นิ้วล็อค ภัยเงียบใกล้ตัวที่เกิดขึ้นได้ทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะกลุ่มทำงานออฟฟิศ คนที่ต้องใช้นิ้วมือในการพิมพ์คีย์บอร์ด สมาร์ทโฟนเป็นเวลานาน ๆ แม่บ้านที่ซักผ้าบิดผ้าบ่อย ๆ หรือนักกีฬาที่ต้องจับอุปกรณ์ที่แน่น ๆ เช่น เทนนิส เริ่มจากอาการปวดบริเวณฝ่ามือใกล้ ๆ โคนนิ้ว มักจะมีอาการนิ้วเคลื่อนที่ไม่สะดวก มีอาการติด
อาการแบ่งเป็น 4 ระยะ
- มีอาการปวดบริเวณโคนนิ้วมือเวลาขยับ แต่ยังไม่มีการสะดุดระหว่างเคลื่อนไหวนิ้ว
- เริ่มมีการสะดุดเวลาขยับนิ้ว แต่ยังขยับได้อยู่
- กำมือแล้วเกิดอาการล็อก แต่ยังสามารถเหยียดออกได้โดยการใช้มืออีกข้างช่วยแกะออก
- ไม่สามารถกำมือสุดได้
การดูแลรักษา เบื้องต้นของอาการนิ้วล็อค
- พักการใช้มือ
- ประคบเย็น หรือน้ำอุ่น เพื่อลดบวม
- ทายาลดอักเสบ ทาแบบไม่ต้องนวด
- ดามนิ้วให้อยู่นิ่งๆ
- รับประทานยาแก้ปวด
วิธีลดความเสี่ยงการเป็นนิ้วล็อค ไม่หิ้วของหนักเกิน และหิ้วให้น้ำหนักตกที่ฝ่ามือ หรือใช้รถลากแทนการหิ้ว งานที่ต้องทำต่อเนื่องเป็นเวลานาน ควรพักมือเป็นระยะ ยืดกล้ามเนื้อมือ และถ้าหากตื่นเช้ามามีอาการฝืดหรือเมื่อยล้า ให้แช่น้ำอุ่นร่วมกับการขยับมือ กำแบ ในน้ำเบา ๆ
แหล่งข้อมูล
https://www.bpksamutprakan.com/care_blog/view/ 187
https://thainakarin.co.th/trigger-finger-ortho-tnh/
https://www.siphhospital.com/th/news/article/share/ 723
https://www.rama.mahidol.ac.th/ramachannel/article/%E 0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B9%89%E0%B8%A7%E0%B8%A5%E0%B9%87%E0%B8%AD%E0%B8%81-%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%94%E0%B8%A5%E0%B9%87%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%81/
อนงค์ ตังสุหน สถาบันนวัตกรรมการเรียนรู้ ม.มหิดล