Forum

แบ่งปัน:
การแจ้งเตือน
ลบทั้งหมด

หนังสือหายาก (Rare Books) คืออะไร

1 โพสต์
1 ผู้ใช้
0 Reactions
825 เข้าชม
(@natthasit-n)
Eminent Member
เข้าร่วม: 1 ปี ที่ผ่านมา
กระทู้: 12
หัวข้อเริ่มต้น  

หนังสือหายาก (Rare Books) เป็นเอกสารที่มีคุณค่าทั้งด้านเนื้อหาและด้านการพิมพ์ถือเป็นมรดกทรัพย์สินทางปัญญาของชาติ ใช้เพื่อการศึกษาวิจัยขั้นสูงซึ่งผู้ค้นคว้าไม่สามารถหาได้จากห้องสมุดทั่วไปและไม่มีจำหน่ายในท้องตลาด โดยลักษณะของหนังสือหายาก จำแนกไว้ 7 ประเภท (อ้างอิงจาก Office of Academic Resources, Chulalongkorn University)

  1. หนังสือนั้นหาได้ยาก (Rarity) ส่วนใหญ่เป็นหนังสือเก่าแก่ที่พิมพ์ในรุ่นแรก ๆ ของโลก เช่น หนังสือพิมพ์ที่พิมพ์ด้วยแกะไม้ (Block-books)
  2. หนังสือเก่าซึ่งมีความสำคัญในด้านที่เป็นเอกสารปฐมภูมิในด้านประวัติการพิมพ์ของแต่ละประเทศหรือแต่ละภูมิภาค (Local Rarity)
  3. หนังสือที่มีการพิมพ์จำนวนจำกัด (Limited Edition) หนังสือที่จัดพิมพ์เนื่องในโอกาสต่าง ๆ รวมถึงหนังสือที่พิมพ์เป็นของชำร่วย และหนังสืออนุสรณ์งานศพ
  4. หนังสือพิมพ์ครั้งแรก (First Edition) หนังสือที่จัดพิมพ์ต้นฉบับออกมาในรูปเล่มของหนังสือเป็นครั้งแรกให้มุมมอง และข้อเท็จริง ประสบการณ์ หรือความตั้งใจจริงของผู้เขียน
  5. หนังสือที่มีความเด่นและเป็นที่กล่าวขวัญถึง (Reputation) เช่น หนังสือที่มีเนื้อหาที่กุขึ้นและเป็นการปลอมแปลงวรรณกรรม (Fake and Forgeries), เป็นผลงานเพียงเรื่องเดียว หรือเป็นผลงานเพียงส่วนน้อยที่แตกต่างออกไปจากผลงานส่วนใหญ่ เช่น เรื่องวงศ์เทวราช เป็นพระราชนิพนธ์เรื่องเดียวในประเภทประชดประชันขำขัน (Satire and Humor) ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
  6. หนังสือที่มีสภาพรูปเล่มสมบูรณ์หรือมีสภาพรูปเล่มที่สวยงาม เป็นหนังสือเก่าที่ตกทอดมาถึงปัจจุบัน โดยมีสภาพรูปเล่มเหมือนเมื่อแรกที่ออกจำหน่าย
  7. หนังสือที่มีประวัติการครอบครอง (Provenance) เป็นหนังสือที่เป็นสมบัติของห้องสมุด หรือซื้อมาจากร้านหนังสือแห่งใด สำหรับหลักฐานที่จะช่วยให้ทราบถึงประวัติการครอบครองหนังสือ คือ มีภาพของผู้แต่งหรือเจ้าของหนังสืออยู่ในเล่ม มีตราบรรณสิทธิ์ (Bookplate) มีลายมือชื่อหรือข้อความที่เจ้าของเดิมเขียนไว้ในเล่ม

ตัวอย่างหนังสือหายาก เช่น

  • พระราชนิพนธ์ พระนิพนธ์ หนังสือส่วนพระองค์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
  • พระบาทสมเด็จพระมงกฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบรมวงศานุวงศ์พระองค์อื่น ๆ
  • หนังสือที่พิมพ์ในระยะเริ่มแรก หนังสือฉบับพิมพ์ครั้งแรก และพิมพ์ในโอกาสพิเศษต่าง ๆ
  • หนังสือที่มีความโดดเด่น มีรูปเล่มสวยงาม และมีภาพประกอบที่ทรงคุณค่า เป็นต้น และยังนับรวมถึงหนังสือใหม่ที่พิจารณาแล้วว่าจะเป็นหนังสือพิเศษที่หาได้ยากในอนาคต

การจัดเก็บหนังสือหายาก หนังสือหายากต้องถูกจัดเก็บเป็นห้องควบคุมอุณหภูมิและความชื้น มีระบบตรวจจับอัคคีภัย ระบบความปลอดภัย ระบบทำความเย็น และความชื้น และระบบไฟ ซึ่งปัจจัยแวดล้อมต่าง ๆ ส่งผลต่อวิธีการจัดเก็บหนังสือหายาก

  1. การอนุรักษ์หนังสือหายากด้วยวิธีตรวจกราดภาพลักษณ์ (สแกน) การอนุรักษ์หนังสือหายากด้วยวิธีตรวจกราดภาพลักษณ์(สแกน) เป็นการแปลงสภาพจากต้นฉบับ หนังสือหายากให้เป็นไฟล์ดิจิทัล
  2. การอนุรักษ์หนังสือหายากด้วยวิธีวิทยาศาสตร์ เป็นการนำต้นฉบับหนังสือหายากที่มีสำเนาในรูปแบบต่าง ๆ แล้ว เช่น CD, DVD สำเนากระดาษ หรือต้นฉบับหนังสือหายากที่มีสภาพชำรุดมาก กระดาษกรอบขาด สันหนังสือแตก ให้กลับมามีสภาพดี มีรูปเล่มที่แข็งแรง สามารถให้บริการต่อไปได้ ซึ่งไม่สามารถซ่อมได้ด้วยวิธีการเหมือนกับหนังสือทั่วไป การปฏิบัติงานต้องเป็นไปตามขั้นตอนและถูกต้องตามหลักวิชาการ บางขั้นตอนต้องใช้วิธีทางวิทยาศาสตร์ เข้ามาช่วยดำเนินการเนื่องจากมีสาเหตุของกาชำรุดเสื่อมสภาพที่ไม่เหมือนกัน

 

แหล่งอ้างอิง (References)


   
อ้างอิง
แบ่งปัน:
1,395,769 views since 16 August 2018