การประยุกต์ใช้กฎข้อที่สองของนิวตัน กับการเคลื่อนที่แบบวงกลม ในลักษณะไม่สม่ำเสมอ (อัตราเร็วไม่คงที่)

จากที่ได้ทราบถึงการเคลื่อนที่เป็นวงกลม ในลักษณะที่อัตราเร็วเชิงมุมสม่ำเสมอ ซึ่งมีเฉพาะ แต่ไม่มี ไปแล้วนั้น ในตอนนี้จะทำการพิจารณาการเคลื่อนที่เป็นวงกลม แต่เป็นลักษณะที่อัตราเร็วเชิงมุมมีค่าไม่สม่ำเสมอ ความเร็วของการเคลื่อนที่แบบวงกลม ในลักษณะไม่สม่ำเสมอนั้น มีการเปลี่ยนแปลงทั้งขนาดและทิศทาง ทำให้เกิดความเร่งทั้งสองแนว ดังนั้นความเร่งรวมของวัตถุ สำหรับการเคลื่อนที่เป็นวงกลมแบบไม่สม่ำเสมอ จะเป็นผลรวมระหว่าง กับ โดยที่

(2-11)


รูปที่ 2-8 ผลรวมของเวกเตอร์ลัพธ์ของแรในกรณีของการเคลื่อนที่แบบวงกลมในลักษณะไม่สม่ำเสมอ

ดังนั้นแรงที่กระทำต่อวัตถุในกรณีของการเคลื่อนที่เป็นวงกลมแบบไม่สม่ำเสมอ จึงเป็นผลรวมของแรงในแนวสู่ศูนย์กลาง และแรงในแนวสัมผัส ตามรูปที่ 2-8

(2-12)



รูปที่ 2-9 การเคลื่อนที่เป็นวงกลมของลูกบอลในลักษณะไม่สม่ำเสมอ
(ก) แสดงแรงที่กระทำต่อลูกบอลมวล m ซึ่งประกอบด้วยแรงตึงเชือก T และ น้ำหนัก mg
(ข) แสดงแรงที่กระทำต่อลูกบอลมวล m เมื่อลูกบอลอยู่ที่จุดสูงสุดและต่ำสุด

ตัวอย่างหนึ่งที่น่าสนใจ เช่น มีลูกบอลมวล m ผูกติดไว้กับเชือกเบายาว R (รูปที่ 2-9) ถ้าลูกบอลถูกแกว่งให้เคลื่อนที่เป็นวงกลม โดยมีระนาบของการแกว่งอยู่ในแนวดิ่ง จากการวิเคราะห์พบว่าแรงตึงเชือกเมื่อลูกบอลอยู่ที่จุดสูงสุดจะมีค่าน้อยที่สุด แต่ถ้าลูกบอลอยู่ที่ตำแหน่งต่ำสุด ค่าของแรงตึงเชือกจะมีค่ามากที่สุด

รูปที่ 2-9 (ก) แสดงแรงทั้งหมดที่กระทำต่อลูกบอลมวล m ซึ่งประกอบด้วยแรงตึงในเส้นเชือก และน้ำหนัก

เมื่อพิจารณาขณะที่เชือกทำมุม θ กับแนวดิ่ง และอาศัยกฎข้อที่สองของนิวตัน แรงในแนวสัมผัสเขียนได้เป็น


(2-13)
ซึ่งแรงในแนวเส้นสัมผัสนี้ทำให้วัตถุมีความเร็วในแนวเส้นสัมผัสเปลี่ยนไป

ส่วนแรงในแนวรัศมี (แรงสู่ศูนย์กลาง) สามารถเขียนได้เป็น


(2-14)

เมื่อพิจารณาสมการที่ (2-14) พบว่า ณ จุดสูงสุด



ซึ่งเป็นแรงตึงเชือกที่มีค่าต่ำสุด นอกจากนี้เมื่อพิจารณาสมการที่ (2-13) จะพบอีกว่า ณ จุดสูงสุด ความเร่งในแนวสัมผัสเป็นศูนย์ ดังนั้น วัตถุจึงมีความเร่ง เฉพาะในแนวสู่ศูนย์กลางเท่านั้น และเมื่อพิจารณาสมการที่ (2-14) ณ จุดต่ำสุด



ซึ่งเป็นแรงตึงเชือกที่มีค่าสูงสุด และก็เช่นเดียวกัน ที่จุดต่ำสุด ความเร่งในแนวเส้นสัมผัสเป็นศูนย์ วัตถุจึงมีความเร่งเฉพาะในแนวสู่ศูนย์กลางเท่านั้น (รูปที่ 2-9 (ข))