Forum

ระบบการจัดหมวดหมู่ห...
 
แบ่งปัน:
การแจ้งเตือน
ลบทั้งหมด

ระบบการจัดหมวดหมู่หนังสือของหอสมุดรัฐสภาอเมริกัน (Library of Congress Classification)

1 โพสต์
1 ผู้ใช้
0 Reactions
6,169 เข้าชม
(@natthasit-n)
Eminent Member
เข้าร่วม: 2 ปี ที่ผ่านมา
กระทู้: 12
หัวข้อเริ่มต้น  

ระบบการจัดหมวดหมู่หนังสือของหอสมุดรัฐสภาอเมริกัน หรือ Library of Congress Classification (LCC) เป็นระบบการจัดหมวดหมู่หนังสือที่นิยมในห้องสมุดขนาดใหญ่ที่มีหนังสือเฉพาะสาขาอย่างเป็นระบบ โดยมีลักษณะการแบ่งหมวด (Classes) โดยใช้อักษรตัวพิมพ์ใหญ่ A – Z จำนวน 1 - 2 ตัวอักษร ตามด้วยหมายเลขที่จำแนกตามหัวข้อย่อย (Subclass) และอาจตามด้วยจุดทศนิยมเพื่อจำแนกรายละเอียดในประเด็นย่อยหรือเรื่องย่อยจำเพาะ ทั้งนี้ หมวดหมู่ตัวอักษรที่ใช้จำแนกสาขาวิชาในระบบ LCC มีรายละเอียดดังนี้

หมวด A - ความรู้ทั่วไป (General Works)

หมวด B - ปรัชญา จิตวิทยา ศาสนา (Philosophy, Psychology, Religion)

หมวด C - ศาสตร์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องประวัติศาสตร์ (Auxiliary Sciences of History)

หมวด D - ประวัติศาสตร์ (World History And History Of Europe, Asia, Africa, Australia, New Zealand, Etc.)

หมวด E และ F - ประวัติศาสตร์อเมริกา (History of the Americas)

หมวด G - ภูมิศาสตร์ มานุษยวิทยา นันทนาการ (Geography, Anthropology, Recreation)

หมวด H - สังคมศาสตร์ (Social Sciences)

หมวด J - รัฐศาสตร์ (Political Science)

หมวด K - กฎหมาย (Law)

หมวด L - การศึกษา (Education)

หมวด M - ดนตรี (Music and Books on Music)

หมวด N - วิจิตรศิลป์ (Fine Arts)

หมวด P - ภาษาศาสตร์ วรรณกรรม (Language & Literature)

หมวด Q - วิทยาศาสตร์ (Science)

หมวด R - แพทยศาสตร์ (Medicine)*

หมวด S - เกษตรศาสตร์ (Agriculture)

หมวด T - เทคโนโลยี (Technology)

หมวด U - วิทยาการทหาร (Military Science)

หมวด V - นาวิกศาสตร์ (Naval Science)

หมวด Z - บรรณานุกรม บรรณารักษศาสตร์ ทรัพยากรสารสนเทศ (Bibliography, Library, Information Resources)

*ทั้งนี้ ในบางห้องสมุด หมวดตัวอักษร W อาจมีการเปลี่ยนไปใช้การจัดหมวดหมู่แบบห้องสมุดด้านการแพทย์เอ็นแอลเอ็ม หรือ NLM (National Library of Medicine classification) แทน เพื่อหลีกเลี่ยงความสับสนในการใช้หมวดตัวอักษร W ในระบบ LC จึงย้ายหมวด W ไปอยู่ในหมวด R (Medicine) แทน


เมื่อมีการจำแนกตามกลุ่มสาขาวิชาเป็นหมวดหลัก จะมีการจำแนกหัวข้อย่อย (Subclass)
ในสาขาวิชานั้น ๆ โดยการเติมตัวอักษรตัวที่ 2 ต่อจากตัวอักษรตัวแรก ตัวอย่างเช่น

หมวด A - ความรู้ทั่วไป (General Works)

หมวดหมู่ย่อย AC – ประชุมบทนิพนธ์ ชุด งานที่รวบรวมไว้

หมวดหมู่ย่อย AE – สารานุกรม

หมวดหมู่ย่อย AG – พจนานุกรมและงานอ้างอิงทั่วไปอื่น

หมวดหมู่ย่อย AI – ดัชนี

หมวดหมู่ย่อย AM – พิพิธภัณฑ์ ผู้สะสมและการสะสม

หมวดหมู่ย่อย AN – หนังสือพิมพ์

หมวดหมู่ย่อย AP – วารสาร

หมวดหมู่ย่อย AS – สำนักวิชาและสมาคมวิชาการ

หมวดหมู่ย่อย AY – หนังสือรายปี กาลานุกรม สารบบ

หมวดหมู่ย่อย AZ – ประวัติศาสตร์วิชาการและการเรียนรู้ มนุษยศาสตร์

หมวด B - ปรัชญา จิตวิทยา ศาสนา (Philosophy, Psychology, Religion)

หมวดหมู่ย่อย BF จิตวิทยา

หมวดหมู่ย่อย BH สุนทรียศาสตร์

หมวดหมู่ย่อย BJ จริยศาสตร์

หมวดหมู่ย่อย BL ศาสนา ปรัมปราวิทยา เหตุผลนิยม

เมื่อมีการจำแนกตามกลุ่มสาขาวิชาเป็นหมวดหลัก จะมีการจำแนกหัวข้อย่อยด้วย "ตัวเลขอารบิค ตั้งแต่เลข 1 - 9" ตัวอย่างเช่น 

LB5 - 3640 ทฤษฎีและการปฏิบัติทางการศึกษา (Theory and Practice in Education)

LA5 - 2396 ประวัติศาสตร์การศึกษา (History of education)

และอาจตามด้วยจุดทศนิยมเพื่อจำแนกรายละเอียดในประเด็นย่อย เรื่องย่อยจำเพาะ เช่น

TD169 - 171.8  การปกป้องสภาพแวดล้อม (Environmental protection)

TD172 - 193.5  มลพิษทางสภาพแวดล้อม (Environmental pollution)

การจัดเก็บทรัพยากรสารสนเทศที่มีจำนวนมากอย่างเป็นระบบสากล ทำให้ผู้ให้บริการและผู้ใช้บริการสามารถสืบค้นและเข้าถึงสารสนเทศที่ต้องการได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว


แหล่งอ้างอิงข้อมูล (References)

เว็บไซต์ https://www.loc.gov/

เว็บไซต์ http://www.libraryhub.in.th/2010/08/05/i-o-w-x-y-and-library-of-congress-classification/

เว็บไซต์ https://arit.dusit.ac.th/lc.html

เว็บไซต์ http://clmmanual.wu.ac.th/workmanual/node/916


   
อ้างอิง
แบ่งปัน:
1,421,912 views since 16 August 2018