Forum

ถอดบทเรียน หลักสูตร...
 
แบ่งปัน:
การแจ้งเตือน
ลบทั้งหมด

ถอดบทเรียน หลักสูตรความก้าวหน้าการบริหารจัดการองค์ความรู้สู่ความสุขในการทำงาน : Advance Routine to Happiness (AR2H) (1)

1 โพสต์
1 ผู้ใช้
0 Reactions
706 เข้าชม
(@anongnat-patthanasaksiri)
Trusted Member
เข้าร่วม: 6 ปี ที่ผ่านมา
กระทู้: 25
หัวข้อเริ่มต้น  

หัวข้อ: มหาวิทยาลัยแห่งความสุขกับการบริหารจัดการองค์ความรู้สู่องค์กรสุขภาวะ

มหาวิทยาลัยแห่งความสุข (Happy University) คือ

  • การสร้างเสริม เรียนรู้ สื่อสารถ่ายทอดปัญญา ความสามารถ เป็นแบบอย่าง
  • สร้างความสัมพันธ์ พฤติกรรมและอารมณ์ที่สำคัญระหว่างผู้ผลิตและผลผลิต
  • เสริมสร้างบุคลากรและนักศึกษาให้มีคุณภาพชีวิต ขีดความสามารถ ความสุข ความผูกพันธ์องค์กร สมดุลระหว่างชีวิตกับการทำงานที่ดีและเหมาะสม
  • พร้อมปฏิบัติภารกิจมหาวิทยาลัยและเข้าสู่การงานอาชีพเพื่อบรรลุเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
  • รวมพลังการขับเคลื่อนไปสู่มหาวิทยาลัยชั้นนำในระดับโลก (World Class University)
  • ผลิตทรัพยากรบุคคลไปพัฒนาสังคมและประเทศ
  • เป็นต้นแบบแนวคิดในการพัฒนาคน มุ่งประโยชน์เพื่อชุมชน และสังคมส่วนรวม

เส้นทางมหาวิทยาลัยแห่งความสุข 2556 – ปัจจุบัน

  • ระยะที่ 1 พ.ศ. 2556 – 2558 คือ การเสริมสร้างสุขภาวะและสมรรถนะคนทำงานในมหาวิทยาลัยให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีและมีความสุข
    • ปลูกฝัง แนวคิดและปฏิบัติมหาวิทยาลัยแห่งความสุข
    • สร้างพลัง ความร่วมมือขับเคลื่อนมหาวิทยลัยแห่งความสุข
    • เสริมสมรรถนะคนเก่ง” “งานดี” “ผลิตภาพสูง
  • ระยะที่ 2 พ.ศ. 2559 – 2561 คือ ยกระดับมหาวิทยาลัยแห่งความสุข (Happy University) สู่มหาวิทยาลัยสุขภาวะ (Healthy University)
    • สร้างองค์ความรู้ใหม่
    • สร้างต้นแบบภาคีเครือข่าย
    • สนับสนุนภาคีขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยแห่งความสุข (Happy University Network Node)
    • พัฒนา ยุวทูตสร้างสุข นำร่อง
    • ขยายผลภาคีเครือข่าย
  • ระยะที่ 3 พ.ศ. 2563 – ปัจจุบัน คือ สร้างนวัตกรรม “ระบบปัญญานิเวศ: Wisdom Ecosystem”
    • พัฒนาระบบปัญญานิเวศ
    • ยกระดับทักษะและขีดความสามารถบุคลากรและนักศึกษา
    • สนับสนุน 5 ศูนย์เรียนรู้ มหาวิทยาลัยแห่งความสุข
    • พัฒนาโมเดลสุขภาวะกลุ่มนักศึกษา
    • พัฒนามาตรฐานกลาง การประเมินตนเองสนับสนุน EdPEx

ภาคีเครือข่ายมหาวิทยาลัยแห่งความสุข แบ่งเป็น 5 กลุ่มสถาบันการศึกษา กำหนดโดยกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม มีจำนวนทั้งสิ้น 82 แห่ง เป็นภาคีเครือข่ายมหาวิทยาลัยแห่งความสุขแล้ว จำนวน 63 แห่ง แบ่งเป็น

  • กลุ่มพัฒนาการวิจัยระดับแนวหน้าของโลก มีจำนวน 16 แห่ง เป็นภาคีเครือข่ายมหาวิทยาลัยแห่งความสุข จำนวน 15 แห่ง
  • กลุ่มพัฒนาเทคโนโลยีและส่งเสริมการสร้างนวัตกรรม มีจำนวน 18 แห่ง เป็นภาคีเครือข่ายมหาวิทยาลัยแห่งความสุข จำนวน 15 แห่ง
  • กลุ่มพัฒนาเทคโนโลยีและส่งเสริมการสร้างนวัตกรรม มีจำนวน 41 แห่ง เป็นภาคีเครือข่ายมหาวิทยาลัยแห่งความสุข จำนวน 29 แห่ง
  • กลุ่มพัฒนาปัญญาและคุณธรรมด้วยหลักศาสนา ไม่มีสถาบันภาคีเครือข่าย
  • กลุ่มผลิตและพัฒนาบุคลากรวิชาชีพและสาขาจำเพาะ มีจำนวน 7 แห่ง เป็นภาคีเครือข่ายมหาวิทยาลัยแห่งความสุข จำนวน 4 แห่ง

ขั้นตอนการเข้าร่วมเป็นภาคีเครือข่ายมหาวิทยาลัยแห่งความสุข

  • ลงนามใน MOU ระหว่างอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล กับอธิการบดีมหาวิทยาลัยภาคี
  • สำรวจข้อมูลพื้นฐาน (Based-line Survey) เพื่อพัฒนาสร้างเสริมมหาวิทยาลัยแห่งความสุข
  • บุคลากรเข้าร่วมฝึกปฏิบัติเป็น “นักสร้างสุขมหาวิทยาลัย
  • นักสร้างสุขมหาวิทยาลัยขับเคลื่อนกิจกรรม มหาวิทยาลัยแห่งความสุข
  • สำรวจข้อมูลปลายทาง (Ended-line Survey) เพื่อดูการเปลี่ยนแปลง

แบบสำรวจบุคลากร (Happinometer Self Assessment) ทั้งหมด 11 มิติ ที่พัฒนาโดยมหาวิทยาลัยมหิดลและสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) โดยการนำแนวคิด Happy 8 มิติ มาจัดการด้วยมาตรฐานเชิงวิชาการสร้างตัวชี้วัดประเมินในแต่ละมิติ สร้างกระบวนการ และเกณฑ์การประเมิน สร้างคู่มือ สร้างหลักสูตรนำข้อมูลไปใช้สร้างแผนปฏิบัติการสร้างสุข โดยสามารถแบ่งมิติ ได้ดังนี้

Happy Body สุขภาพดี

Happy Relax ผ่อนคลายดี

Happy Heart น้ำใจดี

Happy Soul จิตวิญญาณดี

Happy Family ครอบครัวดี

Happy Society ผ่อนคลายดี

Happy Brain ใฝ่รู้ดี

Happy Money สุขภาพเงินดี

Happy Work-Life การงานดี

Engagement ความผูกพันดี

Work-Life Balance ความสมดุลการงานดี


   
อ้างอิง
แท็กหัวข้อ
แบ่งปัน:
1,390,579 views since 16 August 2018