บทความทั่วไป (General-Articles)
1
โพสต์
1
ผู้ใช้
0
Reactions
1,227
เข้าชม
หัวข้อเริ่มต้น 10/11/2022 10:20 am
หัวข้อ: HAPPINOMETER กับแผนปฏิบัติการสร้างสุข (1)
- กระบวนการ: Action plan ชื่อแผนปฏิบัติการ ชื่อโครงการต้องชัดเจน (ในแต่ละปีจะมีแผนงาน/โครงการเป็นจำนวนมากจะได้จำได้ง่าย) ควรตั้งชื่อให้น่าสนใจ มีเอกลักษณ์ เพื่อผู้เกี่ยวข้องจะได้จำแผนปฏิบัติการของเราได้ เป็นชื่อที่สื่อให้รู้ว่า จะทำอะไร มีวัตถุประสงค์อะไร ชื่อไม่ยาวเกินไป
- ความสำคัญและที่มาของปัญหา
- ต้องดำเนินการวิเคราะห์ปัญหา
- รวบรวมข้อเท็จจริงทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับปัญหา
- เลือกเฉพาะข้อเท็จจริงเกี่ยวข้องกับปัญหา
- สถานการณ์ปัญหา
- ค่าคะแนนเฉลี่ยที่ต่ำ เกิดจากอะไร เกิดขึ้นได้อย่างไร
- ค่าคะแนนเฉลี่ยที่ต่ำนั้น ต่ำจริง หรือไม่ เพราะเหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น
- มีข้อเท็จจริง หรือ ข้อมูลอื่น ๆ ที่นำมาอ้างอิง สนับสนุน สถานการณ์ปัญหาหรือไม่อย่างไร
- เป้าประสงค์
- วัตถุประสงค์ของการพัฒนาในระดับที่สูงกว่าโครงการ โครงการจึงต้องมุ่งให้บรรลุผลลัพธ์บั้นปลาย หรือ เป้าหมายสุดท้าย (วิสัยทัศน์องค์กร) ผลที่โครงการมุ่งจะบรรลุผลภายในระยะเวลาที่กำหนดของโครงการ ซึ่งจะบรรลุผลตามที่กำหนดไว้เมื่อโครงการได้เห็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นตามที่ต้องการ
- วัตถุประสงค์เฉพาะ (Objective)
- วัตถุประสงค์ที่ดี ต้องสามารถประเมินผลได้
- เจาะจง (Specific) ต้องมีความเจาะจง ว่าต้องการทำอะไร และ ผลลัพธ์ที่ต้องการคืออะไร
- วัดได้ (Measurable) ต้องวัดผลที่เกิดขึ้นได้ ไม่เป็นภาระแก่ตัวชี้วัดมากเกินไป
- เห็นพ้อง (Appropriate) ต้องได้รับการเห็นชอบซึ่งกันและกัน สอดคล้องกับปัญหาของโครงการ
- เป็นจริงได้ (Realistic) ต้องท้าทาย และสามารถทำสำเร็จได้ เป็นไปได้จริง เกิดขึ้นได้จริง
- ภายใต้กรอบเวลาที่เหมาะสม (Time Bound) ต้องมีระยะเวลาในการทำงานที่เหมาะสม และสำเร็จตรงตามเวลา
- ควรลงรายละเอียดว่า การทำโครงการ/แผนงานนี้ จะทำให้องค์การได้รับผลลัพธ์ (Outcome) อะไรบ้าง
- สามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานหรือประหยัดค่าใช้จ่ายขององค์กรได้มากน้อยเพียงใด
-
ตัวอย่าง วัตถุประสงค์
- เพิ่มมิติผ่อนคลายดี จาก ร้อยละ................ในปี 2565 เป็น ร้อยละ...........ในปี 2566
- เพิ่มมิติสุขภาพเงินดี จาก ร้อยละ...............ในปี 2565 เป็น ร้อยละ...........ในปี 2566
-
- วัตถุประสงค์ที่ดี ต้องสามารถประเมินผลได้
- กลุ่มเป้าหมาย
- ระบุกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการว่าเป็นใคร (กรณีที่มีโครงการเฉพาะ)
- ตัวอย่างเช่น
- กลุ่มสายสนับสนุน/ กลุ่มนักวิชาการ /กลุ่ม Talent ฯลฯ
- บุคลกรกลุ่ม Yong Generation
- บุคลากรกลุ่ม Gen Y
- ตัวอย่างเช่น
- เพื่อให้เกิดความชัดเจนในการวัดผลสำเร็จ
- ระบุกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการว่าเป็นใคร (กรณีที่มีโครงการเฉพาะ)
- หน่วยงานที่รับผิดชอบ
- ควรมีการกำหนดชื่อบุคคล หรือตำแหน่ง ผู้ที่รับผิดชอบแผนปฏิบัติการหลักไว้
- ในแต่ละกิจกรรม ควรกำหนดผู้รับผิดชอบในชัดเจนเช่นเดียวกัน
- ผู้รับผิดชอบในแต่ละกิจกรรม ไม่ควรมากหรือน้อยเกินไป ผู้รับผิดชอบควรเหมาะสมกับกิจกรรมนั้น ๆ