การเสียชีวิตเป็นเรื่องเศร้าที่ใครก็ไม่อยากให้เกิดกับครอบครัวหรือคนใกล้ชิดของตนทั้งนั้น แต่เราก็ไม่สามารถหนีพ้นมันได้ แต่เมื่อเกิดขึ้นแล้วคนที่มีชีวิตอยู่ก็ต้องรับให้ได้ และดำเนินชีวิตต่อไป แต่เมื่อเกิดเหตุการณ์สูญเสียแล้ว ก็ควรรู้ว่ามีสิทธิเบิก หรือได้รับเงินเยียวยา จากที่ใดบ้างและมีเงื่อนไขอย่างไร ใครบ้างที่มีสิทธิได้รับผลประโยชน์นั้นบ้าง
ในครั้งนี้จะกล่างถึงกรณีผู้เสียชีวิต เป็นผู้ประกันตน มาตรา 33 และมาตรา39 ญาติของผู้เสียชีวิต มีหลักเกณฑ์ และได้รับเงินเท่าไร จากสำนักงานประกันสังคม ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการเกิดสิทธิ
กรณีที่ผู้ประกันตนถึงแก่ความตายอันมิใช่เนื่องจากการทำงาน และได้จ่ายเงินสมทบมาแล้ว 1 เดือน ภายในระยะเวลา 6 เดือน ก่อนเดือนถึงแก่ความตาย
สิทธิประโยชน์ทดแทนกรณีตาย ได้แก่
1.ค่าทำศพ 50,000 บาท โดยจ่ายให้แก่ผู้จัดการศพ (อาจเป็นญาติสายตรง หรือใครที่ผู้ประกันตนระบุให้เป็นผู้จัดการศพ โดยที่ต้องมีหนังสือรับรองการเป็นผู้จัดการศพ โดยให้ทางวัดที่เป็นสถานที่จัดงานศพเป็นผู้ลงนามรับรอง
2.เงินสงเคราะห์กรณีตาย จะให้จ่ายแก่บุคคลซึ่งผู้ประกันตนทำหนังสือระบุให้เป็นผู้มีสิทธิได้รับเงินสงเคราะห์นั้น แต่ถ้าผู้ประกันตนมิได้มีหนังสือระบุไว้ก็ให้นำมาเฉลี่ยจ่ายให้แก่ สามีหรือภริยา บิดามารดา หรือบุตรของผู้ประกันตนในจำนวนที่เท่ากัน โดยมีเงื่อนไขดังนี้
กรณีก่อนถึงแก่ความตาย ผู้ประกันตนได้ส่งเงินสมทบมาแล้วตั้งแต่ 36 เดือนขึ้นไป แต่ไม่ถึง 120 เดือน ให้จ่ายเงินสงเคราะห์เป็นจำนวนเท่ากับค่าจ้างเฉลี่ย 2 เดือน
กรณีก่อนถึงแก่ความตายผู้ประกันตนได้ส่งเงินสมทบมาแล้วตั้งแต่ 120 เดือนขึ้นไป ให้จ่ายเงินสงเคราะห์เท่ากับค่าจ้างเฉลี่ย 6 เดือน
3.เงินชราภาพของผู้ประกันตนที่เสียชีวิต ทายาทผู้มีสิทธิสามารถขอรับคืนเงินกรณีชราภาพคืนได้ภายใน 2 ปี
หลักฐานที่ต้องใช้ในการยื่นคำขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีตาย
กรณีขอรับค่าทำศพ
แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีตาย (สปส. 2-01)
สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้จัดการศพพร้อมตัวจริง
หลักฐานจากฌาปนสถานหรือมัสยิดที่แสดงว่าเป็นผู้จัดการศพ
สำเนาใบมรณบัตรพร้อมตัวจริง
สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคารประเภทออมทรัพย์หน้าแรกซึ่งมีชื่อและเลขที่บัญชี (กรณีขอรับเงินทางธนาคาร) ผ่านทางบัญชีธนาคารของผู้จัดการศพ
กรณีขอรับเงินสงเคราะห์
แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีตาย (สปส. 2-01)
สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มีสิทธิรับเงินสงเคราะห์
สำเนาทะเบียนสมรสของผู้ประกันตนและของบิดามารดาของผู้ประกันตน (ถ้ามี)
สำเนาสูติบัตรของบุตร หรือ สำเนาทะเบียนบ้านของบุตรกรณีไม่มีสูติบัตร
หนังสือระบุให้เป็นผู้มีสิทธิได้รับเงินสงเคราะห์กรณีตาย (ถ้ามี)
นอกจากที่สำนักงานประกันสังคมจะจ่ายเงินให้ในกรณี ผู้ประกันตนถึงแก่ความตายอันมิใช่เนื่องจากการทำงานแล้ว สำนักงานประกันสังคมก็มีการจ่ายเงินทดแทนในกรณีที่ผู้ประกันตนถึงแก่ความทายอันเนื่องมาจากการทำงาน เพียงแต่หลักเกณฑ์และเงื่อนไขไม่เหมือนกัน ผู้ที่สนใจสามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมได้จากเว็บสำนักงานประกันสังคม www.sso.go.th หรือโทรสายด่วน ที่ 1506
ที่มา: https://www.sso.go.th/wpr/main/service/%E 0%B8%81%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%97%E0%B8%B8%E0%B8%99%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%A1_detail_detail_1_125_693/231_231
หากเราตาย อยากจะทำเรื่องยกเงินสมทบประกันสังคมให้ผู้อื่น ที่มิใช่บิดา มารดา สามารถขอแบบฟอร์มเพื่อกรอกข้อมูลได้ที่ไหนคะ แล้วต้องดำเนินการอย่างไรบ้าง ขอรายละเอียดหน่อยค่ะ
หากเราตาย อยากจะทำเรื่องยกเงินสมทบประกันสังคมให้ผู้อื่น ที่มิใช่บิดา มารดา สามารถขอแบบฟอร์มเพื่อกรอกข้อมูลได้ที่ไหนคะ แล้วต้องดำเนินการอย่างไรบ้าง ขอรายละเอียดหน่อยค่ะ
กรณี ต้องการ ยกเงินสงเคราะห์กรณีตาย ให้กับบุคคลใด สามารถขอแบบฟอร์ม ได้จากสำนักงานประกันสังคม ได้ทุกแห่ง หรือจะดาวน์โหลด แบบฟอร์ม แบบหนังสือระบุให้เป็นผู้มีสิทธิรับเงินสงเคราะห์กรณีตาย ได้จากเว็บสำนักงานประกันสังคม โดยผู้ประกันตน กรอกรายละเอียดให้ครบ และเก็บไว้ที่ตนเอง หรือจะให้ผู้มีสิทธิรับเงิน เป็นคนเก็บก็ได้
ต้องการทราบรายละเอียด เพิ่มเติม สามารถสอบถามได้ ที่สายด่วนประกันสังคม 1506 ติดต่อได้ 24 ชั่วโมงค่ะ