Forum

มาทำความรู้จักประเภ...
 
แบ่งปัน:
การแจ้งเตือน
ลบทั้งหมด

มาทำความรู้จักประเภทของผู้ประกันตน กันเถอะ

1 โพสต์
1 ผู้ใช้
0 Reactions
324 เข้าชม
IL Admin
(@il-admin)
Reputable Member Admin
เข้าร่วม: 7 ปี ที่ผ่านมา
กระทู้: 134
หัวข้อเริ่มต้น  

                หลายคนคงสงสัย เกี่ยวกับ มาตรา 33 มาตรา 39 และมาตรา 40 ของประกันสังคม  ว่าคืออะไร ตัวเองเป็นผู้ประกันตนมาตราไหน วันนี้จะมาบอกคร่าวๆกันคะ ว่าแต่ละมาตราคืออะไร  

ต้องบอกก่อนว่า กองทุนประกันสังคมนั้น มีผู้ประกันตน 3 ประเภท คือ มาตรา 33  มาตรา 39 และมาตรา 40 คะ แต่ละมาตราก็จะมีการจ่ายเงินสมทบที่ไม่เท่ากัน และสิทธิประโยชน์ ต่างกันด้วย

  1. ผู้ประกันกันตน มาตรา 33  คือ พนักงาน  ลูกจ้าง  ที่ทำงานในบริษัทเอกชน หรือ หน่วยงานของรัฐ ที่ใช้สิทธิ์ประกันสังคม ในการรักษา ซึ่งจะถูกหักจากเงินเดือน โดยนายจ้างเป็นผู้หักไว้ เพื่อนำส่งเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคม ในอัตราร้อยละ 5  ร่วมกับนายจ้างสมทบอีกร้อยละ5จากฐานเงินเดือน และรัฐบาลสมทบส่วนหนึ่ง โดยคำนวนจาก ฐานค่าจ้างขั้นต่ำตั้งแต่ 1,650บาท – สูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท  (คือจะต้องจ่ายเงินสมทบ ขั้นต่ำ 84บาท สูงสุด ไม่เกิน 750 บาท )ขึ้นอยู่กับเงินเดือนแต่ละคน ในการหัก ร้อยละ5 นี้ ก็จะได้รับการคุ้มครองด้วยกัน 7 กรณี คือ 1.กรณีเจ็บป่วย / อุบัติเหตุ 2. กรณีทุพพลภาพ 3.กรณีเสียชีวิต 4.กรณีคลอดบุตร 5.กรณีสงเคราะห์บุตร 6.กรณีชราภาพ และ7.กรณีว่างงาน
  2. ผู้ประกันตนภาคสมัครใจ มาตรา 39 คือ บุคคลที่ เคยเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 โดยนำส่งเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 12 เดือนและออกจากงานไม่เกิน 6 เดือน นับแต่วันที่ลาออกจากงาน แล้วต้องไม่เป็นผู้รับประโยชน์ทดแทนกรณีทุพพลภาพจากกองทุนประกันสังคม โดยจะต้องนำเงินส่งกองทุนประกันสังคม เดือนละ 432 บาท ทุกคน (โดยคิดจากฐานเงินเดือน 4,800 คูณอัตราเงินสมทบ 9% ) เพราะไม่มีนายจ้างสมทบ จะได้รับการคุ้มครองด้วยกัน 6 กรณี คือ 1.กรณีเจ็บป่วย / อุบัติเหตุ 2. กรณีทุพพลภาพ 3.กรณีเสียชีวิต 4.กรณีคลอดบุตร 5.กรณีสงเคราะห์บุตร และ 6.กรณีชราภาพ  ไม่คุ้มครองครองกรณีว่างงาน

      3.ผู้ประกันตนภาคสมัครใจ (มาตรา 40) คือ บุคคลที่ไม่เป็นลูกจ้าง ตามมาตรา 33 และไม่เป็นผู้ประกันมาตรา39  ซึ่งผู้ประกันตนมาตรา 40 นั้น มี3 ทางเลือก ในการส่งเงิน             สมทบ สิทธิ์การคุ้มครองก็ต่างกัน

- ทางเลือกที่1 จ่ายเงินสมทบเดือนละ 70 บาท ความคุ้มครองที่ได้รับ . 1.กรณีเจ็บป่วย / อุบัติเหตุ การรักษา ใช้บัตรทองแต่ สามารถเบิก เงินทดแทนการขาดรายได้ 2.กรณีทุพพลภาพจะมีการจ่ายเงินทดแทนการขาดรายได้ 3.ได้รับเงินค่าทำศพ 20,000 บาทให้กับผู้จัดการศพ

- ทางเลือกที่ 2 จ่ายเงินสมทบเดือนละ 100 บาท ความคุ้มครองที่ได้รับ1.กรณีเจ็บป่วย / อุบัติเหตุ การรักษา ใช้บัตรทองแต่แต่ สามารถเบิก เงินทดแทนการขาดรายได้  2.กรณีทุพพลภาพจะมีการจ่ายเงินทดแทนการขาดรายได้ 3.ได้รับเงินค่าทำศพ 20,000 บาทให้กับผู้จัดการศพ 4.ได้รับเงินบำเหน็จชราภาพ เดือนละ 50 บาท(กรณีอายุครบ 60ปี และสิ้นสุดการเป็นผู้ประกันตน)

- ทางเลือกที่3 จ่ายเงินสมทบเดือนละ 150 บาท ความคุ้มครองที่ได้รับ 1.กรณีเจ็บป่วย / อุบัติเหตุ การรักษา ใช้บัตรทองแต่แต่ สามารถเบิก เงินทดแทนการขาดรายได้  2.กรณีทุพพลภาพจะมีการจ่ายเงินทดแทนการขาดรายได้ 3. ได้รับเงินค่าทำศพ 40,000 บาทให้กับผู้จัดการศพ 4.ได้รับเงินบำเหน็จชราภาพ เดือนละ 150 บาท(กรณีอายุครบ 60ปี และสิ้นสุดการเป็นผู้ประกันตน)  5กรณีเงินสงเคราะห์บุตรคนละ 200/เดือน

สามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เว็บประกันสังคม https://www.sso.go.th หรือโทรสายด่วนได้ที่ 1506

 

 

เรื่องโดย นีรชา กลิ่นพยอม สถาบันนวัตกรรมการเรียนรู้ ม.มหิดล


   
อ้างอิง
แบ่งปัน:
1,396,364 views since 16 August 2018