Forum

ช่องว่างงานวิจัย 7 ...
 
แบ่งปัน:
การแจ้งเตือน
ลบทั้งหมด

ช่องว่างงานวิจัย 7 ประเภท (The Seven Research Gaps) และคุณกำลังมองหา Gap ประเภทใด

1 โพสต์
1 ผู้ใช้
0 Reactions
1,288 เข้าชม
(@natthasit-n)
Eminent Member
เข้าร่วม: 1 ปี ที่ผ่านมา
กระทู้: 12
หัวข้อเริ่มต้น  

ช่องว่างของงานวิจัย 7 ประเภท (The Seven Research Gaps) และผู้วิจัยมองหา Gap ประเภทใด
ประเด็นที่พบบ่อยครั้งมากที่สุดในการทำวิจัยคือการหาช่องว่างของงานวิจัย (Identifying Research Gap)
เป็นที่ผู้วิจัยจะได้มองเห็นประเด็นที่เรากำลังศึกษาและมุ่งเป้าเพื่อการพัฒนาและสร้างกระบวนการวิจัยที่เกิดองค์ความรู้หรือข้อค้นพบที่จะมีส่วนเติมช่องว่างการวิจัย (Fill research gaps) นั้นในสาขาวิชาของที่กำลังศึกษาอยู่ โดยช่องว่างของงานวิจัยในเบื้องต้นแบ่งออกเป็น 7 ประเภท ดังนี้

  1. Population gap (หรือ Under-researched sub-groups gap) เป็นช่องว่างที่เกี่ยวข้องในประเด็นของประชากรและกลุ่มตัวอย่าง เช่น เป็นกลุ่มประชากรที่ยังไม่มีการศึกษาวิจัย (Under-researched) หรือกลุ่มตัวอย่างที่ยังไม่สามารถเป็นตัวแทนประชากรทั้งหมดได้ โดยเฉพาะในประเด็นของเพศ (Gender) ชาติพันธุ์ (Race/Ethnicity) หรืออายุ (Age) เป็นต้น
  2. Empirical gap (หรือ Evaluation void gap) หมายถึงช่องว่างในรูปแบบของข้อค้นพบงานวิจัย ข้อเสนอ ข้อสรุป (Research findings/Propositions) ยังคงต้องการหลักฐานเพื่อยืนยันข้อค้นพบเหล่านั้น (need to be empirically verified) ทั้งนี้ อาจเนื่องมาจากมีข้อโต้แย้งเกิดขึ้น (Conflict with prior findings)
  3. Methodological gap (หรือ Methodology void gap) เป็นช่องว่างที่เกิดขึ้นจากการที่ระเบียบวิธีวิจัยไม่มีความหลากหลาย (Lack of variation in research methods) หรือมีข้อขัดแย้งที่เกิดขึ้นจากการใช้ระเบียบวิธีวิจัยที่แตกต่างกันแล้วไปมีผลต่อผลลัพธ์/ข้อค้นพบของงานวิจัยนั้น ๆ ซึ่งช่องว่างงานวิจัยนี้อาจเติมเต็มได้ด้วยการใช้ออกแบบวิธีวิจัยที่แตกต่างหรือปรับเปลี่ยนวิธีวิจัยจากเดิมเพื่อให้ได้ New Insights หรือหลีกเลี่ยงการบิดเบือนข้อค้นพบจากงานวิจัยที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้วิธีวิจัยเดิม
  4. Knowledge gap (หรือ Knowledge void gap) เป็นช่องว่างของศึกษาวิจัยในวิชาใดวิชาหนึ่งหรือในเนื้อหารายวิชา โดย Knowledge gap เกิดขึ้นมาจากการที่ยังไม่มีการศึกษาวิจัยในประเด็นนั้น (อาจมีข้อมูลในทางทฤษฎี แต่ยังไม่มีการศึกษาวิจัยสร้างองค์ความรู้ที่เป็นบริบทในสภาพแวดล้อมจริง) หรือผลลัพธ์ที่ได้มีความแตกต่างจากสมมติฐานที่คาดการณ์ไว้
  5. Theoretical gap (หรือ Theory application void gap) เป็นช่องว่างที่เกี่ยวข้องกับการขาดองค์ความรู้ในเชิงทฤษฎีที่เกี่ยวข้องที่ใช้อธิบายปรากฏการณ์ หรือ ยังขาดโมเดลเชิงความคิดหรือกรอบแนวคิดเชิงทฤษฎี (Conceptual/Theoretical models) ที่ใช้อธิบายหรือแสดงความสัมพันธ์ในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง
  6. Evidence gap (หรือ Contradictory evidence gap) เป็นช่องว่างในลักษณะของความขัดแย้งของข้อค้นพบของงานวิจัยที่มีอยู่ก่อนหน้า ผลงานวิจัยยังมีความขัดแย้งของผลลัพธ์และข้อสรุปกับงานวิจัยที่มีก่อนหน้าหรือขัดแย้งกับข้อสรุปที่ได้รับการยอมรับเป็นวงกว้าง
  7. Practical-knowledge gap (หรือ Action-knowledge conflict gap) เป็นช่องว่างที่เกิดจากพฤติกรรมหรือการปฏิบัติของผู้วิจัยที่มีความเชี่ยวชาญ แต่มีพฤติกรรมที่ปฏิบัติ (Actual behavior of professionals) กลับแตกต่างจากที่ควรปฏิบัติ (Advocated behavior) เบียงเบนออกจากข้อค้นพบของงานวิจัยก่อนหน้าและไม่มีงานวิจัยรองรับ จึงอาจเป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้เกิดช่องว่างงานวิจัยประเภทนี้ขึ้นได้

 

 

เอกสารอ้างอิง

  • Philip Adu, D. & Anthony Miles. (2024). Dissertation Research Methods A Step-by-Step Guide to Writing Up Your Research in the Social Sciences. Routledge.

   
อ้างอิง
แบ่งปัน:
1,342,946 views since 16 August 2018