แนวทางการรับนักศึกษาจากต่างประเทศเข้าแลกเปลี่ยน Inbound exchange student มหาวิทยาลัย
ในการประกันคุณภาพการศึกษา สิ่งหนึ่งที่พิจารณาคือจำนวนนักศึกษาต่างชาติมาแลกเปลี่ยนในองค์กร Inbound exchange student หรือการส่งนักศึกษาออกไปแลกเปลี่ยน ณ มหาวิทยาลัยต่างประเทศ Outbound exchange students
การแลกเปลี่ยนนักศึกษา อาจจะปฏิบัติภายใต้การลงนามบันทึกความเข้าใจ (Memorandum Of Understanding หรือ MOU) ระหว่างมหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นความร่วมมือทางวิชาการที่จะแลกเปลี่ยนนักศึกษาให้สามารถไปเรียนรู้ในมหาวิทยาลัย ณ ต่างประเทศ ได้ อาจจะเรียนรู้ด้านวิจัย ด้านการเรียนการสอน มีทั้งแบบระยะสั้นซึ่งคล้ายกับการศึกษาดูงาน กับการแลกเปลี่ยนในระดับที่สะสมหน่วยกิตในการเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยนั้นๆ ได้ ซึ่งจะมีระยะเวลาที่ยาวนาน อาจจะ 1 ภาคการศึกษา หรือ 1 ปีการศึกษา โดยดำเนินการหลักโดยหน่วยงานกลางของทางมหาวิทยาลัย คือกองวิเทศสัมพันธ์ ในการสำรวจคณะ สถาบันฯ การสอบถาม จะมีเป็นรอบๆ โดยระบุ Time Line ในการดำเนินการแต่ละรอบไป ซึ่งจะประกาศให้ผู้สนใจ สมัครเข้าร่วมโครงการผ่านการเขียนใบสมัครเสนอคุณสมบัติ ความสนใจ ที่จะเข้าร่วมในหลักสูตรต่างๆที่เปิดรับ ระหว่างมหาวิทยาลัยที่ร่วมโครงการ ตามที่ได้ลงนามความร่วมมือกันไว้ MOU โดยจะประสานงานกับทาง คณะ /สถาบันฯ ที่เสนอรับนักศึกษาต่างชาติ inbound โดยระบุหลักสูตรที่เปิดรับ ระดับชั้นในการเข้าศึกษาของผู้สมัคร เช่น ระดับปริญญาตรี หรือระดับบัณฑิตศึกษา ทางกองวิเทศสัมพันธ์จะมีรายละเอียดในคุณสมบัติผู้สมัครเข้าร่วมโครงการ คณะ /สถาบันฯ สามารถระบุ เฉพาะเจาะจงได้หรือใช้เกณฑ์กลางของทางมหาวิทยาลัยได้เช่นกัน หาก คณะ สถาบัน ที่มี MOU ระดับคณะ/สถาบันฯ สามารถดำเนินการโดยตรงได้
ขั้นตอนการดำเนินการ
1.ให้นักศึกษา Load และกรอก Application จากแบบฟอร์ม เสนอให้ทาง คณะ/สถาบันฯ พิจารณาคุณสมบัติ อาจแนบหลักฐานประกอบการพิจารณาเช่น
1.1 แนบผลภาษาอังกฤษ อาจระบุ TOEFL score ขั้นต่ำ 69 (internet-based test) or IELTS 6.0.
1.2 แนบ transcripts
1.3 อื่นๆ ที่คณะ/สถาบันกำหนด
- เสนอพิจารณาผ่านที่ประชุมส่วนงาน โดยเสนอเพื่อให้ที่ประชุมพิจารณา ขอมติที่ประชุมว่าจะรับนักศึกษาเมื่อที่ประชุมมีมติ อนุมัติ รับ นักศึกษาหรือไม่ หากมีมติอนุมัติ ให้เสนอทางมหาวิทยาลัยด้วยหนังสือราชการ โดยให้ประธานหลักสูตร อาจารย์ที่ปรึกษา ผู้อำนวยการ รับทราบ/อนุมัติการรับนักศึกษาแลกเปลี่ยน โดยระบุประเภทการแลกเปลี่ยน Visiting program หรือ exchange program โดยระบุขอความอนุเคราะห์ ทางมหาวิทยาลัยให้ออก acceptance letter ระบุในหนังสือว่า Visiting program หรือ exchange program ระบุคุณสมบัติ อาจกำหนด เกณฑ์ภาษาต่างกัน ให้ระบุค่าธรรมเนียมการศึกษา
- แนบใบสมัครกับหนังสืออนุมัติรับนักศึกษา Inbound exchange student ไปที่กองวิเทศสัมพันธ์ เพื่อติดต่อกระทรวงต่างประเทศ ในประเทศไทย จากนั้น จะประสานงานต่อกับทางสถานฑูตในประเทศนั้นๆ ของนักศึกษาผู้ผ่านการรับเข้ามาแลกเปลี่ยน นักศึกษาจะส่งเอกสารเพื่อให้สถานฑูตพิจารณาเพื่อขอวิซ่า ซึ่งระยะเวลาในการเสนอขอวิซ่า เวลาที่พิจารณาและอนุมัติ ไม่เท่ากัน จากนั้นเมื่อเดินทางมาถึง รายงานตัวต่อมหาวิทยาลัย และเข้าไปแลกเปลี่ยน เรียนรู้ตาม คณะ/สถาบันฯ ที่ได้พิจารณารับ รายละเอียดอื่นๆ ศึกษาเพิ่มเติมรวมถึงตัวอย่างใบสมัครได้จาก web กองวิเทศสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยมหิดล
https://op.mahidol.ac.th/ir/th/how-to-apply-for-exchange-and-visiting-programs/
สำหรับ ทุน ในการเป็นนักศึกษาแลกเปลี่ยน ของมหาวิทยาลัยมหิดลกับมหาวิทยาลัยเครือข่าย สามารถศึกษาเพิ่มเติมที่ https://op.mahidol.ac.th/ir/th/inbound-scholarships/