Forum

เรื่อง ของความหวานข...
 
แบ่งปัน:
การแจ้งเตือน
ลบทั้งหมด

เรื่อง ของความหวานของผลไม้กับผู้ป่วยเบาหวาน

1 โพสต์
1 ผู้ใช้
0 Reactions
698 เข้าชม
IL Admin
(@il-admin)
Reputable Member Admin
เข้าร่วม: 7 ปี ที่ผ่านมา
กระทู้: 134
หัวข้อเริ่มต้น  

          ปัจจุบันมีผู้เป็นโรคเบาหวานในประเทศไทยจำนวนมาก โดยโรคเบาหวานแบ่งออกเป็น 4 ชนิด ได้แก่ (1) โรคเบาหวานที่ตับอ่อนไม่สามารถสร้างอินซูลินได้ ต้องรักษาด้วยการฉีดอินซูลิน ถ้าขาดอินซูลินจะเกิดภาวะหมดสติจากน้ำตาลสูงและกรดคีโตนคั่งในเลือด ในประเทศไทยพบผู้เป็นเบาหวานชนิดที่ 1 ร้อยละ 3.4 พบในเด็กหรือผู้ที่มีอายุน้อยส่วนใหญ่น้อยกว่า 30 ปี มักผอม (2) โรคเบาหวานที่ตับอ่อนยังพอผลิตอินซูลินได้บ้าง แต่มีภาวะดื้อต่ออินซูลิน ในระยะแรกอาจรักษาได้ด้วยการควบคุมอาหารหรือยาเม็ดลดลดระดับน้ำตาล แต่เมื่อเป็นเวลานานๆ ในบางรายมีเบต้าเซลล์เสื่อม ทำให้ควบคุมระดับน้ำตาลได้ไม่ดีอาจจำต้องฉีดอินซูลิน พบมากถึงประมาณร้อยละ 95-97 ของผู้เป็นเบาหวานในประเทศไทย ผู้เป็นส่วนใหญ่มักอ้วน อายุมากกว่า 40 ปี (3) โรคเบาหวานชนิดอื่นที่มีสาเหตุเฉพาะ ได้แก่ โรคเบาหวานที่เกิดจากความผิดปกติทางพันธุกรรม โรคของตับอ่อน ความผิดปกติของฮอร์โมน การได้รับยาบางชนิด เช่น ยากลุ่มสเตียรอยด์ หรือสารเคมี เป็นต้น (4) โรคเบาหวานที่เกิดขึ้นขณะตั้งครรภ์โรคเบาหวานชนิดนี้ผู้เป็นจะต้องไม่มีประวัติเป็นโรคเบาหวานมาก่อนตั้งครรภ์ ในช่วงระหว่างการตั้งครรภ์จะมีฮอร์โมนจากรกซึ่งมีฤทธิ์ต้านอินซูลินเป็นผลให้ร่างกายตอบสนองต่ออินซูลินลดลง ถ้าไม่สามารถเพิ่มการสร้างอินซูลินให้เพียงพอจะทำให้เกิดเป็นโรคเบาหวานในขณะตั้งครรภ์ได้ หลังคลอดมักจะพบว่าโรคเบาหวานหายไป แต่เมื่อติดตามต่อไปพบว่าหญิงที่เป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์จะมีความเสี่ยงในการเกิดโรคเบาหวานได้มากจึงสมควรให้มีการติดตามเพื่อตรวจหาเบาหวานเป็นระยะ

          จากที่กล่าวมานั้นจะเห็นได้ว่าโรคเบาหวานนั้นมีมาจากหลายสาเหตุ ซึ่งหลายคนคงทราบแล้วว่าในผู้ป่วยเบาหวานนั้น คุณหมอ อนุญาติให้ทานผลไม้ได้ แต่ผลไม้อะไรละที่ผู้ป่วยสามารถทานได้ จึงขอขยายความของประเภทของน้ำตาลในผลไม้ซึ่งมี 2 ประเภทหลักๆ คือ

1. น้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว (Monosaccharide)

เป็นรูปแบบ คาร์โบไฮเดรต ที่ง่ายที่สุด ประกอบด้วย หนึ่งโมเลกุลของ น้ำตาล ซึ่งอยู่ในรูปของ ผลึก ของแข็งไม่มีสี ละลายน้ำ ได้ดี มอโนแซ็กคาไรด์ บางตัวมี รส หวาน ตัวอย่างของมอโนแซ็กคาไรด์ ได้แก่ กลูโคส (glucose) ฟรุ๊กโตส (fructose) กาแล็กโตส (galactose) พบในผลไม้ กล้วยน้ำหว้า ชมพู่ทับทิมจันทร์ เชอร์รี่นอก ชำมะเลียง อินทผลัม องุ่นเขียว องุ่นแดง องุ่นดำ ฯลฯ ผลไม้ที่กล่าวมานี้ สามารถดูดซึมเข้าสู่ร่างกาย ได้อย่างรวดเร็วทันที

2. น้ำตาลโมเลกุลคู่ (Disaccharide)

เป็นน้ำตาลที่ประกอบด้วยน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว (monosaccharide) 2 โมเลกุล ซึ่งอาจเป็นชนิดเดียวกัน หรือต่างชนิดกันก็ได้เชื่อมต่อกันด้วยพันธะไกลโคไซด์ (glyosidic bond) เมื่อผ่านการไฮโดรไลซ์ (hydrolysis) จะให้น้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว 2 โมเลกุล น้ำตาลโมเลกุลคู่ที่พบในอาหาร น้ำตาลซูโครส (sucrose) น้ำตาลมอลโทส (maltose) น้ำตาลแล็กโทส (lactose) พบในผลไม้ อ้อย กล้วยหอม กล้วยเล็บมือนาง กล้วยตะกุ่ย ขนุน เงาะโรงเรียน ทุเรียนหมอนทอง มะปรางหวาน ฯลฯ ซึ่งผลไม้เหล่าต้องมีการสลายพันธะโครงสร้างของน้ำตาลโมเลกุลคู่ ให้เป็นโมเลกุลเดี่ยวก่อนที่จะถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกาย ทำให้เกิดน้ำตาลสะสม

ดังนั้นผู้ป่วยเบาหวานหากหลีกเหลี่ยงในการรับประทานผลไม้รสหวานไม่ได้ ควรเลือกรับประทานผลไม้ที่เป็นน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยวจะดีต่อสุขภาพที่สุด

 

 

เรื่องโดย พิชามญชุ์ กาหลง สถาบันนวัตกรรมการเรียนรู้ ม.มหิดล


   
อ้างอิง
แบ่งปัน:
1,314,146 views since 16 August 2018