Forum

แบ่งปัน:
การแจ้งเตือน
ลบทั้งหมด

Rejection of Science ทำไมประชาชน(บางกลุ่ม)ถึงไม่ยอมรับวิทยาศาสตร์

1 โพสต์
1 ผู้ใช้
0 Likes
167 เข้าชม
(@patcharapan-sir)
Trusted Member
เข้าร่วม: 5 ปี ที่ผ่านมา
กระทู้: 24
หัวข้อเริ่มต้น  

การปฏิเสธที่จะเชื่อในวิทยาศาสตร์ (science denial) เป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่ขัดขวางความพยายามในการเพิ่มความเข้าใจในวิทยาศาสตร์ให้กับประชาชน (Public Understanding of Science) ดังจะเห็นได้จาก การที่เรายังสามารถพบเห็นประชาชนที่ดำรงชีวิตหรือมีพฤติกรรมที่ยังผูกติดหรือพึ่งพาสิ่งที่อยู่เหนือธรรมชาติหรือไม่สามารถอธิบายได้ด้วยวิทยาศาสตร์ อีกทั้งยังมีกรณีที่ ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารวิทยาศาสตร์ผ่านทางสื่อต่างๆ แต่ก็ยังเลือกที่จะเชื่อหรือบริโภคในสิ่งที่ขัดกับหลักการทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งสิ่งเหล่านั้นอาจเป็นอันตรายต่อร่างกายหรือมีผลกระทบต่อคุณภาพชีวิต ทั้งนี้ ปัญหาเหล่านี้ไม่ได้เกิดเฉพาะในประเทศไทยของเราเท่านั้น แต่ในประเทศที่มีความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอย่างมาก เช่นประเทศสหรัฐอเมริกา ก็ประสบปัญหาคล้ายๆกับบ้านเราเหมือนกัน
โดยในประเทศสหรัฐฯนั้น มี 1 ใน 3 ของประชากรที่ไม่ยอมรับในวิทยาศาสตร์ และสาเหตุที่ไม่ยอมรับนั้น เกิดจากการที่ประชากรเหล่านั้นมีความเข้าใจว่า วิทยาศาสตร์ไม่มีความสอดคล้องหรือไปกันได้กับความเชื่อของตนเองในเรื่องที่เกี่ยวกับพระเจ้า ครอบครัว ประเทศชาติ หรือแม้กระทั้งในเรื่องของมุมมองทางการเมือง นอกจากนั้น ยังมีบางกรณีที่ คนที่มีความรู้ในเรื่องวิทยาศาสตร์ ก็ยังเลือกที่จะไม่ยอมรับความรู้หรือผลการทดลองทางวิทยาศาสตร์ในบางหัวข้อ ตัวอย่างเช่น ในกรณีของประเด็นเรื่อง Climate Change ซึ่งในกรณีนี้ เป็นเรื่องของปรากฏการณ์ทางจิตวิทยา ซึ่งเราเรียกว่า Implicatory Denial หรือแปลเป็นภาษาไทยว่า การปฏิเสธโดยปริยาย ซึ่งหมายความว่า คนเหล่านี้ทราบอยู่แล้วว่าเกิดการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศของโลก ซึ่งเกิดจากกิจกรรมของมนุษย์ แต่ก็ยังปฏิเสธความจริงดังกล่าว

สิ่งเหล่านี้ แสดงให้เห็นว่า การที่บุคคลปฏิเสธหรือไม่เอาวิทยาศาสตร์ ไม่ใช่เพียงเพราะว่าวิทยาศาสตร์เป็นสิ่งที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา หรือว่าไม่มีความรู้วิทยาศาสตร์ที่เพียงพอ หากแต่เป็นเพราะ วิทยาศาสตร์แสดงให้เห็นนัยยะบางอย่างที่ขัดกับความเชื่อ คุณค่าและอุดมการณ์ของบุคคลเหล่านี้ ซึ่งนำไปสู่การไม่ยอมรับวิทยาศาสตร์ ดังนั้น การพยายามที่จะโน้มน้าวคนเหล่านั้นให้เชื่อในวิทยาศาสตร์ ด้วยการอธิบายปรากฏการณ์ต่างๆด้วยวิทยาศาสตร์ หรือการพิสูจน์หาความจริงใดๆด้วยกระบวนการและหลักฐานทางวิทยาศาสตร์นั้น อาจจะไม่ใช่หนทางที่ดีนัก
ทั้งนี้ มีนักวิจัยจาก Harvard ได้ชี้ให้เห็นว่า มีงานวิจัยอยู่จำนวนหนึ่ง แสดงให้เห็นว่า วิธีการในการจัดการกับปัญหานี้ คือต้องสื่อสารกับคนเหล่านั้น โดยหาจุดร่วมระหว่างวิทยาศาสตร์และความเชื่อ อุดมการณ์ของพวกเค้า พูดให้เข้าใจง่ายๆก็คือ สื่อสารโดยไม่เป็นปฏิปักษ์กับความเชื่อและอุดมการณ์ของพวกเขานั่นเอง ยกตัวอย่างเช่น นักชีววิทยากับคนที่ไม่ยอมรับในวิทยาศาสตร์ สามารถช่วยกันรักษาความหลากหลายทางชีวภาพได้ โดยนักชีววิทยาก็รักษาความหลากหลายทางชีวภาพบนหลักการของการคัดเลือกตามธรรมชาติ (Natural Selection) ส่วนคนที่ไม่ยอมรับในวิทยาศาสตร์ ก็รักษาความหลากหลายทางชีวภาพบนหลักของความเชื่อทางศาสนา เรื่องพระเจ้าเป็นผู้สร้างโลก (Devine Creation)

 

ที่มา

1) Pazzanese, C. (2020, October 30). What caused the U.S.’ anti-science trend? Harvard Gazette. https://news.harvard.edu/gazette/story/2020/10/what-caused-the-u-s-anti-science-trend/
2) Oberhaus, D. (2021, August 6). Why Some Citizens Reject Science. Harvard Magazine. https://www.harvardmagazine.com/2021/09/right-now-clash-science-ideology
3) Oreskes, N. (2019). Why trust science? Princeton University Press.


   
อ้างอิง

ทิ้งคำตอบไว้

ชื่อผู้แต่ง

อีเมลผู้เขียน

ตำแหน่ง *

 
ดูตัวอย่าง แก้ไข 0 ครั้ง บันทึกแล้ว
แบ่งปัน:
1,185,485 views since 16 August 2018