Forum

วิตามินกินตอนไหนดี
 
แบ่งปัน:
การแจ้งเตือน
ลบทั้งหมด

วิตามินกินตอนไหนดี

1 โพสต์
1 ผู้ใช้
0 Reactions
4,809 เข้าชม
(@anongnat-patthanasaksiri)
Trusted Member
เข้าร่วม: 6 ปี ที่ผ่านมา
กระทู้: 25
หัวข้อเริ่มต้น  
  • วิตามินซี (Vitamin C) 
    • ประโยชน์: เป็นวิตามินชนิดที่ละลายน้ำที่มนุษย์ไม่สามารถสังเคราะห์เองได้ โดยประโยชน์ของวิตามินซีมีมากมาย
      • เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ
      • มีส่วนช่วยกระตุ้นการทำงานของเม็ดเลือดขาว
      • ช่วยซ่อมแซมเซลล์ที่สึกหรอจากอนุมูลอิสระในร่างกาย
      • ช่วยในการเจริญเติบโตของเนื้อเยื่อในร่างกาย
      • ฟื้นฟูร่างกายหลังจากออกกำลังกาย เพราะช่วยลดการอักเสบของกล้ามเนื้อ
      • รักษาและป้องกันโรคลักปิดลักเปิด หรือเลือดออกตามไรฟัน
      • ช่วยลดอาการภูมิแพ้
      • ช่วยดูดซึมแร่ธาตุบางชนิดได้ดีขึ้น เช่น ธาตุเหล็ก
      • ทำให้แผลหายเร็วขึ้น
      • ช่วยสร้างคอลลาเจน
      • บำรุงผิวพรรณ และดีต่อสุขภาพผู้หญิง
    • เวลาที่ควรกิน:
      • เด็ก อายุไม่ถึง 15 ปี ต้องการวิตามินซี 30-50 มิลลิกรัมต่อวัน แต่ก็สามารถกินเพิ่มได้ถึง 100-200 มิลลิกรัมต่อวัน ไม่ควรเกิน 400 มิลลิกรัมต่อวัน
      • อายุ 15 ปีขึ้นไป ควรได้รับวิตามินซี 75-90 มิลลิกรัมต่อวัน แต่ก็สามารถกินเพิ่มได้ถึง 1,000-2,000 มิลลิกรัมต่อวัน ในกรณีที่ต้องการป้องกันหรือรักษาโรคบางชนิด เช่น หวัด หรือเลือดออกตามไรฟัน
      • ควรกินพร้อมอาหารหรือหลังอาหารจะดีที่สุด
      • แบ่งกินวิตามินซีครั้งละ 500 มิลลิกรัม วันละ 2-6 เม็ด จนครบขนาดที่แนะนำ เพราะวิตามินซีมีจุดอิ่มตัวในการดูดซึม ร่างกายเราจะดูดซึมวิตามินซีในปริมาณน้อย ๆ ได้ดีกว่าปริมาณมาก
  • วิตามินบี (Vitamin B)  
    • ประโยชน์: เป็นวิตามินชนิดที่ละลายในน้ำ และวิตามินบีแต่ละชนิดมีประโยชน์ดังนี้
      • วิตามิน B1 มีหน้าที่เผาผลาญน้ำตาลที่เรารับประทานเข้าไปให้เกิดเป็นพลังงาน ช่วยป้องกันโรคโลหิตจาง และโรคเหน็บชา ช่วยบำรุงประสาท กล้ามเนื้อ ช่วยให้หัวใจทำงานเป็นปกติ หากร่างกายขาดวิตามิน B1 จะทำให้อ่อนเพลีย ชาตามนิ้วมือ นิ้วเท้า และส่งผลเสียต่อกล้ามเนื้อหัวใจ
      • วิตามินบี B2 มีประโยชน์ในเด็กที่กำลังเจริญเติบโต ป้องกันการเกิดแผลในช่องปาก รวมถึงโรคปากนกกระจอก ช่วยป้องกันการเกิดไมเกรน ทำให้ผิวหนัง เล็บ เส้นผมมีสุขภาพดี และลดการเกิดมะเร็งหลอดอาหาร
      • วิตามินบี B3 ช่วยเผาผลาญอาหาร ทำให้เกิดพลัง และสร้างไขมันในร่างกาย ช่วยทำลายสารพิษจากควันบุหรี่ มลพิษ รักษาภาวะเครียด และช่วยการไหลเวียนของเลือด
      • วิตามิน B5 มีความจำเป็นต่อการทำงานของสมอง ช่วยเรื่องการนอนหลับ และควบคุมสมดุลเกลือแร่ในร่างกาย บรรเทาอาการข้ออักเสบ ลดระดับคอเลสเตอรอล และไตรกลีเซอไรด์
      • วิตามิน B6 จำเป็นต่อการทำงานของระบบประสาทและสมอง เสริมสร้างภูมิต้านทานของร่างกายให้แข็งแรง ช่วยชะลอวัย และมีหน้าที่สำคัญเรื่องการเผาผลาญโปรตีนในร่างกาย ช่วยปรับสภาพผิวหนังให้เป็นปกติ
      • วิตามิน B7 ช่วยป้องกันผมหงอก รักษาโรคเกี่ยวกับเส้นผม และหนังศีรษะ บำรุงรักษาเล็บที่แห้งเปราะ ช่วยในการเผาผลาญไขมัน และโปรตีน บรรเทาอาการผื่นผิวหนังอักเสบ ผดผื่นคันต่าง ๆ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ
      • วิตามิน B9 ช่วยบำรุงผิวพรรณและสุขภาพ แก้ปัญหาสีผิวไม่สม่ำเสมอ ช่วยชะลอการเกิดผมขาว หากรับประทานร่วมกับพาบา และวิตามิน B5 จะช่วยให้เจริญอาหาร หากร่างกายอ่อนเพลีย ช่วยป้องกันแผลร้อนในได้ ช่วยรักษาภาวะซีดหรือโลหิตจาง ป้องกันพยาธิในลำไส้ และอาการแพ้จากอาหารเป็นพิษ ป้องกันภาวะพิการในทารกแรกเกิด ช่วยในการสร้างน้ำนมของมารดาหลังคลอดบุตร ช่วยลดระดับกรดอะมิโนโฮโมซิสเทอีนในเลือด และลดความเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจได้
      • วิตามิน B12 มีความจำเป็นต่อการสร้างเม็ดเลือด การทำงานของระบบประสาทส่วนกลาง และระบบทางเดินอาหาร ป้องกันการอ่อนเพลียจากโรคโลหิตจาง
    • เวลาที่ควรกิน
      • ควรกินในตอนเช้าขณะที่ท้องว่างจะดีที่สุด เพื่อให้ร่างกายดูดซึมได้ดี หรือถ้ากินตอนท้องว่างแล้วรู้สึกระคายเคืองกระเพาะอาหาร แนะนำให้กินระหว่างมื้ออาหารเช้า หรือหลังอาหารเช้าแทน จะช่วยกระตุ้นระบบประสาท ให้ร่างกายกระปรี้กระเปร่า พร้อมทำกิจกรรมต่าง ๆ
  • วิตามินอี (Vitamin E)  
    • ประโยชน์: เป็นหนึ่งในวิตามินที่ละลายในไขมันได้ดี ร่างกายจำเป็นต้องใช้วิตามินอีเป็นส่วนประกอบของเยื่อหุ้มเซลล์ 
      • ป้องกันการแตกของเม็ดเลือด
      • ป้องกันการอุดตันของเม็ดเลือด
      • ต่อต้านอนุมูลอิสระ
      • และป้องกันการอักเสบ
      • ช่วยรักษาโรคต่าง ๆ เช่น โรคขาดวิตามินอีในเด็ก ไปจนถึงโรคที่มีการนำวิตามินอีไปใช้นอกข้อบ่งใช้หลัก เช่น โรคปวดปลายประสาทจากการติดเชื้องูสวัด และโรคอัลไซเมอร์
    • เวลาที่ควรกิน
      • เนื่องจากวิตามินอี เป็นวิตามินที่ละลายในไขมันได้ดี ดังนั้นควรกินวิตามินอีร่วมกับอาหารที่มีไขมันเล็กน้อย เช่น นม โยเกิร์ต อัลมอนด์ ถั่วต่าง ๆ อะโวคาโด
  • วิตามินดี (Vitamin D) 
    • ประโยชน์
      • ควบคุมภาวะสมดุลของเเร่ธาตุ แคลเซียม และฟอสเฟต ซึ่งมีผลต่อกระบวนการสร้างกระดูกให้แข็งแรง
      • ลดภาวะการดื้อต่ออินซูลิน ทำให้ร่างกายสามารถใช้อินซูลินได้ดีขึ้น จึงลดอัตราการเกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ได้
      • ลดอัตราการเกิดโรคปลอกประสาทอักเสบ (MS) เเม้โรคนี้จะพบน้อยในคนไทย แต่ก็พบได้ ลักษณะของโรคมักกำเริบ กลับเป็นซ้ำได้ วิตามินดีสามารถลดการกำเริบซ้ำของโรคปลอกประสาทอักเสบได้
      • ปวดศีรษะไมเกรนที่สัมพันธ์กับรอบประจำเดือน
      • วิตามินดีช่วยให้สมองหลั่งสารเซโรโทนินมากขึ้น ช่วยลดความเครียด และภาวะซึมเศร้าได้
      • ลดอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ เส้นเอ็น และพังผืด
      • มีการศึกษาพบว่า ระดับวิตามินดีที่ต่ำ สัมพันธ์กับโรคภูมิคุ้มกันทำลายตนเอง เช่น SLE ข้ออักเสบรูมาตอยด์ และโรคข้อสันหลังอักเสบยึดติด
      • ช่วยป้องกัน และรักษาโรคจอประสาทตาเสื่อมตามอายุ
      • มีฤทธิ์ต้านการอักเสบ ปรับสมดุล และเสริมสร้างภูมิคุ้มกันในร่างกาย ทำให้ร่างกายสามารถต้านทานโรคได้มากขึ้น
      • ช่วยต้านโรคมะเร็งชนิดต่าง ๆ เช่น มะเร็งเต้านม มะเร็งต่อมลูกหมาก และมะเร็งลำไส้ใหญ่
      • เพิ่มประสิทธิภาพของการออกกำลังกาย และการเล่นกีฬา โดยเฉพาะการเล่นกีฬาที่มีความหนัก และต่อเนื่องเป็นเวลานาน เช่นวิ่งมาราธอน ไตรกีฬา
    • เวลาที่ควรกิน
      • ควรกินระหว่างมื้ออาหารเช้าหรือกลางวัน ไม่เกิน 30 นาที เนื่องจากเป็นวิตามินที่ละลายในไขมันได้ดีเช่นเดียวกัน
      • ควรหลีกเลี่ยงช่วงการกินช่วงบ่าย เนื่องจากอาจจะไปรบกวนการนอนหลับได้
  • วิตามินเอ (Vitamin A)
    • ประโยชน์
      • ช่วยให้ตาสู้แสงได้ในเวลากลางวัน
      • รักษาอาการโรคตาฟาง หรือตาบอดในเวลากลางคืน
      • ช่วยไม่ให้เหงื่อออกง่าย ป้องกันเซลเยื่อบุต่าง ๆ ของร่างกายทำงานผิดปกติ ช่วยให้ร่างกายเจริญเติบโตตามปกติ ไม่หยุดชะงัก
      • ป้องกันผิวหนังแห้งหยาบ และเป็นแปลอักเสบ
      • รักษาสิวได้ดี ลดการอักเสบของสิว
    • เวลาที่ควรกิน
      • ควรกินระหว่างมื้ออาหารเช้าหรือกลางวัน ไม่เกิน 30 นาที เนื่องจากเป็นวิตามินที่ละลายในไขมันได้ดีเช่นเดียวกัน
  • วิตามินเค (Vitamin K)
    • ประโยชน์
      • ช่วยป้องกันเลือดออกภายในและเลือดออกไม่หยุด
      • ช่วยบรรเทาอาการประจำเดือนมามากกว่าปกติ
      • ช่วยในกระบวนการสร้างลิ่มเลือด
      • ช่วยป้องกันกระดูกเปราะบาง
  •  
    • ปริมาณและเวลาที่ควรกิน
      • ขนาดที่แนะนำให้รับประทานต่อวันคือ 65 - 80 ไมโครกรัมต่อวัน วิตามินเคในรูปแบบของอาหารเสริมมีจำหน่ายทั่วไปในรูปแบบเม็ด โดยมีขนาดประมาณ 100 ไมโครกรัม ซึ่งจะผสมอยู่ในวิตามินรวมทั่ว ๆ ไป
      • ควรกินระหว่างมื้ออาหารเช้าหรือกลางวัน ไม่เกิน 30 นาที เนื่องจากเป็นวิตามินที่ละลายในไขมันได้ดีเช่นเดียวกัน

        ทั้งนี้ควรปรึกษาแพทย์และเภสัชกรทุกครั้งก่อนการรับประทาน โดยเฉพาะผู้มีโรคประจำตัว เพื่อความปลอดภัย เนื่องจากวิตามินและยารักษาโรคบางชนิดหากกินพร้อมกันหรือร่วมกันจะส่งผลเสียต่อร่างกายได้ด้วย

 

ที่มา:

  1. ไม่ปรากฎชื่อผู้แต่ง.(2564).วิตามินต่าง ๆ ควรกินตอนไหน กินคู่กับอะไรให้ร่างกายดูดซึมได้มากที่สุด.สืบค้น 27 มิถุนายน 2565,

จาก https://health.kapook.com/view 230611.html

  1. ไม่ปรากฎชื่อผู้แต่ง.(2565).10 วิตามินซีกินตอนไหนดี ควรกินวันละเท่าไร กินทุกวันอันตรายไหม ?.สืบค้น 27 มิถุนายน 2565,

จาก https://health.kapook.com/view 238106.html

  1. ไม่ปรากฎชื่อผู้แต่ง.(2565).วิตามินซี กินตอนไหน ร่างกายได้ประโยชน์เต็ม ๆ.สืบค้น 27 มิถุนายน 2565,

จาก https://health.kapook.com/view110140.html

  1. เมดไทย.(2561).วิตามินเค (Vitamin K) ประโยชน์ของวิตามินเค 4 ข้อ !.สืบค้น 27 มิถุนายน 2565,

จาก https://medthai.com/%E 0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%84/

  1. สุพรีม ไอเลสิค.(2561).ประโยชน์และโทษ รู้ก่อนทานวิตามิน A!.สืบค้น 27 มิถุนายน 2565,

จาก http://www.supremeilasik.com/th/vitamins-a-benefits-and-harm/

  1. Wellness Center โรงพยาบาลสินแพทย์ รามอินทรา.(2565). Vitamin D : ดี และมีประโยชน์อย่างไร ?.สืบค้น 27 มิถุนายน 2565,

จาก https://www.synphaet.co.th/vitamin-d-%E0%B8%94%E0%B8%B5-%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%A1%E0%B8%B5%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%82%E0%B8%A2%E0%B8%8A%E0%B8%99%E0%B9%8C%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%84/

  1. รามาแชนแนล • ขับเคลื่อนสังคมไทยให้สุขภาพดี.(2561).วิตามินอี ดีต่อสุขภาพและความงาม.สืบค้น 27 มิถุนายน 2565,

จาก https://www.rama.mahidol.ac.th/ramachannel/article/%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%B5-%E0%B8%94%E0%B8%B5%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%82%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B9%81%E0%B8%A5/#:~:text=%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%B5%20%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B9%87%E0%B8%99%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%B6%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B9%83%E0%B8%99,%E0%B8%AD%E0%B8%B4%E0%B8%AA%E0%B8%A3%E0%B8%B0%20%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%9B%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%9A

  1. โรงพยาบาลเปาโล พหลโยธิน.(2564).เรื่องจริงจาก 8 "วิตามิน B".สืบค้น 27 มิถุนายน 2565,

จาก https://www.paolohospital.com/th-TH/phahol/Article/Details/%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1-%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%B4%E0%B8%99/%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%88%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%87%E0%B8%88%E0%B8%B2%E0%B8%81-8--%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%B4%E0%B8%99-B-


   
อ้างอิง
แบ่งปัน:
1,395,049 views since 16 August 2018