Forum

บทบาทห้องสมุดในยุคด...
 
แบ่งปัน:
การแจ้งเตือน
ลบทั้งหมด

บทบาทห้องสมุดในยุคดิจิทัล (Roles of Library in Digital Era)

1 โพสต์
1 ผู้ใช้
0 Reactions
3,004 เข้าชม
(@natthasit-n)
Eminent Member
เข้าร่วม: 2 ปี ที่ผ่านมา
กระทู้: 12
หัวข้อเริ่มต้น  

ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นใบยุคดิจิทัล ทำให้ห้องสมุดรูปแบบเดิมต้องปรับเปลี่ยนให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงและต้องสามารถตอบโจทย์พฤติกรรมผู้ใช้บริการที่เปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัยได้ มิเช่นนั้นแล้วห้องสมุดจะกลายเป็นสถานที่ที่ไม่มีผู้มาใช้งานอีกต่อไป ดังนั้นห้องสมุดยุคดิจิทัลอาจต้องเพิ่มปัจจัยต่าง ๆ ให้สอดคล้องกับยุคสมัยที่ทำให้ห้องสมุดสามารถอยู่รอดได้ อาทิ

1.มีสิ่งอำนวยความสะดวกและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ให้บริการ (Facilities & Electronic Devices) อาทิ Laptop, Tablet, เทคโนโลยีและอุปกรณ์ AR/VR Goggles รวมถึงการให้บริการสัญญาณอินเทอร์เน็ตไร้สาย (Wi-Fi) เพื่อการสืบค้นและเข้าถึงแหล่งสารสนเทศ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ แค่เพียงปลายนิ้วสัมผัส สะดวก ง่าย และรวดเร็ว

2.การปรับสภาพแวดล้อมให้กลายเป็นพื้นที่แห่งการเรียนรู้ (Learning Hub / Makerspace) ปัจจุบันพื้นที่ห้องสมุดสมัยใหม่เป็นศูนย์รวมของผู้คน เป็นสถานที่พบปะแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระดมความคิด แบ่งปันเรื่องราวต่าง ๆ ของผู้คนในสังคม ห้องสมุดยุคดิจิทัลมักจัดกิจกรรมต่าง ๆ ให้ผู้ที่มีประสบการณ์มาร่วมแบ่งปันประสบการณ์ หรือการอบรมเชิงปฏิบัติการที่ส่งเสริมการเรียนรู้ในเรื่องต่าง ๆ ทำให้ผู้คนในสังคมพัฒนาองค์ความรู้ไปด้วยกัน หรืออาจมีพื้นที่ว่างสำหรับการทำกิจกรรมของตน

3.เพิ่มความหลากหลายของประเภททรัพยากร กรณีหนังสือควรมีทั้งหนังสือที่เป็นรูปแบบตัวเล่มพิมพ์และรูปแบบไฟล์อิเล็กทรอนิกส์ที่เข้าถึงพร้อมกันได้หลายคนและสามารถใช้งานได้อย่างสะดวกสบาย รวมถึงทรัพยากรที่ช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ พัฒนาทักษะกระบวนการทางความคิดต่าง ๆ อาทิ บอร์ดเกมการศึกษา การ์ดเกม เกมที่ใช้ความจริงเสมือน (Virtual reality) หนังและเพลง (Movies and music)

4.การให้บริการสืบค้นสารสนเทศอย่างเป็นระบบ (Systematic Literature Search) เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ต้องการต้องอาศัยคำค้น (Keywords) ใกล้เคียงกับสิ่งที่ต้องการมากที่สุด ร่วมกับวิธีการค้นหาแบบ Boolean ด้วยการใช้ AND หรือ OR ในการสืบค้น อีกทั้งการกำหนดกรอบหรือเกณฑ์การคัดเลือกข้อมูลที่มีข้อมูลที่ต้องการเข้า-ออก (Inclusion and exclusion criteria) จะเป็นการช่วยกรองข้อมูลปริมาณมากให้ได้สิ่งที่ต้องการได้ตรวเป้ามากขึ้น

5.การให้บริการหนังสือต่างห้องสมุด (Interlibrary Loan) และการจัดส่งหนังสือทางไกล (Book Delivery) ทรัพยากรจะไม่ถูกจำกัดอยู่ที่ห้องสมุดใดห้องสมุดหนึ่งเท่านั้น ปัจจุบันห้องสมุดในยุคดิจิทัลมีการแลกเปลี่ยนทรัพยากรระหว่างกัน ทำให้ผู้ใช้บริการสามารถเข้าถึงทรัพยากรที่ตนต้องการได้แม้ว่าจะอยู่ไกลจากห้องสมุดที่มีทรัพยากรนั้น ส่งเสริมการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า และส่งเสริมให้เกิดสังคมแห่งการแลกเปลี่ยนเรียนรู้อีกด้วย

 

แหล่งอ้างอิง (References)


   
อ้างอิง
แบ่งปัน:
1,421,927 views since 16 August 2018