ปัจจุบัน นักศึกษาและนักวิจัยมีการใช้ปัญญาประดิษฐ์เพื่อช่วยในการเขียนงานหรือช่วยในการเขียนงานวิจัยบางส่วน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ChatGPT ที่เป็นโมเดลภาษาขนาดใหญ่ ทั้งนี้ การอ้างถึงประโยคหรือการ “Quoting” ที่สร้างโดย ChatGPT หรือ GenAI/Chatbot อื่น ๆ (Bard, Perplexity) ทำได้ดังนี้
เนื่องด้วย ผลลัพธ์จาก ChatGPT ไม่สามารถเข้าถึงได้โดยผู้อื่น ถ้าผู้อื่นต้องการได้ข้อมูลรูปแบบเดียวกัน ผู้เขียนต้องแสดงคำสั่งหรือ Prompt จึงเสมือนว่าข้อมูลที่ได้จะถูกอ้างอิงคล้ายการอ้างอิงข้อมูลบทสนทนา (Personal Communications) ที่เป็นการตอบโต้ระหว่าง 2 ฝ่าย (แต่เป็นการตอบโต้ผ่านข้อความ-ตัวอักษร) ที่ไม่สามารถกู้คืนข้อมูลได้ (not retrievable) โดยผู้เขียนงานวิจัยควรแสดง Prompt และ Output ที่ได้เพื่อให้เกิดความกระจ่างชัดเจนในงานเขียนของตนเอง
ดังนั้น การ Quoting เปรียบเสมือนการนำ Output จากอัลกอริทึมที่บริษัท OpenAI เป็นผู้เขียนอัลกอรึทึม ทำให้การอ้างอิงแบบ APA 7th เป็นดังนี้
- การเขียนอ้างอิงแบบวงเล็บท้ายข้อความ (In-Text Citation) ให้เขียนชื่อบริษัทผู้พัฒนา ChatGPT ตามด้วยสัญลักษณ์คอมม่า (ลูกน้ำ) เว้นวรรคแล้วตามด้วยปีที่สืบค้นข้อมูลโดยทั้งหมดเขียนอยู่ในวงเล็บ ดังนี้ (OpenAI, 2024)
- การเขียนอ้างอิงแบบบรรยาย (Narrative citation) ให้เขียนชื่อบริษัทผู้พัฒนา ChatGPT ตามด้วยวงเล็บปีที่สืบค้นข้อมูล ดังนี้ OpenAI (2024)
- การเขียนในรายการอ้างอิงท้ายเล่ม (Reference List) ดังนี้
OpenAI. (2024). ChatGPT (Jan 22 version) [Large language model]. https://chat.openai.com/chat
*คำว่า ChatGPT ต้องเขียนตัวเอน และตอนท้ายตามด้วยลิงก์ URL (ไม่ต้องมีคำว่า Retrieved from)
Perplexity. (2023). Perplexity.ai (AI Chatbot) [Large language model]. https://www.perplexity.ai
*คำว่า Perplexity.ai ต้องเขียนตัวเอน และตอนท้ายตามด้วยลิงก์ URL (ไม่ต้องมีคำว่า Retrieved from)
ตัวอย่างงานเขียนที่มีการ Quoting ข้อความที่ได้จาก ChatGPT
When prompted with “Is the left brain right brain divide real or a metaphor?” the ChatGPT-generated text indicated that although the two brain hemispheres are somewhat specialized, “the notation that people can be characterized as ‘left-brained’ or ‘right-brained’ is considered to be an oversimplification and a popular myth” (OpenAI, 2024).
การเขียนอ้างอิงท้ายเล่ม: OpenAI. (2024). ChatGPT (Jan 22 version) [Large language model]. https://chat.openai.com/chat
*คำว่า ChatGPT ต้องเขียนตัวเอน และตอนท้ายตามด้วยลิงก์ URL (ไม่ต้องมีคำว่า Retrieved from)
หมายเหตุ:
- ผู้เขียนอาจใส่ผลลัพธ์ที่ได้จาก ChatGPT ทั้งหมดในภาคผนวก (Appendix) หรือนำไปไว้ในส่วนเสริม (Supplemental Material / Ancillary Resource) เพื่อให้ผู้อ่านสามารถเข้าถึงข้อความทั้งหมดที่ ChatGPT สร้างขึ้น เพราะถึงแม้จะใช้คำสั่ง Prompt เดียวกัน แต่ ChatGPT สามารถให้คำตอบที่แตกต่างออกไปจากเดิมได้ ไม่ตายตัว ดังนั้น การใส่ข้อมูลทั้งหมดให้ผู้อ่านสามารถติดตามได้ (Audit Trail) จะทำให้งานเขียนมีเหตุผลและมีความน่าเชื่อถือที่สูงขึ้นได้ (Validity & Reliability) ซึ่งกรณีที่มีการแสดงผลลัพธ์ทั้งหมดในภาคผนวก ให้เขียนระบุไว้ในการอ้างอิงในวงเล็บ ตัวอย่างการเขียน คือ (OpenAI, 2023; see Appendix A for the full transcript)
- ผู้เขียนควรตรวจสอบข้อตกลงหรือนโยบายของแต่ละวารสารและสำนักพิมพ์ให้ชัดเจน เพราะโดยมากจะไม่จัดว่า “ChatGPT” มีสถานะเป็น “Author” หรือ ไม่ได้อยู่ในหลักเกณฑ์ของการเป็นผู้ประพันธ์ (Authorship Criteria) จึงทำให้ไม่ต้องอ้างอิงและไม่ต้องนำมาใส่ในรายการอ้างอิง
- ผู้เขียนอาจจำเป็นต้องประกาศให้ชัดเจน (Clarify) ว่ามีการใช้งาน ChatGPT ในงานเขียนของตนเองว่าใช้ทำอะไรและอยู่ในส่วนใดของงานเขียน
- รูปแบบการเขียนอ้างอิงจะเลียนแบบรูปแบบการเขียนอ้างอิง Software ซึ่งผู้อ่านสามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก Section 10.10 บทที่ 10 ของหนังสือ The Publication Manual Of The American Psychological Association 7th Edition.
แหล่งอ้างอิง