Forum

ระดับสมรรถนะมาตรฐาน...
 
แบ่งปัน:
การแจ้งเตือน
ลบทั้งหมด

ระดับสมรรถนะมาตรฐานวิชาชีพอาจารย์ตามกรอบ United Kingdom Professional Standards Framework (UKPSF) - ตอนที่ 2

1 โพสต์
1 ผู้ใช้
0 Reactions
16 เข้าชม
(@chantarat-hir)
Eminent Member
เข้าร่วม: 6 ปี ที่ผ่านมา
กระทู้: 8
หัวข้อเริ่มต้น  

ระดับสมรรถนะมาตรฐานวิชาชีพอาจารย์ตามกรอบ United Kingdom Professional Standards Framework (UKPSF) - ตอนที่ 2

        สำหรับบทความนี้จะเป็นเนื้อหา “ตอนที่ 2” สืบเนื่องจากบทความ ระดับสมรรถนะมาตรฐานวิชาชีพอาจารย์ตามกรอบ United Kingdom Professional Standards Framework (UKPSF) - ตอนที่ 1” โดยบทความฯ (ตอนที่ 2) มีรายละเอียดเกี่ยวกับเกณฑ์การแบ่งระดับของผู้รับการขอรับรองสมรรถนะโดย Advance HE แบ่งเป็น 4 ระดับ ดังนี้

  • ระดับที่ 1 Associate Fellow (AF)
  • ระดับที่ 2 Fellow (F)
  • ระดับที่ 3 Senior Fellow (SF)
  • ระดับที่ 4 Principle Fellow (PF)

        ในการจัดฝึกอบรมและประเมินคุณภาพการสอนของบุคลากรทางการศึกษาหรืออาจารย์ระดับอุดมศึกษามีข้อกำหนดคุณลักษณะของผู้ผ่านการประเมิน (Descriptors) แบ่งออกเป็น 4 ระดับ ดังกล่าวข้างต้น ซึ่งผู้ผ่านการประเมินจะต้องเขียนและแสดงให้เห้นถึงความรู้ความเข้าใจในการจัดการเรียนการสอนอย่างมีประสิทธิภาพ และสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการทำให้เกิดการเรียนรู้ที่มีคุณภาพของผู้เรียนให้มีคุณภาพสูงขึ้น สรุปรายละเอียดตามกรอบมาตรฐานวิชาชีพอาจารย์ UKPSF ที่รับรองโดย Advance HE สำหรับผู้รับการขอรับรองสมรรถนะเป็น 4 ระดับ ดังนี้

ระดับวิทยฐานะ

กลุ่มเป้าหมาย

ข้อกำหนดคุณลักษณะ (Descriptor)

Associate Fellow

(D1)

  • นักวิจัยที่ต้องมีส่วนร่วมในการสอน เช่น นักศึกษาปริญญาเอก นักวิจัยหลังปริญญาเอก นักวิจัย
  • อาจารย์ใหม่ที่ไม่มีประสบการณ์การสอน
  • บุคลากรสนับสนุนการเตรียมงานวิชาการ เช่น นักเทคโนโลยีสนับสนุนการเรียนรู้ เจ้าหน้าที่ห้องสมุด นักพัฒนาทรัพยากรการเรียนรู้ เจ้าหน้าที่เทคนิค/บุคลากรช่วยสอนที่มีหน้าที่เกี่ยวกับการสาธิต
  • นักวิชาการที่มีประสบการณ์ตามสาขาวิชาชีพ ซึ่งใหม่ต่อการสอนและ/หรือสนับสนุนการเรียนรู้

Descriptor 1: เป็นผู้แสดงให้เห็นถึงความเข้าใจในการจัดการเรียนการสอนอย่างมีประสิทธิภาพ รู้ถึงวิธีหรือเครื่องมือที่ช่วยสนับสนุนการเรียนรู้

  • มีผลสำเร็จในมิติด้านกิจกรรม (Area of Activity) อย่างน้อย 2 ข้อ ใน 5 ข้อ (A1-A5)
  • มีความรู้และความเข้าใจในมิติด้านความรู้หลัก (Core Knowledge) อย่างน้อยในเรื่องสาระรายวิชา (K1) และวิธีการสอน การเรียนรู้ของผู้เรียน และการประเมินผลที่เหมาะสมทั้งในระดับรายวิชาและระดับหลักสูตร (K2)

Fellow

(D2)

  • นักวิชาการใหม่
  • นักวิชาการและ/หรือผู้สนับสนุนที่มีภาระงานหลักด้านการเรียนการสอน
  • นักวิชาการที่มีประสบการณ์ทางวิชาชีพ แต่ยังใหม่ต่อระดับอุดมศึกษา
  • อาจารย์ที่มีภาระงานหลักเน้นด้านการเรียนการสอน

Descriptor 2: เป็นผู้มีความเข้าใจอย่างดีในวิธีการจัดการเรียนการสอนและสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการทำให้เกิดการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพของผู้เรียน

  • มีผลสำเร็จในมิติด้านกิจกรรม (Area of Activity) ทั้ง 5 ข้อ (A1-A5)
  • มีความรู้และความเข้าใจที่ถูกต้องในส่วนของมิติด้านความรู้หลัก (Core Knowledge) ทั้ง 6 ข้อ (K1-K6)
  • ให้ความสำคัญต่อมิติด้านค่านิยมทางวิชาชีพ (Professional Values) ทั้ง 4 ข้อ (V1-V4)

Senior Fellow

(D3)

  • อาจารย์ที่มีประสบการณ์สูง ที่สามารถแสดงสร้างผลกระทบ และเป็นแบบอย่าง เป็นผู้นำ หรือมีความรับผิดชอบในการนำ หรือบริหารจัดการรายวิชา และ/หรือหลักสูตร
  • อาจารย์พี่เลี้ยงที่มีประสบการณ์ มีหน้าที่ให้คำปรึกษาอาจารย์ใหม่
  • อาจารย์ที่มีประสบการณ์สูง ที่มีหน้าที่ให้คำปรึกษาด้านการสอนและสนับสนุนการเรียนรู้ในระดับสถาบัน

Descriptor 3: เป็นผู้มีความเข้าใจอย่างลึกซึ้งในวิธีการจัดการเรียนการสอน ตลอดจนสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการทำให้เกิดการเรียนรู้ที่มีคุณภาพของผู้เรียน

  • มีผลสำเร็จในมิติด้านกิจกรรม (Area of Activity) ทั้ง 5 ข้อ (A1-A5)
  • มีความรู้และความเข้าใจที่ถูกต้องในส่วนของมิติด้านความรู้หลัก (Core Knowledge) ทั้ง 6 ข้อ (K1-K6)
  • ให้ความสำคัญต่อมิติด้านค่านิยมทางวิชาชีพ (Professional Values) ทั้ง 4 ข้อ (V1-V4)
  • มีผลสำเร็จในการประสานงาน การสนับสนุน การดูแลและให้คำแนะนำ การบริหารจัดการ และ/หรือการเป็นที่ปรึกษาหรือพี่เลี้ยงด้านการเรียนการสอนและการเรียนรู้ให้กับผู้อื่นทั้งแบบรายบุคคลหรือกลุ่ม

Principal Fellow

(D4)

  • อาจารย์ที่มีประสบการณ์สูงยิ่ง และ/หรืออาจารย์อาวุโสที่มีความรับผิดชอบในวงกว้าง หรือเป็นผู้นำการวางแผนกลยุทธ์ด้านการสอนและสนับสนุนการเรียนรู้
  • อาจารย์ที่รับผิดชอบต่อความเป็นผู้นำด้านกลยุทธ์ของสถาบันและการวางนโยบายด้านการเรียนการสอน
  • อาจารย์ที่ทำให้เกิดผลกระทบเชิงกลยุทธ์เกี่ยวกับการสอนและการเรียนรู้ ในวงกว้างและมีอิทธิพลต่อสถาบันการศึกษาอื่น

Descriptor 4: เป็นผู้ที่แสดงให้เห็นถึงความเป็นผู้นำในระดับนโยบายด้านการศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งในเชิงปฏิบัติและการพัฒนาด้านการศึกษา ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียนให้มีคุณภาพสูงขึ้น

  • มีผลสำเร็จในทุกมิติของกรอบสมรรถนะวิชาชีพ (A1-5, K1-6, V1-4) โดยทำงานร่วมกับผู้เรียน ผู้ร่วมงาน และการพัฒนาองค์กร
  • มีผลสำเร็จในการเป็นผู้นำด้านนโยบายในการส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียน ในระดับสถาบัน และ/หรือระดับชาติ/นานาชาติ
  • มีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายขององค์กรและ/หรือกลยุทธ์ที่มีประสิทธิภาพในการสนับสนุน ส่งเสริม ผู้อื่นที่ทำให้คุณภาพการสอนสูงขึ้น รวมทั้งการสนับสนุนการเรียนรู้
  • มีผลสำเร็จในการบริหารจัดการภายในสถาบัน และ/หรือสูงกว่า ที่ทำให้เกิดผลสำเร็จดียิ่งในการปฏิบัติทางวิชาการ
  • มีผลสำเร็จอย่างยั่งยืน และต่อเนื่องในการพัฒนาทางวิชาชีพด้านการเรียนการสอน การบริหารสถาบัน และ/หรือการปฏิบัติในวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง

        สรุปภาพรวมผู้รับการขอรับรองสมรรถนะในแต่ละประเภท คือ ระดับที่ 1 Associate Fellow จะเป็น Descriptor1 หรือเรียกว่า D1 ต้องเขียนและอ้างอิงให้สอดคล้องตาม Descriptor ในมิติด้านกิจกรรม (Area of Activity) อย่างน้อย 2 ข้อ ใน 5 (A1-A5) และในมิติด้านความรู้หลัก (Core Knowledge) อย่างน้อยใน K1 และ K2 สำหรับระดับที่ 2 Fellow (D2), ระดับที่ 3 Senior Fellow (D3) และระดับที่ 4 Principal Fellow (D4) ซึ่งเป็นระดับสูงสุด จะต้องเขียนและอ้างอิงให้สอดคล้องตาม Descriptor ให้ครบทั้งหมดในมิติหลัก (3 มิติ) และมิติย่อย (15 มิติ) ดังกล่าว

 

(โปรดติดตามอ่านบทความครั้งถัดไปเกี่ยวกับเกณฑ์ UKPSF ในปี 2011 และ 2023)


เอกสารอ้างอิง (References)

Advance HE. (2019, 9 October). The UK Professional Standards Framework for teaching and supporting learning in higher education 2011.

        https://www.advance-he.ac.uk/knowledge-hub/uk-professional-standards-framework-ukpsf-2011

บุญทิพย์ สิริธรังศรี. (2563). การจัดการเรียนการสอนออนไลน์สู่กรอบมาตรฐานวิชาชีพการสอนและสนับสนุนการเรียนรู้ระดับอุดมศึกษา. วารสารวิชาการราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์, 2(3), 1-17.

        https://he02.tci-thaijo.org/index.php/jcra/article/view/241595/164964

วิจิตร ศรีสอ้าน. (2562, มกราคม). ความเป็นครูมืออาชีพระดับอุดมศึกษา [เอกสารบรรยาย]. มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์, นครศรีธรรมราช.

        https://cte.wu.ac.th/backEnd/myfile/attUKPSF/ 02-Vijhit.pdf


น.ส.จันทรัตน์ หิรัญกิจรังษี

นักวิเคราะห์นโยบายและแผน

สถาบันนวัตกรรมการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยมหิดล


   
อ้างอิง
แบ่งปัน:
1,482,788 views since 16 August 2018