Forum

ข้อเรียนรู้จากภาพยน...
 
แบ่งปัน:
การแจ้งเตือน
ลบทั้งหมด

ข้อเรียนรู้จากภาพยนต์: Finding Nemo ปลาเล็ก หัวใจโต๊โต

1 โพสต์
1 ผู้ใช้
0 Reactions
1,636 เข้าชม
IL Admin
(@il-admin)
Reputable Member Admin
เข้าร่วม: 7 ปี ที่ผ่านมา
กระทู้: 134
หัวข้อเริ่มต้น  

          การดูหนังเป็นงานอดิเรกของใครหลายๆคน ตนเองก็เช่นกันชอบดูหนังมากโดยเฉพาะที่เป็น Sci-Fi สืบสวนสอบสวน แม้กระทั้งการ์ตูน เพราะการดูหนังใช่แต่ได้รับความบันเทิงอย่างเดียว เราถอดบทเรียนจากภาพยนต์เป็นองค์ความรู้ ไว้ใช้ในการจัดการเรียนการสอนได้ด้วย วันนี้จึงขอนำเสนอบทเรียนที่ได้จากการชม “Finding Nemo ปลาเล็ก หัวใจโต๊โต” ซึ่งเป็นการ์ตูนที่เด็กๆดูได้ ผู้ใหญ่ดูก็ดี เท้าความก่อนว่า เรื่องนี้เป็นหนังการ์ตูน เป็นเรื่องของความสัมพันธ์ของครอบครัว (ถ้าอยากอ่านเรื่องย่อ search หาใน Google ได้ สิ่งที่อยากถ่ายทอดคือ เรื่องนี้สามารถให้ข้อคิดได้มากกว่าการเป็นแค่หนังครอบครัวที่ดูเพื่อความบันเทิง เพราะสามารถนำมาเทียบเคียงกับบริบทของการจัดการเรียนรู้ในห้องเรียนได้เช่นกัน ยกตัวอย่างฉากที่ประทับใจที่สุดของตนเองคือ ฉากที่ดอรี่ติดไปกับตาข่ายจับปลาของชาวประมง นีโมต้องการช่วยเพื่อนของพ่อให้รอดจากการถูกจับ (ตีความเอาเองว่าเพราะนีโม่เคยถูกจับแล้วจึงไม่อยากให้ใครถูกจับเช่นตน) นีโมจึงคิดหาวิธีการช่วย แต่ก็ต้องอาศัยพลังจากปลาทุกตัว ดูฉากนี้ครั้งแรก เราอาจจะคิดถึงแค่ เออ...ความสามัคคีคือพลังที่ยิ่งใหญ่นะพลังของปลาทุกตัวที่ว่ายไปในทิศทางเดียวกันสามารถดึงตาข่าย ช่วยให้ปลาทุกตัวพ้นภัยได้  แต่ความสามัคคีนี้ก็ต้องการผู้นำ ซึ่งในที่นี้คือ นีโม ผู้ที่กล้าลงมือทำในสิ่งที่ไม่เคยทำ ผู้ที่ต้องยอมรับความเสี่ยงเพราะไม่รู้ว่าแนวทางใหม่นี้จะสำเร็จหรือไม่อย่างไร  ต้องก้าวข้ามความท้าทายที่อาจเป็นอุปสรรค ที่สำคัญ ผู้นำก็ต้องการความเชื่อมั่นและความร่วมมือจากสมาชิกในทีม (ปลาที่ถูกจับ) และความสนับสนุนจากคนนอก (พ่อที่ช่วยส่งสัญาญาณให้ปลาว่ายลงพร้อมๆกัน พ่อที่อยู่นอกตาข่ายของชาวประมง) ฉากนี้จึงแสดงให้เห็นว่าเราทุกคนแม้เป็นส่วนเล็กๆส่วนหนึ่งในสังคมก็สามารถทำสิ่งที่ยิ่งใหญ่ได้ เหนือสิ่งอื่นใด ตนเองประทับใจโดยคำพูดของนีโมที่บอกกับพ่อว่า “ผมคิดออกแล้ว.......ผมทำได้” และสุดท้ายพ่อก็ตอบว่า “ถูกต้องเลย..ลูกต้องทำได้”... ในที่สุดพ่อก็มั่นใจในความคิดของนีโม งานนี้จึงสำเร็จลงได้ ฉากนี้สะท้อนความจริงบางประการก็คือ ความท้าทายหนึ่งของการทำสิ่งต่างๆ คือ ความกังวลใจ ความไม่มั่นใจจากบุคคลที่รักเราหรือที่เรารัก มักเป็นอุปสรรค (จริงๆไม่อยากใช้คำนี้) ที่อาจจะขัดขวางไม่ให้เกิดงานใหม่ๆ กิจกรรมใหม่ๆ ซึ่งจริงๆ ก็ใช่เรื่องผิดที่คนเหล่านั้นจะกลัวหรือไม่มั่นใจ  เพราะคนไทยเรามีวัฒนธรรมเคารพ รับฟัง ผู้ที่อาบน้ำร้อนมาก่อน ซึ่งใช่ว่าจะเป็นเรื่องไม่ดีเสียทั้งหมด เพราะในเรื่องนีโมนี่เอง ก็มีฉากที่บ่งบอกว่า ผู้น้อย(ประสบการณ์) ควรรับฟังความคิดเห็นหรือข้อเสนอแนะจากผู้มีประสบการณ์ (ทั้งฉากที่พ่อห้ามออกจากแนวประการัง ตอนต้นเรื่อง ฉากนีโมคุยกับเต่าทะเลที่เดินทางไปกับกระแสน้ำจะได้ไม่ต้องใช้แรงว่ายน้ำมากนัก) จะได้มีผิดและพลาดซ้ำเพราะเขาหล่านั้นเคยเดินในเส้นทางนั้นๆมาแล้ว แต่.........แต่ ......แต่.....ก็ใช่ว่าประสบการณ์เดิมๆจะถูกเสมอ ฉากเหล่านี้จึงสะท้อนในเห็นมุมมองว่าผู้ปกครองหรือครูผู้สอน ก็ต้องเชื่อใจลูกและศิษย์  บางครั้งถึงรู้ว่ามันเสี่ยง เราก็คงต้องปล่อยให้เค้าเผชิญความเป็นจริง  เราทำได้เพียงให้ข้อคิด เสนอแนะแนวทาง แต่ก็ต้องให้โอกาสเขาเหล่านั้นได้ลองเดินทางไปด้วยตนเอง นอกจากนี้ การ์ตูนย์เรื่องนี้ถูกผู้เขียนหยิบยกมาสอนได้อีกหลายหลายเรื่อง เช่น เราต้องยอมรับความแตกต่างระหว่างบุคคล สิ่งที่เห็นกับสิ่งที่เป็นไม่ใช่สิ่งเดียวกันเสมอไป อย่าให้รูปร่างภายนอกมาตัดสินตัวตนของใคร (เป็นเรื่องของฉลาม) อย่ากลัวที่จะออกไปเรียนรู้ในโลกกว้าง ความสัมพันธ์ของเพื่อน ความรักของครอบครัว  การ์ตูนเรื่องนี้จึงเป็นหนึ่งในเรื่องที่ประทับใจที่สุดของผู้เขียน

ฉากที่นีโมบอก “พ่อ....ผมทำได้”

ภาพจาก : https://freeform.go.com/funday/news/14-times-nemo-from-finding-nemo-was-a-terrible-son

รูปลักษณ์ภายนอกไม่ใช่สิ่งสะท้อนตัวตนภายในทั้งหมดเสียทีเดียว บางครั้งเราก็ใช้ประสบการณ์เดิม ความเชื่อเก่าๆมาเป็นตัวตัดสิน ในเรื่องนี้ ฉลามไม่ดุร้าย....เพราะพวกเค้าเหล่านี้...รับประทานมังสะวิรัส (ดูตอนแรกถึงกับขำ)
ภาพจาก : https://muropaketti.com/elokuvat/yhdeksan-surkeaa-kopiota-pixarin-hittielokuvia-matkittu-sikamaisen-laiskasti/attachment/nemoa-etsimassa/

 

 

เรื่องโดย ผศ.ดร.วัชรี เกษพิชัยณรงค์ สถาบันนวัตกรรมการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยมหิดล


   
อ้างอิง
แบ่งปัน:
1,314,146 views since 16 August 2018