จะเห็นได้ว่าในสมัยนี้ คนส่วนใหญ่ไม่ค่อยอยากมีลูก หรือเพียง แค่ 1-2 คน เนื่องจากภาระค่าใช้จ่ายตั้งแต่ฝากครรภ์ ค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงดู หรืออาจมีปัจจัยอื่นทำคนไม่อยากมีลูก รัฐจึงมีมาตรการช่วยเหลือต่าง ๆ ออกมา เช่น เงินอุดหนุนบุตร จากรัฐบาล (800บาท) เงินสงเคราะห์บุตร จากสำนักงานประกันสังคม (600บาท) ได้รับสิทธิลดหย่อนภาษีเป็นต้น
สิทธิปัจจุบันที่คนมีลูกได้รับ
1.ผู้ประกันตน
- ผู้ประกันตน ม.33 และ 39 และ 40 (ทางเลือกที่ 3) ได้รับเงินสงเคราะห์บุตรประกันสังคม (แรกเกิด - 6 ปี) เดือนละ 800 บาท ต่อบุตร 1 คน อายุบุตรตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 6 ปีบริบูรณ์ จำนวนครั้งละไม่เกิน 3 คน และ 200 บาท (สำหรับมาตรา 40 ทางเลือกที่ 3) อายุบุตรตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 6 ปีบริบูรณ์ คราวละไม่เกิน 2 คน
- ผู้ประกันตนสามารถเบิกค่าตรวจ-ฝากครรภ์ ค่าคลอดบุตร เงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อการคลอดบุตร และเงินสงเคราะห์บุตรจากการมีลูกได้ ค่าตรวจและค่าฝากครรภ์ ในอัตราเหมาจ่าย 5 ครั้ง รวม 1,500 บาท ค่าคลอดบุตร เหมาจ่าย 15,000 บาทต่อการคลอดบุตรหนึ่งครั้ง
- เงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อการคลอดบุตร เหมาจ่ายในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้างเฉลี่ยเป็นระยะเวลา 90 วัน แต่หากมีบุตรคนที่ 3 จะไม่ได้รับสิทธินี้
- ข้าราชการ
- ข้าราชการมีสิทธิลาคลอดบุตรได้ 90 วัน โดยได้รับเงินเดือนและมีสิทธิลากิจส่วนตัวเพื่อเลี้ยงดูบุตรต่อเนื่องได้ไม่เกิน 150 วันทำการ โดยไม่มีสิทธิได้รับเงินเดือน
- ลูกจ้างประจำ มีสิทธิลาได้ 90 วันและมีสิทธิลากิจส่วนตัวเพื่อเลี้ยงดูบุตรต่อเนื่องโดยรับค่าจ้างไม่เกิน 30 วันทำการและรวมอยู่ในวันลากิจส่วนตัว 45 วันทำการ
- พนักงานราชการ มีสิทธิลาได้ 90 วัน ได้รับค่าตอบแทนระหว่างลาคลอดบุตรจากส่วนราชการ 45 วันทำการและอีก 45 วัน ได้รับจากประกันสังคม
3.เงินสำหรับผู้มีรายได้น้อย
- เงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิดจากรัฐ (แรกเกิด-6ปี) ในครอบครัวที่มีรายได้เฉลี่ยไม่เกิน 100,000 บาท/ปี โดยจะช่วยเหลือเป็นเงินให้กับผู้ปกครองจำนวน 600 บาท/เดือน ตั้งแต่แรกเกิดจนถึงอายุ 6 ปี
- กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) มอบเงินสงเคราะห์ให้กับ ครอบครัวผู้มีรายได้น้อยและเดือดร้อนด้านการเงินจนไม่สามารถเลี้ยงดูเด็กได้ โดยจะได้รับเงินช่วยเหลือ 1,000 บาท/คน/เดือน หากมีลูก 2 คนขึ้นไปหรือมีสิทธิได้เงินสูงสุด 3,000 บาท/เดือน
4.ทุกคนที่มีลูก
- สิทธิลดหย่อนบุตรได้คนละ 30,000 บาท แต่หากเป็นลูกคนที่ 2 เป็นต้นไปที่เกิดตั้งแต่ปี61 หรือหลังจากนี้ จะสามารถใช้สิทธิลดหย่อนบุตรได้คนละ 60,000 บาท และค่าฝากครรภ์และคลอดบุตรมาลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริง แต่เมื่อรวมกันแล้วต้องไม่เกินท้องละ 60,000 บาท
คนที่มีสิทธิรับทั้งเงินสงเคราะห์บุตร-เงินอุดหนุนบุตร
เงินสงเคราะห์เป็นสิทธิที่ผู้ประกันตนจะได้รับเป็นรายเดือน โดยมีหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการเกิดสิทธิ ดังนี้
- ต้องเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 หรือ มาตรา 39
- จ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 12 เดือน ภายในระยะเวลา 36 เดือน ก่อนเดือนที่มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทน สิทธิที่ท่านจะได้รับเงินสงเคราะห์บุตรเหมาจ่ายเดือนละ 400 บาทต่อบุตรหนึ่งคน
- ต้องเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย ยกเว้น บุตรบุญธรรมหรือบุตรซึ่งยกให้เป็นบุตรบุญธรรมของบุคคลอื่น
- อายุตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 6 ปีบริบูรณ์ จำนวนคราวละไม่เกิน 3 คน เว้นแต่ผู้ประกันตนเป็นผู้ทุพพลภาพหรือถึงแก่ความตาย ในขณะที่บุตรมีอายุแรกเกิดจนถึง 6 ปีบริบูรณ์ จะมีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนต่อจนอายุ 6 ปีบริบูรณ์
การหมดสิทธิรับเงินกรณีสงเคราะห์บุตร
- เมื่อบุตรมีอายุครบ 6 ปีบริบูรณ์
- บุตรเสียชีวิต
- ยกบุตรให้เป็นบุตรบุญธรรมของคนอื่น
- ความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลง
สถานที่ยื่นเรื่อง
- สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่
- สำนักงานประกันสังคมจังหวัดและสาขา ที่สะดวก (ยกเว้นสำนักงานใหญ่ในบริเวณกระทรวงสาธารณสุข
ส่วนเงินอุดหนุนบุตร หรือเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด เป็นส่วนที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) นำจ่ายให้แก่ครอบครัวที่มีรายได้เฉลี่ยไม่เกิน 100,000 บาท/ปี จำนวน 600 บาทต่อเดือน
ถ้าใครเข้าหลักเกณฑ์ทั้งสองหน่วยงาน เท่ากับว่าจะมีเงินเก็บให้ลูกเดือนละ 1,400บาท เมื่อลูกครบ 6 ขวบ ก็จะมีเงินเก็บถึง 100,800 บาท เพื่อนๆลองศึกษาดูว่าตนเองเข้าหลักเกณฑ์กับที่ไหนบ้าง ลองไปยื่นหรือสอบถามเพิ่มเติมได้ที่แต่ละหน่วยงานได้เลยนะคะ
นีรชา กลิ่นพยอม
ที่มา https://www.bangkokbiznews.com/health/social/1093271