คำว่าอุดมการณนั้น ใน Wikipedia ให้นิยามว่า เป็นความเชื่อหรือปรัชญาที่บุคคลหรือกลุ่มบุคคลหนึ่งยึดถือ หรือเป็นความเชื่อตามแนวคิด ตามทฤษฎีใด ทฤษฎีหนึ่ง ความสัมพันธ์ของอุดมการณ์ และการยอมรับในวิทยาศาสตร์นั้น ได้ถูกกล่าวถึงในทฤษฎีทางสังคมทฤษฎีหนึ่ง ที่เรียกว่า “the theory of cultural recognition” (Kahan, Jenkins-Smith, & Braman, 2011) โดยทฤษฎีนี้ ได้กล่าวว่า “การที่บุคคลใดบุคคลหนึ่งจะยอมรับวิทยาศาสตร์นั้น ส่วนหนึ่งถูกกำหนดโดยข้อสรุปทางวิทยาศาสตร์นั้นสามารถบรรจบกับอุดมการณ์ของบุคคลนั้นเพียงใด” ดังนั้น อุดมการณ์ จึงมีอิทธิพลต่อการไม่ยอมรับวิทยาศาสตร์ของบุคคลใดบุคคลหนึ่งด้วย เพราะว่า อุดมการณ์เป็นตัวกำหนดกรอบความเชื่อ มุมมอง ทัศนคติ และสิ่งที่บุคคลนั้นให้คุณค่า เมื่อข้อมูลวิทยาศาสตร์ มีความขัดแย้งกับสิ่งที่บุคคลเหล่านั้นเชื่อว่าเป็นสิ่งที่เป็นจริงและถูกต้อง บุคคลนั้นก็จะรู้สึกไม่สะดวกใจที่จะเชื่อข้อมูลวิทยาศาสตร์นั้น และเพื่อเป็นการบรรเทาความไม่สะดวกใจนี้ วิธีการที่ง่ายที่สุดก็คือไม่ยอมรับไปเลย ตัวอย่างของอิทธิพลของอุดมการณ์ต่อการไม่ยอมรับวิทยาศาสตร์ ที่ชัดเจนที่สุดตัวอย่างหนึ่งก็คือเรื่องของ Climate Change มีงานวิจัยนึง (Kahan D.M. et al, 2012) พบว่า กลุ่มคนที่ไม่ยอมรับว่าเกิด climate change risks ขึ้น ส่วนมากเป็นบุคคลที่มีแนวคิดอนุรักษ์นิยม (conservative) และพวกการเมืองฝ่ายขวา (right-wing adherents) นั่นเอง
ที่มา
2) Jylhä, K. M., Stanley, S. K., Ojala, M., & Clarke, E. J. R. (2022). Science Denial. European Psychologist. https://doi.org/10.1027/1016-9040/a000487 Kahan, D. M., Jenkins-Smith, H., & Braman, D. (2011). Cultural cognition of scientific consensus. Journal of Risk Research, 14, 147–174
3) Kahan, D. M., Peters, E., Wittlin, M., Slovic, P., Ouellette, L. L., Braman, D., & Mandel, G. (2012). The polarizing impact of science literacy and numeracy on perceived climate change risks. Nature Climate Change, 2, 732–735. https://doi.org/10.1038/nclimate1547
4) Hornsey, M. J. (2020). Why Facts Are Not Enough: Understanding and Managing the Motivated Rejection of Science. Current Directions in Psychological Science, 29(6), 096372142096936. https://doi.org/10.1177/0963721420969364