Forum

สังคมผู้สูงอายุ รับ...
 
แบ่งปัน:
การแจ้งเตือน
ลบทั้งหมด

สังคมผู้สูงอายุ รับสิทธิสวัสดิการอะไรจากรัฐบ้าง ????

1 โพสต์
1 ผู้ใช้
0 Reactions
1,350 เข้าชม
(@jiraporn-karaket)
Eminent Member
เข้าร่วม: 5 ปี ที่ผ่านมา
กระทู้: 8
หัวข้อเริ่มต้น  

สังคมผู้สูงอายุ รับสิทธิสวัสดิการอะไรจากรัฐบ้าง ????

หลายประเทศทั่วโลกกำลังเผชิญกับภาวะสังคมผู้สูงอายุ รวมถึงในประเทศไทย ปัจจุบันประเทศไทยมีผู้สูงอายุ หรือคนอายุ 60 ปีขึ้นไป ประมาณ 12 ล้านคน ถือเป็นประชากรกลุ่มใหญ่ในประเทศ หรือเรียกว่า “สังคมผู้สูงอายุ” หลายคนทราบดีว่าเมื่อเข้าสู่วัยเกษียณแล้ว จะได้รับเบี้ยผู้สูงอายุ มากน้อยตามช่วงอายุ ยกเว้นข้าราชการที่ได้เงินบำนาญ แต่หลายคนอาจยังไม่ทราบว่าผู้สูงอายุ หรือผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป ยังได้รับสิทธิและสวัสดิการจากรัฐ

โดยกองส่งเสริมสวัสดิการและคุ้มครองสิทธิผู้สูงอายุ กรมกิจการผู้สูงอายุ (ผส.) กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ได้ระบุสิทธิและสวัสดิการผู้สูงอายุในประเทศไทย โดยแบ่งเป็น 13 เรื่อง ดังนี้

  1. เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ จัดสรรให้ผู้สูงอายุทุกคนแบบขั้นบันได คือ
  • อายุ 60-69 ปี ได้รับ 600 บาทต่อเดือน
  • อายุ 70-79 ปี ได้รับ 700 บาทต่อเดือน
  • อายุ 80-89 ปี ได้รับ 800 บาทต่อเดือน
  • อายุ 90 ปีขึ้นไป ได้รับ 1,000 บาทต่อเดือน
  1. ลดราคาค่าโดยสาร ปัจจุบันมีการลดค่าโดยสารให้แก่ผู้สูงอายุมากถึง 50 เปอร์เซ็นต์ อาทิ รถโดยสารประจำทาง รวมถึงเรือโดยสาร ลดค่าโดยสาร 50 % พร้อมแสดงบัตรประชาชน, รถไฟฟ้า MRT ลดค่าโดยสาร 50 % ทุกเส้นทาง ส่วนรถไฟฟ้า BTS-แอร์พอร์เรลลิงก์ ซื้อบัตรโดยสารประเภทผู้สูงอายุ จะได้รับส่วนลด 50 เปอร์เซ็นต์, รถทัวร์ บขส. ได้รับส่วนลด 50 % และรถไฟ มีส่วนลด 50 % ระหว่างวันที่ 1 มิถุนายนถึง 30 กันยายนของทุกปี
  2. ลดหย่อนภาษี บุตรที่เลี้ยงดูบิดามารดา สามารถขอลดหย่อนภาษี จำนวน 3 หมื่นบาทต่อผู้สูงอายุ 1 คนต่อปี
  3. ปรับสภาพที่อยู่อาศัย เปิดให้ผู้สูงอายุที่ยากจน มีที่อยู่อาศัยไม่มั่นคงและเหมาะสม สามารถขอปรับสภาพแวดล้อมและสิ่งอำนวยความสะดวกให้เหมาะสมและปลอดภัย กับหน่วยงานบริการ ได้แก่ กรม ผส. สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด (พมจ.) เพื่อพิจารณา และจัดสรรในอัตราเหมาจ่าย 22,500 บาท หรือ 40,000 บาท
  4. กู้ยืมเงินทุนประกอบอาชีพ ผู้สูงอายุที่ยังสามารถประกอบอาชีพได้ แต่ไม่มีเงินทุน สามารถยื่นกู้ยืมเงินปลอดดอกเบี้ยจากกองทุนผู้สูงอายุได้ ดังนี้ รายบุคคล ได้วงเงินไม่เกิน 30,000 บาทต่อคน และรายกลุ่ม ไม่น้อยกว่า 5 คน ได้วงเงินไม่เกิน 100,000 บาท แต่ทั้งหมดเป็นการกู้ที่ต้องมีผู้ค้ำประกัน และต้องชำระคืนทุกเดือนเป็นระยะเวลา 3 ปี
  5. สิทธิทางอาชีพ ภาครัฐโดย กรมการจัดหางาน สำนักงานจัดหางานกรุงเทพมหานคร จัดบริการให้คำปรึกษา แนะนำ และรับสมัครงานสำหรับผู้สูงอายุ รวมทั้งจัดอบรมฝึกอาชีพให้กับผู้สูงอายุ
  6. สิ่งอำนวยความสะดวก ปัจจุบันพื้นที่สาธารณะหลายแห่ง อาทิ พิพิธภัณฑ์ โบราณสถาน หอจดหมายเหตุแห่งชาติ ฯลฯ ได้จัดสิ่งอำนวยความสะดวกให้เหมาะสมกับผู้สูงอายุ อาทิ ลิฟต์ ราวบันได ทางลาด ที่จอดรถ ห้องน้ำ ฯลฯ
  7. สิทธิทางการศึกษา ปัจจุบันสำนักงาน กศน. กระทรวงศึกษาธิการ ได้พัฒนาหลักสูตรบริการทางการศึกษา เพื่อให้ผู้สูงอายุได้เรียนรู้ตลอดชีวิต สอดคล้องกับความต้องการของผู้สูงอายุ และสามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข
  8. สิทธิทางการแพทย์ ผู้สูงอายุสามารถเข้ารับบริการและดูแลสุขภาพต่าง ๆ ผ่านช่องทางพิเศษ
  9. การช่วยเหลือทางกฎหมาย กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม มีบริการให้คำปรึกษา แนะนำ ช่วยเหลือ และดำเนินการให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุ เช่น สนับสนุนเงินค่าใช่จ่ายการจ้างทนาย ค่าทำเนียมขึ้นศาล ค่าวางเงินประกันปล่อยตัวชั่วคราว เป็นต้น
  10. ยกเว้นค่าเข้าชมสถานที่ของรัฐ ผู้สูงอายุสามารถเข้าชมฟรี เช่น พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ อุทยานแห่งชาติ สวนพฤกษศาสตร์ สวนสัตว์ โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เป็นต้น
  11. มีส่วนร่วมในกิจกรรมสังคม เปิดให้ผู้สูงอายุทำกิจกรรมโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย เช่น สถานกีฬาต่าง ๆ ส่วนศูนย์กีฬาในร่ม ได้ลดค่าสมัครสมาชิก 50 %
  12. การสงเคราะห์ช่วยเหลือ มีบริการช่วยเหลือผู้สูงอายุที่ถูกทารุณกรรม ถูกทอดทิ้ง ถูกหาประโยชน์ ด้วยการนำไปรักษาพยาบาล ดำเนินคดี จัดหาที่พักอาศัยปลอดภัย ฟื้นฟูสภาพร่างกายและจิตใจ
  13. ขณะที่ผู้สูงอายุที่ประสบปัญหาอาหารและเครื่องนุ่งห่ม สามารถขอรับเงินช่วยเหลือวงเงินไม่เกิน 3,000 บาท ขอได้ไม่เกิน 3 ครั้งต่อปี
  14. ในส่วนผู้สูงอายุที่ยากจนและขาดผู้ช่วยเหลือดูแล สามารถแสดงความประสงค์ขอเข้าใช้บริการศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุได้
  15. และเมื่อเสียชีวิต ผู้จัดการศพผู้สูงอายุยากจนนั้น สามารถยื่นขอรับเงินจัดการศพรายละไม่เกิน 3,000 บาท โดยต้องยื่นความประสงค์ที่สำนักงานเขต หรือสำนักงาน อบต. สำนักงานเทศบาลภายใน 6 เดือน นับตั้งแต่วันออกใบมรณะบัตร

                                                 สอบถามใช้สิทธิและสวัสดิการผู้สูงอายุ ได้ที่ศูนย์ช่วยเหลือสังคม สายด่วน  โทร.1300 "

 

เรื่องโดย   จิราภรณ์  การะเกตุ

อ้างอิง

https://www.matichon.co.th/local/quality-life/news_ 2826642

กองส่งเสริมสวัสดิการและคุ้มครองสิทธิผู้สูงอายุ กรมกิจการผู้สูงอายุ (ผส.) กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์


   
อ้างอิง
แบ่งปัน:
1,389,218 views since 16 August 2018