ปีงบประมาณของประเทศไทย ทำไมไม่เริ่มตามปีปฏิทิน
หลายคน อาจยังสงสัยว่าทำไมปีงบประมาณ ที่หน่วยงานราชการใช้ในการบริหารดำเนินการนั้นทำไมถึงไม่เริ่มตามปีปฏิทิน แต่ก่อนอื่นขอบอกความหมายให้ทราบกันก่อนนะว่า
ปีงบประมาณ หมายถึง ระยะเวลาที่รัฐบาลใช้เพื่อวัตถุประสงค์ด้านการจัดทำงบประมาณ ตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณของไทยนั้น ปีงบประมาณหมายความว่า “ระยะเวลาตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคมของปีหนึ่ง ถึงวันที่ 30 กันยายนของปีถัดไป และให้ใช้ปี พ.ศ. ที่ถัดไปนั้นเป็นชื่อสำหรับปีงบประมาณนั้น”
ทำไมปีงบประมาณของไทยจึงเริ่มที่เดือนตุลาคม?
แต่ละประเทศมีเหตุผลในการเริ่มต้นปีงบประมาณในเดือนต่าง ๆ ที่แตกต่างกันไป และหลายประเทศก็เปลี่ยนแปลงวันเริ่มต้นปีงบประมาณอยู่เป็นครั้งคราว กรณีของไทย เคยเปลี่ยนแปลงวันเริ่มต้นปีงบประมาณอยู่หลายครั้งก่อนจะกลายมาเป็นเดือนตุลาคมดังเช่นในปัจจุบัน สมัยก่อน กฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณเคยกำหนดให้ปีงบประมาณเริ่มต้นในเดือนเมษายนและสิ้นสุดในเดือนมีนาคม ซึ่งตรงกับปีปฏิทินของไทยในขณะนั้น ต่อมาในปี 2481 รัฐบาลเสนอให้แก้ไขกฎหมาย เปลี่ยนวันเริ่มต้นปีงบประมาณมาเป็นเดือนตุลาคมและสิ้นสุดในเดือนกันยายนแทน
ทั้งนี้ หลวงประดิษฐ์มนูธรรม (ปรีดี พนมยงค์) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังในขณะนั้นเสนอว่า การเปลี่ยนแปลงวันเริ่มต้นปีงบประมาณเป็นไปด้วยเหตุผลเรื่องดินฟ้าอากาศเป็นหลัก โดยยกเหตุผลสนับสนุนดังนี้ (1) งานก่อสร้างต่าง ๆ จะทำได้ในฤดูแล้ง คือตั้งแต่เดือนธันวาคมจนถึงเดือนมิถุนายน ถ้าปีงบประมาณเริ่มในเดือนเมษายน เจ้าหน้าที่ก็จะต้องคอยห่วงเรื่องงบประมาณตลอดช่วงเดือนมกราคมถึงมีนาคม (2) เดือนเมษายนเป็นเดือนที่หยุดราชการ ดังนั้นกว่าที่จังหวัดต่าง ๆ จะได้รับงบประมาณก็เลยไปถึงเดือนพฤษภาคมหรือมิถุนายนที่เริ่มฤดูฝนแล้ว ทำให้ทำงานต่าง ๆ ได้ลำบาก และ (3) เนื่องจากประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเพาะปลูก ดังนั้นจึงควรรอให้เสร็จสิ้นฤดูเก็บเกี่ยวก่อน เพื่อให้รัฐบาลสามารถคำนวณรายได้จากการเก็บภาษีได้ดีขึ้นเดือนเมษายนเป็นเดือนที่หยุดราชการ ดังนั้นกว่าที่จังหวัดต่าง ๆ จะได้รับงบประมาณก็เลยไปถึงเดือนพฤษภาคมหรือมิถุนายนที่เริ่มฤดูฝนแล้ว ทำให้ทำงานต่าง ๆ ได้ลำบาก
ปีปฏิทินและปีงบประมาณ
การเริ่มต้นปีงบประมาณในเดือนตุลาคมนั้นเริ่มใช้ครั้งแรกในปี 2482 และเป็นครั้งแรกที่ปีปฏิทินไม่ตรงกับปีงบประมาณ เนื่องจากก่อนหน้านี้ ทั้งปีใหม่และปีงบประมาณของไทยต่างเริ่มต้นขึ้นในเดือนเมษายน อย่างไรก็ตาม ปีงบประมาณที่เริ่มในเดือนตุลาคมนี้ถูกใช้อยู่เพียงปีเศษ ก็มีการเปลี่ยนแปลงอีกครั้งหนึ่ง พร้อม ๆ กับการเปลี่ยนแปลงวันขึ้นปีใหม่ของไทยปีใหม่ไทยในสมัยก่อนนั้นตรงกับวันแรม 1 ค่ำ เดือนอ้าย (ปีใหม่ที่กำลังจะมาถึงนี้ ตรงกับวันที่ 23 ธันวาคม 2560) ก่อนจะเปลี่ยนเป็นวันขึ้น 1 ค่ำ เดือนห้าตามคติพราหมณ์ (ตรงกับวันที่ 17 มีนาคม 2561) และเมื่อเปลี่ยนปฏิทินจากแบบจันทรคติมาเป็นแบบสุริยคติ วันปีใหม่ของไทยก็เปลี่ยนมาเป็นวันที่ 1 เมษายน ตั้งแต่ปี 2432 เป็นต้นมาอย่างไรก็ดี ในปี 2483 รัฐบาลก็เปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่มาเป็นวันที่ 1 มกราคม ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2484 เป็นต้นมา โดยให้เหตุผลว่า ประเทศต่างๆ ทั่วโลกนิยมใช้วันที่ 1 มกราคม เป็นวันขึ้นปีใหม่ และวันที่ 1 มกราคมนี้ก็ใกล้เคียงกับวันแรม 1 ค่ำ เดือนอ้าย ซึ่งสอดคล้องกับคติพุทธที่เริ่มต้นปีใหม่ในฤดูหนาว นอกจากจะเปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่แล้ว รัฐบาลยังเปลี่ยนแปลงปีงบประมาณให้ตรงกับปีปฏิทินด้วย โดยปีงบประมาณ 2484 นั้นเริ่มต้นเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2484 พร้อมกับวันขึ้นปีใหม่ ปีงบประมาณที่เริ่มต้นในเดือนมกราคมนี้ถูกใช้อยู่กว่า 20 ปี จนมีการเปลี่ยนแปลงอีกครั้งในปี 2502
ปีงบประมาณในปัจจุบัน
พระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2502 เป็นกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณที่บังคับใช้อยู่ในปัจจุบัน กฎหมายฉบับนี้เปลี่ยนวันที่เริ่มต้นปีงบประมาณกลับมาเป็นเดือนตุลาคม และสิ้นสุดในเดือนกันยายน ดังเช่นกฎหมายในปี 2481 โดยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ นายกรัฐมนตรีในขณะนั้นให้เหตุผลในการเปลี่ยนแปลงวันที่เริ่มต้นปีงบประมาณว่า เป็นเรื่องของดินฟ้าอากาศเป็นหลักเช่นเดิม ทั้งนี้ ปีงบประมาณที่เริ่มต้นในเดือนตุลาคมนี้เริ่มใช้ครั้งแรกในปีงบประมาณ 2505 หรือ 1 ตุลาคม 2504 เป็นต้นมา
ที่มาของข้อมูล: https://themomentum.co/public-expenditure/