然後十年後 人有幾個 十年後
จากนั้นสิบปีผ่าน คนมีกี่สิบปีผ่าน
成長得太久 連快樂也 漸為罕有
เติบโตมาเนิ่นนาน แม้ความสุขยังค่อยกลายเป็นไม่ค่อยมี
慣了天天埋頭永遠不休
ชินแล้ววันๆ จมอยู่ตลอดไม่พัก
連間中一頓飯亦極歉疚
แม้อาหารสักมื้อนานๆ ทียังรู้สึกผิดมหันต์
如像變了木偶 每日呆滯地奮鬥
ราวกับกลายเป็นหุ่นไม้ แต่ละวันต่อสู้อย่างไร้ชีวา
鄧紫棋 (เติ้งจื่อฉี)《睡皇后》
https://www.youtube.com/watch?v=TsrxItDMdI0
เพลงนี้ใช้ภาษาจีนถิ่นกวางตุ้งซึ่งคนไทยที่อายุระหว่าง 35-45 ปี น่าจะคุ้นเคยกับภาษานี้ เนื่องจากสมัยเป็นเด็ก สังคมไทยกำลังนิยมภาพยนตร์และซีรีส์จากฮ่องกงซึ่งใช้ภาษาจีนถิ่นนี้
วิธีสังเกตความแตกต่างระหว่างภาษาจีนกลางกับภาษาจีนถิ่นกวางตุ้งคือจีนกลางไม่มีเสียงที่คล้ายว่ามี บ ด หรือ ก เป็นตัวสะกด เช่น 十 ซึ่งแปลว่า สิบ จีนกลางออกเสียงคล้ายๆ สือ (shi2) ในขณะที่จีนกวางตุ้งออกเสียงคล้าย สับ (สัญลักษณ์แทนเสียงระบบ Jyutping คือ sap6) 日 แปลว่า วัน, ตะวัน, กลางวัน จีนกลางออกเสียงคล้ายๆ รื่อ (ri4) จีนกวางตุ้งออกเสียงคล้าย หยัด (jat6) 得 จีนกลางออกเสียงได้ 3 แบบ คือ เตอะ/เต๋อ/เต่ย์ (de/de2/dei3) ตามแต่ความหมาย จีนกวางตุ้งออกเสียงแบบเดียวคือ ตั๊ก (dak1)
จีนกลางกับจีนกวางตุ้งบางทีก็ต่างกันมากจนน่าประหลาดใจ แต่กระนั้นก็ยังมีรูปแบบอยู่ เช่น 幾 แปลว่า กี่, หลาย จีนกลางออกเสียงว่า จี่ (ji3) จีนกวางตุ้ง เก๋ย์ (gei2) 間 จีนกลางออกเสียงว่า เจียน (jian1) จีนกวางตุ้ง กาน (gaan3) คือ เสียงที่แทนด้วย j ในจีนกลางมักเป็น g ในจีนกวางตุ้ง ประเทศสิงคโปร์ (Singapore) มีชื่อภาษาจีนคือ 新加坡 จีนกลางออกเสียงคล้ายๆ ซินเจียพอ (Xin1jia1po1) ในขณะที่จีนกวางตุ้งออกเสียงคล้าย ซันกาปอ (san1gaa3bo1) ถ้าคิดแบบเร็วๆ โดยยังไม่ได้ค้นหลักฐานใดๆ ก็คงจะสรุปว่าคนสิงคโปร์เชื้อสายจีนตอนใต้เป็นผู้คิดชื่อภาษาจีน
皇后記起了嗎 沉睡半生童話
ราชินีจำได้แล้วหรือไม่ นิทานนิทราครึ่งชีวิต
用最初的勇氣再次高飛
ใช้ความกล้าแรกเริ่มเหินบินอีกครั้ง
無論成與敗亦不會死
ไม่ว่าสำเร็จหรือพ่ายก็ไม่ถึงตาย
皇后覺醒了嗎 重拾無價童話
ราชินีตื่นแล้วหรือไม่ หยิบนิทานล้ำค่าขึ้นมา
夢想的圖畫 再一追逐它 天不太晏
ภาพวาดของความฝัน ไขว่คว้ามันอีกครั้ง วันไม่สายไป