Forum

ภาษีเงิน หัก ณ ที่จ...
 
แบ่งปัน:
การแจ้งเตือน
ลบทั้งหมด

ภาษีเงิน หัก ณ ที่จ่าย คือไร และเกี่ยวข้องกับใครกันบ้างนะ

1 โพสต์
1 ผู้ใช้
0 Reactions
3 เข้าชม
(@neeracha)
Eminent Member
เข้าร่วม: 6 ปี ที่ผ่านมา
กระทู้: 16
หัวข้อเริ่มต้น  

ภาษีเงิน หัก ณ ที่จ่าย คือไร และเกี่ยวข้องกับใครกันบ้างนะ

          วันนี้จะมาเล่าเกี่ยวกับ ภาษีหัก ณ ที่จ่าย ว่าเกี่ยวข้องกับใครบ้าง ใครมีหน้าที่ต้องหักภาษีแล้วนำส่งกรมสรรพากร และใครบ้าง ที่ต้องถูกหัก และมีวิธีการคิดคำนวนอย่างไร

ภาษีเงินได้ หัก ณ ที่จ่าย ตามที่กรมสรรพากร นิยามไว้ คือ การจัดเก็บภาษีล่วงหน้ากำหนดให้ผู้จ่ายเงินได้มีหน้าที่หักภาษีจากเงินที่จ่ายให้แก่ผู้รับทุกครั้งที่จ่าย ซึ่งการหักภาษีต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนด หลังจากนั้นให้นำเงินส่งกรมสรรพากร

แบบ ภาษีเงินได้ หัก ณ ที่จ่าย ที่ใช้กันบ่อย ๆ ได้แก่ ภ.ง.ด.1, ภ.ง.ด.1ก, ภ.ง.ด.3 และ ภ.ง.ด.53 ซึ่งแต่แบบฟอร์ม ใช้ในกรณีไม่เหมือนกัน

          ภ.ง.ด.1 และ ภ.ง.ด.1ก ใช่ต่างกันอย่างไร

ภ.ง.ด.1 แบบยื่นรายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ใช้สำหรับการหักภาษี ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 50(1) แห่งประมวลรัษฎากร กรณีการจ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(1)และ(2) แห่งประมวลรัษฎากร

อธิบายแบบบ้านว่า นายจ้าง ที่จ่ายเงินเดือน ให้กับลูกจ้าง (เงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(1)และ(2) แห่งประมวลรัษฎากร) ซึ่งมีหน้าที่ต้องหัก ภาษีจากเงินค่าจ้าง/เงินเดือนของลูกจ้างไว้ จากนั้นกรอกแบบฟอร์ม ภงด.1 และนำเงินส่งสรรพากร ภายใน7วัน นับตั้งแต่วันที่จ่ายเงิน

วิธีการคำนวณ การหัก ภาษีณ ที่จ่าย ในกรณีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (1) และ (2) ให้คูณเงินได้พึงประเมินที่จ่ายด้วยจำนวนคราวที่จะต้องจ่าย เพื่อให้ได้จำนวนเงินเสมือนหนึ่งว่าได้จ่ายทั้งปี แล้วคำนวณภาษีตามเกณฑ์ในมาตรา 48 เป็นเงินภาษีทั้งสิ้นเท่าใดให้หารด้วยจำนวนคราวที่จะต้องจ่าย ได้ผลลัพธ์เป็นเงินเท่าใดให้หักเป็นเงินภาษีไว้เท่านั้น

ภ.ง.ด.1ก แบบยื่นรายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 58 แห่งประมวลรัษฎากร ใช้สำหรับแสดงรายการเกี่ยวกับเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(1) และ (2) แห่งประมวลรัษฎากร

ตามมาตรา 58 ภายในเดือนมกราคมทุก ๆ ปี กำหนดให้ นายจ้างยื่นแบบแสดงรายการจ่ายเงินได้แสดงรายการเกี่ยวกับเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(1) (2) และ (4)

สรุปคือ ภ.ง.ด.1และ ภ.ง.ด.1ก เหมือนกันคือ ใช้สำหรับแสดงรายการเกี่ยวกับเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(1) และ (2) แห่งประมวลรัษฎากร ส่วนที่ต่างกันคือ แบบยื่นรายการ ภ.ง.ด.1 เป็นแบบที่นายจ้าง เป็นผู้กรอก และนำเงินที่หัก ภาษี ของลูกจ้างไว้ นำส่ง กรมสรรพากร ภายใน 7วัน นับตั้งแต่วันที่จ่ายเงิน ส่วน ภ.ง.ด.1ก เป็นแบบแสดงรายการที่นายจ้างสรุปรายการจ่ายเงินและยอดภาษีที่หักไว้ ทั้งปียื่น ต่อ กรมสรรพากร ภายในเดือนมกราคม ในปีถัดไป

ภ.ง.ด .3 และ ภ.ง.ด.53 ใช้ต่างกันอย่างไร

ภ.ง.ด.3 แบบยื่นรายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ใช้สำหรับการหักภาษี ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 3 เตรส และมาตรา 50 (3)(4) และ (5) แห่งประมวลรัษฎากร กรณีการจ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(5) (6) (7) และ (8)แห่งประมวลรัษฎากร

ภ.ง.ด.53 แบบยื่นรายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 3 เตรส และมาตรา 69 ทวิ และการเสียภาษี

          สรุป ภ.ง.ด.3 และ ภ.ง.ด.53 เหมือนกันคือ ใช้สำหรับแสดงรายการเกี่ยวกับเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(5)- (8) แห่งประมวลรัษฎากรซึ่งผู้ที่มีหน้าที่หัก ภาษี ณ ที่จ่าย ต้องนำส่งภาษี ภายใน7 วันนับตั้งแต่สิ้นเดือนที่จ่าย ส่วนที่ต่างกันคือ แบบ ภ.ง.ด.3 สำหรับกรณีผู้ถูกหักที่มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ส่วนแบบ ภ.ง.ด.53 สำหรับกรณีที่ผู้ถูกหักมีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคล

          ก่อนที่ผู้มีหน้าที่หัก ภาษี ณ ที่จ่ายไว้ จะใช้ฟอร์ม ภงด.ตัวละฟอร์มจำเป็น ต้องรู้ ว่าแต่และแบบฟอร์ม ใช้ต่างกันอย่างไร ไม่เช่นนั้น ก็จะกลายเป็นว่า นำส่ง ภาษี ไม่ต้องถูกต้อง ทั้งในเรื่องของแบบฟอร์มและระยะเวลาในการนำส่งภาษีไปด้วย

ที่มา : https://www.rd.go.th/ 3222.html

นีรชา กลิ่นพยอม

 


   
อ้างอิง
แบ่งปัน:
1,457,707 views since 16 August 2018