Forum

แบ่งปัน:
การแจ้งเตือน
ลบทั้งหมด

ดอกกันภัย

1 โพสต์
1 ผู้ใช้
0 Reactions
853 เข้าชม
IL Admin
(@il-admin)
Reputable Member Admin
เข้าร่วม: 7 ปี ที่ผ่านมา
กระทู้: 134
หัวข้อเริ่มต้น  

ภาพ 1 ดอกกันภัยที่วิทยาลัย วิทยาศาสตร์การกีฬา ม.มหิดล ศาลายา ถ่ายเมื่อวันอาทิตย์ที่ 25 กุมภาพันธ์ 2561 โดย วรนาฏ คงตระกูล

ภาพ 2 ดอกกันภัยที่อาคารปัญญาพิพัฒน์  ม.มหิดล ศาลายา ถ่ายเมื่อวันอาทิตย์ที่ 25 กุมภาพันธ์ 2561 โดย วรนาฏ  คงตระกูล

ภาพ 3 ดอกกันภัยสัญลักษณ์ถ่ายในโอกาสงานเทศน์มหาชาติ เดือนพฤศจิกายน 2560 โดย วรนาฏ  คงตระกูล

"กันภัยมหิดล"

              ได้รับเลือกให้เป็นต้นไม้สัญลักษณ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล เนื่องในวันครบรอบ 30 ปี แห่งการพระราชทานนามมหาวิทยาลัย ในวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ.2542 มหาวิทยาลัยมหิดลได้จัดการประกวดต้นไม้สัญลักษณ์ โดยสมเด็จพระพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ได้ประทานพระกรุณาธิคุณทรงมีพระวินิจฉัยชี้ขาด ด้วยเหตุผลว่า เป็น ต้นไม้ที่พบในประเทศไทย สามารถปลูกได้ง่าย มีนามเป็นมงคล มีชื่อพ้องกับนามมหาวิทยาลัย และมี ลักษณะสวยงามแม้จะเป็นไม้เถา แต่ก็สามารถจัดแต่งเป็นทรงพุ่มได้หลายแบบ มีอายุยืนหลายปี และเมื่อ เถาแห้งไป ก็สามารถงอกงามขึ้นได้ใหม่ ซึ่งความเป็นไม้เถานี้สื่อความหมายถึงความก้าวหน้า และ ความสามารถในการปรับตัวให้พัฒนาไปตามสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปได้อย่างดี พบครั้งแรกเมื่อวันที่ 14 กันยายน พ.ศ.2510 โดยนายเกษม จันทรประสงค์ ขณะพักรับประทานอาหาร ท่านได้นำผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. จิรายุพิน จันทรประสงค์ (เจิมศิริวัฒน์) เดินทางกลับไปเก็บตัวอย่างที่สมบูรณ์และขุดต้นกลับมาปลูกที่กรมวิชาการเกษตร

การระบุชนิด (identify) มีการบรรยายภาพ วาดภาพส่งไปให้ Mr. B. L. Burtt พิสูจน์ชื่อที่สหราชอาณาจักร พร้อมทั้งขอพระราชทานชื่อเพื่อเป็นเกียรติ

กันภัยมหิดล

วงศ์ FABACEAE (หรือ LEGUMINOSAE) วงศ์ย่อย Papilionoideae

สกุล (genus) แอฟกีเกีย (Afgekia) เหมือนกับ ถั่วแปบช้าง (Afgekia sericea Craib)

ชื่อวิทยาศาสตร์ Afgekia mahidoliae B. L. Burtt & Chermsir

ถิ่นกำเนิด : เป็นต้นไม้พื้นถิ่นของไทย พบตามป่าเต็งรัง ภูเขาหินปูนในภาคตะวันตก

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ เป็นไม้เลื้อยเนื้อแข็ง ขนาดกลาง อายุหลายปี กิ่งอ่อนสีเขียว มีขนนุ่มทั่วไป

ลักษณะของใบ ออกสลับ ใบประกอบแบบขนนก ปลายคี่

ลักษณะของดอก ดอกทยอยบานจากโคนช่อมา ปลายช่อ 4-6 ดอก กลีบประดับสีม่วงอมเขียว รูปเรียว กลีบเลี้ยงสีม่วงอ่อน โคนกลีบเชื่อมติดกันปลายแยก 5 แฉก ดอกรูปดอกถั่ว มี 5 กลีบ กลีบกลางสีม่วง โคนกลีบมีแถบสีเหลืองรูปสามเหลี่ยม กลีบคู่ข้างสีม่วงเข้ม กลีบคู่ล่างสีเหลืองอ่อน

ดอกกันภัยมหิดล ที่ถูกปลูกในมหิวิทยาลัยมหิดล มีอยู่หลายต้นด้วยกัน เช่น ที่วิทยาลัย วิทยาศาสตร์การกีฬา ที่อาคารปัญญาพิพัฒน์  ที่วิทยาลัยนานาชาติ ที่หอสมุด   ซึ่งแต่ละต้นรูปทรงของดอกมีความแตกต่างกันออกไป และแม้แต่ต้นเดียวกัน แต่ละดอกก็สมบูรณ์ไม่เท่ากัน ซึ่งก็อาจเป็นไปได้ทั้งลักษณะทางภูมิศาสตร์  ปัจจัยการเจริญในต้นเอง สายพันธุ์  ฮอร์โมน รวมถึงปัจจัยการเจริญอื่นๆ สภาพแวดล้อมทางกายภาพ แสง ความชื้นในอากาศ ความชื้นในดิน   อุณหภูมิหน้าดิน อุณหภูมิในอากาศ สภาพแวดล้อมทางเคมี แร่ธาตุหลัก ธาตุรอง pH  ในดิน เป็นต้น รวมถึงปัจจัยทางชีวภาพอื่นๆ เช่นจุลินทรีย์ในดิน

 

ที่มาข้อมูล :  https://www.mahidol.ac.th/th/kanphai_mu.htm

 

เรื่องโดย วรนาฏ คงตระกูล สถาบันนวัตกรรมการเรียนรู้ ม.มหิดล


   
อ้างอิง
แบ่งปัน:
1,395,899 views since 16 August 2018