Forum

แบ่งปัน:
การแจ้งเตือน
ลบทั้งหมด

การใช้เกณฑ์ EdPEx เพื่อการพัฒนาและประเมินองค์กร มหาวิทยาลัยมหิดล

1 โพสต์
1 ผู้ใช้
0 Reactions
932 เข้าชม
IL Admin
(@il-admin)
Reputable Member Admin
เข้าร่วม: 7 ปี ที่ผ่านมา
กระทู้: 134
หัวข้อเริ่มต้น  

ปัจจุบันมหาวิทยาลัยมหิดล ได้เล็งเห็นความสำคัญในการใช้กลวิธีหรือกลไกเพื่อการขับเคลื่อนในการบริหารและการดำเนินงานขององค์การที่มากกว่าการประกันคุณภาพการศึกษา โดยการนำเอาเกณฑ์พัฒนาคุณภาพที่เป็นสากล และสะท้อนตัวตนขององค์การมาใช้ในการพัฒนามหาวิทยาลัย จึงได้เปลี่ยนมาใช้เกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ (EdPEx : Education Criteria for Performance Excellence) จากเดิมที่ใช้เกณฑ์ (MUQD : Mahidol University Quality Development Program) ที่ได้พัฒนาขึ้นเองโดยกระบวนการภายในของมหาวิทยาลัย โดยที่มาของเกณฑ์ EdPEx คือ Baldrige Education Criteria for Performance Excellence ซึ่งเป็นที่ยอมรับและรู้จักในวงการศึกษา และมีสถาบันการศึกษาหลายแห่งทั้งในสหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย สิงค์โปร์ ฮ่องกง รวมทั้งประเทศไทย นำเกณฑ์นี้ไปใช้เพื่อการพัฒนาและประเมินองค์กรตนเอง ทั้งนี้ สำหรับรายละเอียดและองค์ประกอบการประเมินตามเกณฑ์ EdPEx สามารถสรุปสาระสำคัญ แบ่งเป็น 3 เรื่อง ดังนี้

1) คุณลักษณะของเกณฑ์ EdPEx ที่สำคัญ และแตกต่างจากเกณฑ์คุณภาพอื่น

  1. เกณฑ์ EdPEx มุ่งเน้นผลลัพธ์
  2. เกณฑ์ EdPEx ไม่กำหนดวิธีการและปรับใช้ให้เหมาะสมได้ เนื่องจากเกณฑ์มุ่งเน้นความต้องการขององค์การที่มีร่วมกัน (common needs) มากกว่าวิธีปฏิบัติ
    ที่เหมือนๆ กัน และเกณฑ์มุ่งเน้นที่ผลลัพธ์มากกว่าวิธีปฏิบัติ เครื่องมือ หรือโครงสร้างของสถาบัน
  3. เกณฑ์ EdPEx มุ่งเน้นที่ความต้องการของสถาบันการศึกษา โดยไม่กำหนดตัววัด ให้สถาบันเลือกตัววัดที่เป็นประโยชน์ต่อการบริหารสถาบัน
  4. เกณฑ์ EdPEx สนับสนุนมุมมองเชิงระบบเพื่อให้เป้าประสงค์สอดคล้องไปในทางเดียวกันทั้งสถาบัน

2) องค์ประกอบของเกณฑ์ EdPEx

    ประกอบด้วย 3 ส่วนที่สำคัญ ดังนี้

    2.1) โครงร่างองค์การ หมายถึง ภาพรวมของสถาบันเป็นสิ่งสำคัญที่มีอิทธิพลต่อวิธีการดำเนินการ และเป็นความท้าทายสำคัญที่สถาบันเผชิญอยู่ ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ (1) ลักษณะขององค์การ และ (2) สภาวการณ์ขององค์การ

    2.2) ด้านกระบวนการ (550 คะแนน) หมายถึง วิธีการที่สถาบันใช้และปรับปรุง เพื่อตอบสนองข้อกำหนดตามหัวข้อต่าง ๆ แบ่งเป็น 6 หมวด

  1. การนำองค์การ (120 คะแนน) ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ

            1.1 การนำองค์การโดยผู้นำระดับสูง (70 คะแนน) และ

            1.2 การกำกับดูแลและความรับผิดชอบต่อสังคม (50 คะแนน)

  1. กลยุทธ์ (85 คะแนน) ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ

            2.1 การจัดทำกลยุทธ์ (45 คะแนน) และ

            2.2 การนำกลยุทธ์ไปสู่การปฏิบัติ (40 คะแนน)

  1. ลูกค้า (85 คะแนน) ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ

            3.1 เสียงของลูกค้า (40 คะแนน) และ

            3.2 ความผูกพันของลูกค้า (45 คะแนน)

  1. การวัด การวิเคราะห์ และการจัดการความรู้ (90 คะแนน) ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ

            4.1 การวัด การวิเคราะห์ และปรับปรุงผลการดำเนินการขององค์การ (45 คะแนน) และ

            4.2 การจัดการความรู้ สารสนเทศ และเทคโนโลยีสารสนเทศ (45 คะแนน)

  1. บุคลากร (85 คะแนน) ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ

            5.1 สภาพแวดล้อมในการทำงาน (40 คะแนน) และ

            5.2 ความผูกพันของบุคลากร (45 คะแนน)

  1. ระบบปฏิบัติการ (85 คะแนน) ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ

            6.1 กระบวนการทำงาน (45 คะแนน) และ

            6.2 ประสิทธิผลการปฏิบัติการ (40 คะแนน)

    2.3) ด้านผลลัพธ์ (450 คะแนน) หมายถึง ผลิตและผลลัพธ์ของสถาบัน ในการบรรลุตามข้อกำหนดในหัวข้อต่าง ๆ แบ่งเป็น

  1. ผลลัพธ์ มุ่งเน้นที่ผลลัพธ์ 5 ด้าน คือ

            7.1 การเรียนรู้ของผู้เรียน และกระบวนการ (120 คะแนน)

            7.2 ผู้เรียนและลูกค้ากลุ่มอื่น (80 คะแนน)

            7.3 บุคลากร (80 คะแนน)

            7.4 การนำองค์การและการกำกับดูแล (80 คะแนน)

            7.5 งบประมาณและการตลาด (90 คะแนน)

3) การประเมินผลการดำเนินการ

    3.1) การประเมินกระบวนการ และผลลัพธ์

    3.2) ช่วงคะแนนตาม TQA Score

           เกณฑ์การให้รางวัล TQA ในประเทศไทย จะพิจารณาที่คะแนนไม่ต่ำกว่า 650 คะแนน สำหรับรางวัล TQC จะพิจารณาที่คะแนนไม่ต่ำกว่า 350 คะแนน

3.3) ช่วงคะแนนตาม MU Score Band (MU’s Dee)

 

แหล่งข้อมูลอ้างอิง:

  1. เกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ ฉบับปี 2558-2561
  2. เอกสารประกอบการบรรยาย EdPEx Criteria Training
  3. รายงานผลการตรวจประเมินตามเกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ EdPEx
  4. คู่มือเตรียมรับการตรวจประเมินตามเกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ มหาวิทยาลัยมหิดล

 

เรื่องโดย นางสาวจันทรัตน์ หิรัญกิจรังษี นักวิเคราะห์นโยบายและแผน สถาบันนวัตกรรมการเรียนรู้ ม.มหิดล


   
อ้างอิง
แท็กหัวข้อ
แบ่งปัน:
1,396,318 views since 16 August 2018