Forum

วิทยาศาสตร์เทียมคือ...
 
แบ่งปัน:
การแจ้งเตือน
ลบทั้งหมด

วิทยาศาสตร์เทียมคืออะไร

1 โพสต์
1 ผู้ใช้
0 Reactions
6,810 เข้าชม
(@patcharapan-sir)
Trusted Member
เข้าร่วม: 6 ปี ที่ผ่านมา
กระทู้: 24
หัวข้อเริ่มต้น  

วิทยาศาสตร์เทียมหรือ Pseudoscience นั้น คือระบบความคิดหรือทฤษฎีที่ไม่ได้เกิดขึ้นมาจากกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นั่นเอง (Cambridge Dictionary) หากแต่เป็นการกล่าวอ้าง โดยขาดหลักฐานมาสนับสนุน และก็ไม่สามารถตรวจสอบได้ ไม่เหมือนกับวิทยาศาสตร์แท้ๆ ที่สามารถตรวจสอบได้ มีหลักฐานยืนยันชัดเจน (oxford dictionary)

เมื่อพูดถึงการแบ่งแยกระหว่างวิทยาศาสตร์แท้กับวิทยาศาสตร์เทียมนั้น มีนักปรัชญาวิทยาศาสตร์อยู่ท่านนึง ชื่อ Prof. Karl Kopper จาก University of Vienna ได้พยายามหาความแตกต่างระหว่างวิทยาศาสตร์แท้กับวิทยาศาสตร์เทียม และพบว่า วิทยาศาสตร์เทียมนั้น คือการหาคำอธิบายมายืนยัน ว่าสิ่งที่ได้กล่าวไว้มีความถูกต้อง (confirmation) ในขณะที่ วิทยาศาสตร์แท้คือการพิสูจน์เท็จ (falsification) เพื่อหาคำตอบที่แท้จริง เพื่อพิสูจน์ว่าสมมุติฐาน (hypothesis) ที่ตั้งไว้นั้นถูกต้องหรือไม่

วิทยาศาสตร์เทียมนั้น สร้างผลกระทบหลายอย่างต่อสังคม และหนึ่งในประเด็นที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์เทียม ที่กำลังเป็นประเด็นร้อนในช่วงวิกฤติโควิด-19 นี้ ก็คือ ลัทธิการต่อต้านวัคซีน หรือ Anti-vax โดยกลุ่มคนที่เป็น Anti-vax นี้มีความเชื่อว่าวัคซีนทำให้เกิดโรคต่างๆหรือเกิดความเจ็บป่วยตามมา และปฏิบัติเสธการฉีดวัคซีน อีกทั้งมีความพยายามในการโจมตีการฉีดวัคซีนผ่านทางช่องทางต่างๆของ social media อีกด้วย ในปัจจุบันมีความพยายามในการขีดเส้นแบ่งระหว่างวิทยาศาสตร์แท้กับวิทยาศาสตร์เทียม (demarcation) ให้ชัดเจนมากขึ้น ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ในด้านต่างๆ ตัวเอย่างเช่น เรื่องของการทำความเข้าใจในเรื่อง climate change ของประชาชน เป็นต้น  

 

ที่มาของข้อมูล

https://dictionary.cambridge.org/dictionary/english/pseudo-science

https://www.oxfordlearnersdictionaries.com/definition/english/pseudoscience

https://thematter.co/science-tech/we-believe-in-pseudoscience/14341

https://impakter.com/anti-science-anti-vaxxers-cause-covid-deaths/

https://thematter.co/science-tech/history-of-anti-vaccine/63544

https://www.naewna.com/inter/547986

https://plato.stanford.edu/entries/pseudo-science/#PurpDema

https://www.thelancet.com/journals/landig/article/PIIS2589-7500(20)30227-2/fulltext


   
อ้างอิง
แบ่งปัน:
1,389,266 views since 16 August 2018