ปัจจุบันงานสื่อโสตทัศน์ (Audiovisual work) มีหลากหลายรูปแบบ อาจมีทั้งองค์ประกอบภาพและเสียง (เช่น YouTube, Streaming VDOs, Webinar) องค์ประกอบเสียงเท่านั้น (เช่น เพลง บันทึกเสียง Recording) หรือองค์ประกอบภาพเท่านั้น (เช่น Infographic, ภาพถ่าย, งานศิลปะ, PowerPoint Slides หรือ Lecture notes) ซึ่งสื่อโสตทัศน์เป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพที่ทำให้เนื้อหาที่เป็นนามธรรมหรือซับซ้อนเข้าใจได้ง่ายขึ้น สามารถสื่อสารผลงานไปยังกลุ่มเป้าหมายทั้งในและนอกวงวิชาการได้เป็นวงกว้าง เกิดความรับรู้และเข้าใจในทิศทางเดียวกันได้
ทว่า หากผู้วิจัย นักเรียน นักศึกษา ที่สืบค้นข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ และต้องการใช้เนื้อหาสาระสำคัญจากสื่อโสตทัศน์นั้น เช่น ข้อมูลจากอินโฟกราฟิก หรือ ข้อมูลจากยูทูป ซึ่งผู้เขียนอาจนำข้อมูลมาใช้เพื่อประกอบเป็นหลักฐานสนับสนุนงานเขียน เพื่อเป็นประเด็นตัวอย่างศึกษา เพื่อการวิเคราะห์เชิงลึก หรืออาจหยิบยกมาเพื่อเป็นประเด็นในการโต้แย้ง ดังนั้น เมื่อมีการนำข้อมูลเหล่านี้มาใช้ แน่นอนว่าผู้เขียนต้องเขียนอ้างอิงแหล่งที่มาให้ชัดเจนและถูกต้องตามรูปแบบการเขียนเชิงวิชาการที่เป็นที่ยอมรับในระดับสากล การเขียนอ้างอิงที่ถูกต้องถือเป็นส่วนหนึ่งที่แสดงถึงคุณภาพงานเขียนด้วย
รูปแบบของการอ้างอิงสื่อโสตทัศน์ ต้องพิจารณาว่าผลงานนั้นเป็นผลงานชิ้นเดียว (เช่น ภาพยนตร์ ซีรีส์ทีวีทั้งเรื่อง Podcast Webinar อัลบั้มเพลง งานศิลปะ VDO YouTube) หรือหยิบยกมาเฉพาะส่วนหนึ่งของผลงาน เช่น ตอนหนึ่งของซีรีส์ทีวี (Episode) ตอนหนึ่งของพอดคาสต์ เพลงบางเพลงจากทั้งอัลบั้ม เป็นต้น ผู้สร้างหรือผู้ประพันธ์ผลงานสื่อโสตทัศน์ (Author of the Audiovisual work) จะถูกใช้ในการเขียนอ้างอิงและ Author จะมีความแตกต่างกันตามประเภทของสื่อ ดังนี้
ประเภทสื่อ (Media type) |
ผู้ประพันธ์ (Author) |
ภาพยนตร์ (Film) |
ผู้กำกับภาพยนตร์ (Director) |
ซีรีส์โทรทัศน์ (TV series) |
ผู้อำนวยการบริหารการผลิต (Executive Producer หรือ EP) |
ตอนของซีรีส์โทรทัศน์ (TV series episode) |
ผู้เขียนและผู้ประพันธ์ของซีรี่ส์ตอนนั้น (Writer and director of episode) |
พอดแคสต์ (Podcast) |
ผู้จัดรายการพอดแคสต์ (Host) หรือ ผู้อำนวยการบริหารการผลิต (executive producer) |
ตอนของพอดแคสต์ (Podcast episode) |
ผู้จัดรายการพอดแคสต์ของตอนนั้น (Host of episode) |
การสัมมนาหรือการประชุมออนไลน์ (Webinar) |
ผู้บรรยาย (Instructor) |
อัลบั้ม Classical music album หรือเพลงในอัลบั้ม |
ผู้ประพันธ์ดนตรี (Composer) |
อัลบั้ม Modern music album หรือเพลงในอัลบั้ม |
ศิลปินผู้สร้างและบันทึกงานทางดนตรี (Recording artist) |
งานศิลปะ (Artwork) |
ศิลปิน (Artist) |
การถ่ายทอดสดภาพและเสียงทางออนไลน์ (Online streaming video) |
บุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่ทำหน้าที่ถ่ายโอนข้อมูลวิดีโอ (Person or group who uploaded the video) |
ภาพถ่าย (Photograph) |
ช่างภาพ (Photographer) |
โครงสร้างของการเขียนอ้างอิงสื่อโสตทัศน์ (Construct references for audiovisual media) เป็นดังนี้
ผู้แต่ง (Author) |
วันที่ (Date) |
ชื่อเรื่อง (Title) |
แหล่งที่มา (Source) |
|
สำนักพิมพ์/ผู้ผลิต (Publisher) |
URL |
|||
Director, D. D. (Director). Producer, P. P. (Executive Producer). Host, H. H. (Host). Artist, A. A. Uploader, U. U. |
(2020). (1989-present). (2013-2019). (2019, July 21). |
Title of work [Description]. |
Production Company. Label. Museum Name, Museum Location. Department Name, University Name. |
การอ้างอิงหนัง Film หรือ Video
- ชื่อเรื่องให้ใช้ตัวเอียง
- หากรายการอ้างอิงยาวหลายบรรทัด บรรทัดที่ 2 เป็นต้นไป ให้ย่อหน้าเข้าไป
ตัวอย่างที่ 1
Forman, M. (Director). (1975). One flew over the cuckoo's nest [Film]. United Artists.
ตัวอย่างที่ 2
Fosha, D. (Guest Expert), & Levenson, H. (Host). (2017). Accelerated experiential dynamicpsychotherapy (AEDP)
supervision [Film, educational DVD]. American Psychological Association. https://www.apa.org/pubs/videos/4310958.aspx
ตัวอย่างที่ 3
Jackson, P. (Director). (2001). The lord of the rings: The fellowship of the ring [Film; four-discspecial
extended ed. on DVD]. WingNut Films; The Saul Zaentz Company.
การนำตัวอย่างที่ 1 - 3 ไปเขียนอ้างอิงท้ายข้อความ
การอ้างอิงท้ายข้อความ (Parenthetical citations): (Forman, 1975; Fosha & Levenson, 2017; Jackson, 2001)
การอ้างอิงแบบบรรยาย (Narrative citations): Forman (1975), Fosha and Levenson (2017), and Jackson (2001)
การอ้างอิง YouTube และ Streaming Video (How to Cite a YouTube & Streaming Video)
- ชื่อผู้อัพโหลดคลิปวิดิโอถือว่าเป็น Author ที่จะถูกใช้อ้างอิง ที่ใช้ชื่อผู้อัพโหลดเป็นชื่อผู้แต่งในรายการอ้างอิงเพราะว่าจะสามารถติดตามแหล่งข้อมูลนี้ได้ (Retrievability)*ถึงแม้ว่าจะไม่ใช่ผู้สร้างผลงานก็ตามก็ต้องใช้ผู้อัพโหลดในการเขียนอ้างอิง (ถ้าต้องการใส่ชื่อผู้สร้างให้ใส่ในคลิปไว้เลย)*
- แต่ถ้าหากชื่อผู้อัพโหลดคลิป มี Username ให้ใส่ Username ไว้ในวงเล็บสี่เหลี่ยม เช่น Fogarty, M. [Grammar Girl].
- ชื่อเรื่องให้ใช้ตัวเอียง
- หากรายการอ้างอิงยาวหลายบรรทัด บรรทัดที่ 2 เป็นต้นไป ให้ย่อหน้าเข้าไป
- ตัวอย่างเช่น
Cutts, S. (2017, November 24). Happiness [Video]. Vimeo. https://vimeo.com/244405542
Fogarty, M. [Grammar Girl]. (2016, September 30). How to diagram a sentence (absolute
basics) [Video]. YouTube. https://youtu.be/deiEY5Yq1ql
University of Oxford. (2018, December 6). How do geckos walk on water? [Video].
YouTube. https://www.youtube.com/watch?v=qm1xGfOZJc8
Parenthetical citations: (Cutts, 2017; Fogarty, 2016; University of Oxford, 2018)
Narrative citations: Cutts (2017), Fogarty (2016), and University of Oxford (2018)
การอ้างอิงอินโฟกราฟิก (How to Cite an Infographics)
- เป็นการอ้างอิงข้อมูลที่มาจาก infographic นั้น เท่านั้น (ไม่ใช่การนำ infographic ผู้อื่นไปทำซ้ำหรือผลิตเพิ่ม ซึ่งถือเป็นคนละเรื่องกัน)
- ชื่อเรื่องให้ใช้ตัวเอียง
- หากรายการอ้างอิงยาวหลายบรรทัด บรรทัดที่ 2 เป็นต้นไป ให้ย่อหน้าเข้าไป
- ตัวอย่างเช่น
Rossman, J., & Palmer, R. (2015). Sorting through our space junk [Infographic]. World Science Festival,
https://www.worldsciencefestival.com/2015/11/space-junk-infographic/
Parenthetical citation: (Rossman & Palmer, 2015)
Narrative citation: Rossman and Palmer (2015)
____________________________________________________________________________________________________
แหล่งอ้างอิง
American Psychological Association. (2020). Publication manual of the American Psychological Association (7th ed.).
https://doi.org/10.1037/0000165-000