟเพราะทำให้กระดาษแห้งกรอบและกาวที่ใช้สันจะละลาย  ให้จับหนังสือตั้งขึ้นวางบนผ้าหรือกระดาษทิชชูเพื่อให้น้ำไหลซึมออกมาทิ้งไว้ระยะหนึ่ง
  2. สอดกระดาษซับน้ำ ทุก ๆ 10 - 20 หน้า
    วางหนังสือนอนลงแล้วนำกระดาษซับน้ำหรือกระดาษทิชชูที่มีความหนาพอสมควร (ควรเป็นกระดาษที่ปราศจากสาร/หมึกที่ละลายน้ำได้ เช่น กระดาษทิชชู่ (Paper towel) ที่เป็นแบบสีขาวไม่มีการใช้สีย้อม กระดาษขาว หรือกระดาษเทียนไข (Waxed paper) มาสอดไว้ด้านในหนังสือทุก ๆ 10 - 20 หน้า โดยระหว่างสอดจะต้องทำการเปิดหนังสืออย่างเบามือ เพื่อไม่ให้หน้ากระดาษที่ติดกันเปื่อยยุ่ยหรือเกิดความเสียหาย เมื่อกระดาษซับน้ำเปียกจนชุ่มให้ทำการเปลี่ยนกระดาษ โดยในระหว่างนั้นหมั่นรีดหน้ากระดาษไปกับกระดาษซับน้ำ เพื่อให้หน้ากระดาษเนียนเรียบ กรณีหนังสือเปียกมาก ควรเปลี่ยนกระดาษที่สอดทุก ๆ 30 นาที (หรือเปลี่ยนเมื่อกระดาษที่สอดเปียกชื้น) ห้ามสอดกระดาษถี่จนหนาเกินไปจนทำให้สันหนังสือผิดรูป ทั้งนี้ เวลาผึ่งห้ามวางซ้อนกัน เพราะเมื่อแห้งกระดาษจะติดกันและทำให้กระดาษเสียหาย
  3. ใช้พัดลมเป่าให้แห้ง (Air-drying)
    น้ำกระดาษซับน้ำออก แล้วจับหนังสือวางตั้งขึ้น ค่อย ๆ กางตัวเล่มออกประมาณหนึ่ง วางบนพื้นที่ที่กว้าง แห้ง และสะอาด จากนั้นเปิดพัดลมเป่าห่าง ๆ เบา ๆ ระบายอากาศจนกระทั่งหนังสือแห้งสนิท โดยห้ามใช้ไดร์เป่าผมลมร้อนหรือใช้พัดลมที่มีลมแรงจ่อกับหนังสือโดยเด็ดขาดเพราะจะทำให้หน้ากระดาษเบี้ยวผิดรูปหรือฉีกขาด
  4. วางทับด้วยของหนัก 
    เมื่อหนังสือแห้งสนิท ให้นำหนังสือเล่มใหญ่ ๆ หรือของที่มีน้ำหนักมาก ๆ มาวางทับทิ้งไว้ 1 - 2 วัน เพื่อให้หน้ากระดาษเรียบเนียน เพียงเท่านี้ก็จะได้หนังสือสภาพใกล้เคียงกับสภาพเดิมกลับคืนมา ไม่มีหน้ากระดาษหงิกงอหรือบวมพองแต่อย่างใด

 

 

 

ในกรณีที่หนังสือเปียกน้ำแต่ยังไม่สามารถทำการซ่อมแซมได้ทันที ต้องทำการเก็บรักษาไว้ ควรเก็บรักษาโดยนำใส่ถุงซิปล็อคปิดสนิทแล้วนำไปใส่ไว้ในช่องแช่แข็งของตู้เย็น (Freezing) โดยห่อหนังสือไว้ด้วยกระดาษทิชชู่(ที่ไม่มีสีและลวดลาย) แล้วใส่ในถุงพลาสติดสำหรับฟรีซ (Plastic freezer bag) แล้วในในช่องแช่แข็งที่เย็นที่สุดเท่าที่คุณหาได้ (ช่วงที่เหมาะสมที่สุดคือ -28 ○C ถึง -40 ○C ถ้าเป็นช่องแช่แข็งตู้เย็นทั่วไปจะสูงกว่า 0 ○C อยู่เล็กน้อย) ถ้ามีหนังสือหลายเล่มให้ใส่รวมกันในลังกระดาษ/กล่องกระดาษและคั่นหนังสือแต่ละเล่มออกจากกันด้วย Waxed paper (หรือใช้ Freezer wrap) ใช้เฉพาะคั่นแต่ไม่ต้องหุ้มตัวหนังสือทุกเล่ม ก่อนที่จะนำมาผ่านกระบวนการซ่อมแซม ให้นำออกจากช่องแช่แข็ง (Thawing) แล้ววางไว้ที่อุณหภูมิห้องโดยยังไม่ต้องเอาหนังสือออกจากกล่องกระดาษ ทิ้งไว้ 2 – 48 ชม. ขึ้นอยู่กับว่าหนังสือเปียกมากน้อยเพียงใด จนกระทั่งหนังสือมีอุณหภูมิเท่าอุณหภูมิห้องถึงจะนำหนังสือออกจากกล่องกระดาษได้ จากนั้นนำมาผ่านกระบวนการซ่อมแซมตามปกติ เช่น การใช้ลมเป่าให้แห้ง (ตามขั้นตอนข้างต้น) หรืออาจส่งซ่อมกับผู้เชี่ยวชาญหรือนักอนุรักษ์ในกรณีที่หนังสือมีคุณค่า/หนังสือหายาก รวมถึงอาจมีการซ่อมแชมปกหรือการเย็บเล่มเพื่อความเสริมความแข็งแรงก่อนนำไปเก็บเข้าชั้นเพื่อให้บริการต่อไป

 

แหล่งอ้างอิง

  • Knowledge Sharing โดยทีมงานฝ่ายบริการความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เข้าถึงได้จาก https://www.thailibrary.in.th/2011/11/23/repair-flooded-book
  • ห้องสมุด University of Michigan Library หัวข้อ How to Salvage Wet Books เข้าถึงได้จาก https://apps.lib.umich.edu/files/files/wetbooks-1.pdf
  • เฟสบุ๊คโพสหอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล (Mahidol University Library) เมื่อวันที่ 5 กันยายน 2019

   
อ้างอิง
แบ่งปัน:
1,421,914 views since 16 August 2018