ความดันในของไหล (atmospheric pressure) |
|
เมื่อของไหล
(แก๊สหรือของเหลว) อยู่นิ่ง จะออกแรงกระทำในแนวตั้งฉาก
กับพื้นผิวที่สัมผัสอยู่ เช่น ผนังของภาชนะ หรือผิวของวัตถุที่จมอยู่ในของไหลนั้น
ซึ่งคือแรงที่เรารู้สึกว่า ของเหลวนั้นกดอยู่บนขาของเราในขณะที่เราแกว่งขาอยู่ในน้ำ
ถึงแม้ว่าในขณะที่ของไหลอยู่นิ่งกับที่ โมเลกุลที่ประกอบขึ้นเป็นของไหลนั้น
กำลังเคลื่อนที่อยู่ แรงที่ของไหลกระทำนี้เกิดจากการที่โมเลกุลเคลื่อนที่ชนกันและชนกับสิ่งที่แวดล้อมที่อยู่
รูปที่ 9-1 ผิวสมมุติในของไหลที่อยู่นิ่ง |
สมมุติว่ามีพื้นผิวอันหนึ่งอยู่ในของไหลที่อยู่นิ่ง
(ดูรูปที่ 9-1) ของไหลที่อยู่แต่ละด้านของพื้นผิวนั้นจะออกแรงขนาดเดียวกัน
(แต่ทิศตรงข้ามกัน) กระทำบนพื้นผิว (ถ้าออกแรงไม่เท่ากันพื้นผิวนั้นก็จะมีความเร่งและของไหลจะไม่อยู่นิ่ง)
พิจารณาพื้นผิวเล็ก ๆ พื้นผิวหนึ่งที่มีพื้นที่ แรงตั้งฉากที่ของไหลกระทำบนพื้นผิวแต่ละด้านคือ
เราให้นิยามของความดัน
ณ จุดที่แรงกระทำว่าเป็น แรงตั้งฉากต่อหนึ่งหน่วยพื้นที่
นั่นคือ
ถ้าความดัน มีขนาดเท่ากันหมด ที่ทุกจุดของพื้นผิวพื้นที่ A จะได้
เมื่อ
คือแรงตั้งฉากสุทธิที่กระทำบนผิวด้านหนึ่ง
ในระบบ
SI ความดัน มีหน่วยเป็นนิวตันต่อตารางเมตร (N/m2) ซึ่งมีชื่อเรียกว่า
ปาสคาล (pascal) นั่นคือ 1 pascal = 1 Pa = 1 N/m2 (บางครั้งเราอาจพบหน่วย
ปอนด์ต่อตารางนิ้ว: lb/in2) แต่ 1 Pa เป็นขนาดที่เล็กมาก
โดยทั่วไปเรามักพบขนาด 105 Pa ซึ่งเรียกว่า 1 bar ดังนั้น
100 Pa คือ 1 millibar
UP
|
ความดันบรรยากาศ (atmospheric pressure) |
|
ความดันบรรยากาศคือความดันของบรรยากาศของโลก
หรือคือความดันของอากาศในชั้นบรรยากาศต่ำสุดซึ่งเป็นชั้นที่มนุษย์อาศัยอยู่
ความดันนี้จะแปรเปลี่ยนไปตามสภาพอากาศและความสูงจากพื้นดิน ที่ระดับน้ำทะเล
ความดันบรรยากาศจะมีค่า (โดยเฉลี่ย) เป็น 101,325 Pa เราเรียกว่า 1
atmosphere (atm) เขียนแทนด้วย นั่นคือ
ข้อสังเกต:
ความดัน กับ แรง แตกต่างกัน ความดันของของไหลกระทำในทิศตั้งฉากกับพื้นผิวใด
ๆ เสมอ ไม่ว่าพื้นผิวนั้นจะวางอยู่ในของไหลนั้นอย่างไร ดังนั้นความดันเป็นปริมาณสเกลล่าร์
ในทางตรงกันข้าม แรงเป็นปริมาณเวกเตอร์ ในการบอกแรงต้องบอกทั้งขนาดและทิศทางของมัน
จำไว้ว่าความดันคือแรงตั้งฉากต่อหนึ่งหน่วยพื้นที่
UP
|
|