โดย
พรชัย เจดามาน๑*, ขจรศักดิ์ บัวระพันธ์๒, จิรัฐิติกาล พิมพ์วิชัย๓, โชคชัย ยืนยง๓, ทรงศักดิ์ จีระสมบัติ๑, ไชยพงษ์ เรืองสุวรรณ๑
๑ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
๒ สถาบันนวัตกรรมการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยมหิดล
๓ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ประเทศไทยประกาศยุทธศาสตร์การเข้าสู่ไทยแลนด์ 4.0 (Thailand 4.0) เพื่อความมั่งคง มั่งคั่ง ยั่งยืน และนำพาประเทศก้าวพ้นกับดักรายได้ปานกลาง ไทยแลนด์ 4.0 เป็นยุคที่ประเทศไทยต้องสร้างนวัตกรรมเป็นของตนเองภายใต้ทรัพยากรที่มีอยู่ ทุกภาคส่วนต้องเข้ามาช่วยระดมความคิดในการพัฒนาประเทศให้เข้าสู่ไทยแลนด์ 4.0 กระทรวงต่าง ๆ ก็ประกาศนโยบายและยุทธศาสตร์การเข้าสู่ไทยแลนด์ 4.0 ซึ่งหนี่งในนั้นก็มีกระทรวงศึกษาธิการที่มีสโลแกน “การศึกษา 4.0” โดยมีการพัฒนาแนวคิดดังนี้
การศึกษา 1.0 เป็นยุค พ.ศ. 2503 หรือเรียกว่า หลักสูตร 2503 (ซึ่งก่อนหน้านี้ตั้งแต่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ตราพระราชบัญญัติประถมศึกษา ในปี พ.ศ. 2464 ส่วนใหญ่จะเป็นการเรียนตามตำรา ไม่ได้กำหนดเป็นหลักสูตร) เป็นยุคที่เน้นให้นักเรียนเกิดทักษะ 4 ด้าน คือ พุทธิศึกษา จริยศึกษา หัตถศึกษา และพลศึกษา การวัดผลวัดเป็นองค์รวม โดยตัดสินเป็นร้อยละ ใครสอบผ่านร้อยละ 50 ถือว่าผ่าน ตํ่ากว่าเป็นการสอบตกต้องเรียนซํ้าชั้น การสอนของครู เน้นการบรรยาย เป็นลักษณะบอกเล่า จดในกระดานหรือตามคำบอก ครูว่าอย่างไรนักเรียนจะเชื่อครูทั้งหมด นักเรียนไม่สามารถเข้าถึงแหล่งเรียนรู้ ได้ฟังครูอย่างเดียว หนังสือเรียนสำคัญที่สุด สื่อการสอนกระดาน ชอล์ค บัตรคำ รูปภาพ โครงสร้างเวลา 4 : 3 : 3 : 2 ประถมต้นเรียน 4 ปี ประถมปลายเรียน 3 ปี มัธยมต้นเรียน 3 ปี มัธยมปลายสายสามัญเรียน 2 ปี สายอาชีพเรียน 3 ปี หลักการ/แนวคิด สนองความต้องการของสังคม เป็นหลักสูตรแบบเน้นวิชา
การศึกษา 2.0 เป็นยุค พ.ศ. 2521 หลังจากสังคมมีการเปลี่ยนแปลง ประชากรมากขึ้น จึงจำเป็นต้อง...อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://il.mahidol.ac.th/th/newsletter60-page-3/