รู้หรือไม่ว่า จ่ายเงินสมทบประกันสังคม 5%ในแต่ละเดือน เขาแบ่งดูแลเรื่องอะไรบ้าง
มนุษย์เงินเดือน หรือ ลูกจ้าง ที่มีนายจ้าง ไม่ว่าจะได้รับค่าจ้าง เป็น รายวัน รายเดือนนั้น ทั้งนายจ้างและลูกจ้างก็มีหน้าที่ต้องนำส่งเข้ากองทุนประกันสังคม และมีรัฐบาลสมทบอีกส่วนหนึ่ง ซึ่งสำนักงานประกันสังคม เรียกว่า ลูกจ้างประเภทนี้ว่า ผู้ประกันตน มาตรา 33 ซึ่งหลักเกณฑ์การคำนวนเงินที่ต้องนำส่งเข้ากองทุนประกันสังคมนั้น สำนักงานประกันสังคมได้กำหนด ฐานค่าจ้าง ต่ำสุดไว้ที่ 1,650 บาท (หมายถึงว่าในเดือนนั้น ๆ คุณจะได้ค่าจ้างน้อยกว่า 1,650 บาท แต่ฐานค่าจ้างที่นำมาคำนวนก็คือ 1,650 บาท เช่นในเดือนนี้ คุณได้ค่าจ้าง 1,000 บาท และสำนักงานประกันสังคม กำหนดว่าเดือนนนี้ต้องจ่ายเข้ากองทุน 5% คุณก็ต้องนำส่ง ที่ยอด 83 บาท (1,680 x 5%)) ส่วนฐานค่าจ้างสูงสุดในการคำนวน คือ 15,000 บาท (หมายถึงว่าในเดือนนั้น ๆ คุณจะได้ค่าจ้างมากกว่า 15,000 บาท แต่ฐานค่าจ้างที่นำมาคำนวนก็คือ 15,000 บาท เช่นในเดือนนี้ คุณได้ค่าจ้าง 20,000 บาท และสำนักงานประกันสังคม กำหนดว่าเดือนนี้ต้องจ่ายเข้ากองทุน 5% คุณก็ต้องนำส่ง ที่ยอด 750 บาท (15,000 x 5%))
สรุปว่า กรณีสำนักงานประกันสังคม กำหนดว่า ในเดือนนั้นๆ ต้องนำส่ง เข้ากองทุนประกันสังคม 5%ของฐานค่าจ้าง ขั้นต่ำที่คุณและนายจ้าง จะต้องนำส่งคือ 83 บาทและสูงสุด ไม่เกิน 750 บาท ขึ้นอยู่กับฐานค่าจ้างที่คุณได้รับ แต่ก็ มีบางเดือน ที่สำนักงานประกันสังคม ลดอัตรา การนำส่งเงินลง ซึ่งการคำนวน ก็ให้ยึดจากฐานค่าจ้างที่ได้กล่าวมาข้างต้น คูณกับอัตรา ที่สำนักงานประกันสังคมกำหนด
ลองมาดูกันว่าเงินที่นายจ้างและลูกจ้าง นำส่งเข้ากองทุนประกันสังคม 5% และส่วนที่รัฐบาลสมทบอีก ทางสำนักงานประกันสังคม แบ่งดูแลในเรื่องอะไรบ้าง
สิทธิ์ที่ประโยชน์ |
ผู้ประกันตน |
นายจ้าง |
รัฐบาล |
เจ็บป่วย |
1.06% |
1.06% |
1.06% |
คลอดบุตร |
0.23% |
0.23% |
0.23% |
ทุพพลภาพ |
0.13% |
0.13% |
0.13% |
เสียชีวิต |
0.08% |
0.08% |
0.08% |
สงเคราะห์บุตร ชราภาพ |
3.00% |
3.00% |
1.00% |
ว่างงาน |
0.50% |
0.5% |
0.25% |
รวม |
5.00% |
5% |
2.75% |
เมื่อดูสิทธิประโยชน์จากตารางข้างบน ก็จะเห็นได้ว่า มีสิทธิประโยชน์ ที่ผู้ประกันตน มาตรา 33 จะได้รับมีอยู่หลายอย่าง ซึ่งบางคนไม่รู้ เช่น เมื่อคุณ ตกงาน คุณก็มีสิทธิ เบิกค่าว่างงานได้ ตามเงื่อนไขที่ประกันสังคมกำหนด และตอนนี้ประกันสังคม ก็มีให้เบิกค่าฝากครรภ์ได้ (บางส่วน ตามที่ประกันสังคมกำหนด ) กรณี ทันตกรรม (อุด ขูดถอนฟัน) ก็เบิกได้ปี 900 แถมนี้มีหลายแห่ง ไม่ต้องสำรองจ่าย แล้วนำไปเบิกประกันสังคม อีกด้วย และในช่วงโควิด ระบาด แบบนี้ ประกันสังคม ก็มีมาตรการช่วยเชื่อ ด้วยการให้เบิก เงินชดเชยรายได้ อีกด้วย (เงื่อนไขตามที่ประกันสังคมกำหนด ) อยากให้ผู้ประกันตน ได้ศึกษา สิทธิประโยชน์ต่างๆ เพื่อที่จะได้รับสิทธิประโยชน์ ที่ควรจะได้รับ เพราะบางท่านไม่รู้ก็จะปล่อยผ่านไป โดยที่ไม่รู้ ว่าสามารถเบิกได้
ที่มา www.sso.go.th
โดย นีรชา กลิ่นพยอม